เวียดนามกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ไปแล้ว 220 ล้านตันนับตั้งแต่เข้าร่วมอนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยเรื่องการคุ้มครองชั้นโอโซน
(VOVWORLD) - เวียดนามได้กำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ไปแล้ว 220 ล้านตันนับตั้งแต่เข้าร่วมอนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยเรื่องการคุ้มครองชั้นโอโซนและพิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนเมื่อ 30 ปีก่อน นี่คือข้อมูลที่ได้รับการเผยแพร่ในการสัมมนา “วันโอโซนโลกปี 2024 - 30 ปีเวียดนามเข้าร่วมอนุสัญญาเวียนนาและพิธีสารมอนทรีออล” ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเช้าวันที่ 16 กันยายน ณ กรุงฮานอย
บรรดาผู้แทนที่เข้าร่วมการสัมมนา |
ในการสัมมนา บรรดาผู้แทนได้แสดงความเห็นว่า ภายหลัง 30 ปีของการเข้าร่วมอนุสัญญาเวียนนาและพิธีสารมอนทรีออล เวียดนามได้รับการประเมินจากประชาคมระหว่างประเทศว่า เป็นประเทศสมาชิกที่กระตือรือร้นและมีความรับผิดชอบสูงในการปฏิบัติหน้าที่และมาตรการต่างๆเพื่อบริหารและกำจัดสารเคมีที่ทำลายชั้นโอโซนและสารที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจก และได้บรรลุผลงานที่สำคัญมากมาย โดยเฉพาะ ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา เวียดนามได้เน้นปรับปรุงกลไก นโยบาย กฎหมายเกี่ยวกับการปกป้องชั้นโอโซน ซึ่งสถานประกอบการที่ผลิตโฟม เครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ทำความเย็นไม่ได้ใช้สารดังกล่าวในกิจกรรมการผลิตอีก การนำเข้าและการใช้สารได้รับการควบคุมตามกระบวนการ สารเมทิลโบรไมด์ถูกใช้เพื่อเป้าหมายการกักกันและฆ่าเชื้อโรคในการเกษตรเท่านั้น
ด้วยความพยายามดังกล่าว ตามรายงานสถิติที่ประกาศโดยสำนักเลขาธิการโอโซนที่ได้รับการเผยแพร่ในการประชุมเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เวียดนามได้จำกัดการใช้คาร์บอนไดออกไซด์ 220 ล้านตันนับตั้งแต่เข้าร่วมอนุสัญญาเวียนนาและพิธีสารมอนทรีออล ในการสัมมนา นาง เมกุมิ เซกิ เลขานุการบริหารของสำนักเลขาธิการโอโซนได้ประเมินว่า มาตรการลดภาวะโลกร้อนอย่างยั่งยืนที่เวียดนามสอดแทรกในโครงการและปฏิบัติการต่างๆ มีเป้าหมายเพื่อลดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพและได้รับการปฏิบัติอย่างเข้มงวด
ตามแผนการที่ได้รับอนุมัติโดยรัฐบาล จนถึงปี 2045 เวียดนามจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กว่า 11 ล้านตัน มีส่วนร่วมปฏิบัติเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 นาย เลกงแถ่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมได้เผยว่า เพื่อปฏิบัติแผนการดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จ เวียดนามจะปฏิบัติมาตรการต่างๆอย่างเคร่งครัด
“เวียดนามยังคงสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีโดยใช้สารเคมีที่เป็นมิตรกับสภาพภูมิอากาศ และปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอุปกรณ์ทำความเย็น ส่งเสริมการจัดเก็บ การรีไซเคิล การใช้ซ้ำและการกำจัดสารที่ถูกควบคุมตามพิธีสารมอนทรีออล ปฏิบัติรูปแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทำความเย็นอย่างยั่งยืน การประกอบธุรกิจการทำความเย็นในตัวเมือง พื้นที่ชุมชน อาคารสำนักงาน และกิจการสาธารณะ.”