ผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นยืนยันว่า คำวินิจฉัยของศาลอนุญาโตตุลาการกรณีฟ้องร้องจีนมีความหมายทางประวัติศาสตร์
(VOVworld)- การที่จีนไม่ยอมรับและไม่รับรองคำวินิจฉัยของศาลอนุญาโตตุลาการได้แสดงให้เห็นถึงท่าทีการไม่ให้ความเคารพกฎหมายสากลซึ่งจะส่งผลเสียทำให้จีนเสียชื่อเสียงบนเวที่โลก.
จีนทำการก่อสร้างเกาะเทียมอย่างผิดกฎหมายในทะเลตะวันออก(CSIS)
|
(VOVworld)- ในการให้สัมภาษณ์นักข่าวสำนักข่าวเวียดนามเมื่อเร็วๆนี้ ศ. คูรีฮาระ ฮิโรฮีเดะ ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์เวียดนามจีนของสถาบันวิจัยภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมเอเชีย-แอฟริกาแห่งมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศโตเกียวได้แสดงความเห็นว่า คำวินิจฉัยของศาลอนุญาโตตุลาการในกรุงเฮกประเทศเนเธอแลนด์ในกรณีฟิลิปปินส์ยื่นฟ้องจีนเรื่องข้อพิพาทในทะเลตะวันออกนั้นมีความหมายทางประวัติศาสตร์เพราะเป็นคำตัดสินที่อิงตามกฎหมายสากลและพื้นฐานหลักการการวิจัยอย่างละเอียดเกี่ยวกับสภาพและประวัติศาสตร์ของทะเลตะวันออก ซึ่งการที่จีนได้เรียกร้องมีอธิปไตยเหนือพื้นที่ส่วนใหญ่ของทะเลตะวันออกเป็นการกระทำที่ไม่สามารถยอมรับได้ โดยจีนมักจะแบ่งกลุ่มประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อขัดขวางประเทศที่จีนถือว่าอยู่นอกภูมิภาคเช่นสหรัฐและญี่ปุ่นไม่ให้เข้าแทรกแซงปัญหาทะเลตะวันออก แต่ทะเลตะวันออกเป็นเส้นทางขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศที่สำคัญดังนั้นการที่นายกฯญี่ปุ่นได้กล่าวถึงปัญหาทะเลตะวันออกในการประชุมอาเซมที่มีขึ้น ณ ประเทศมองโกเลียนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องและจำเป็น
ต่อการที่ศาลอนุญาโตตุลาการสรุปว่าไม่มีโครงสร้างทางกายภาพใดๆที่จีนเรียกร้องอธิปไตยในทะเลตะวันออกมีสิทธิ์ประกาศสร้างเขตเศรษฐกิจจำเพาะ200ไมล์ทะเลนั้น ศ. คูรีฮาระ ฮิโรฮีเดะ ได้ย้ำว่า ตามอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี1982หรืออันคลอส การที่จีนได้ก่อสร้างเกาะเทียมไม่ถือว่าเป็นการสร้างประโยชน์ในทะเลตะวันออกและตามคำวินิจฉัยการกระทำของจีนได้ทำลายระบบนิเวศในเขตทะเลนี้ ส่วนการที่จีนไม่ยอมรับและไม่รับรองคำวินิจฉัยของศาลอนุญาโตตุลาการได้แสดงให้เห็นถึงท่าทีการไม่ให้ความเคารพกฎหมายสากลซึ่งจะส่งผลเสียทำให้จีนเสียชื่อเสียงบนเวที่โลก.