แถลงการประธานการประชุมผู้นำอาเซียนเน้นถึงความพยายามเพื่อรับมือโรคระบาดครั้งใหญ่และส่งเสริมการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ
(VOVWORLD) - ในการปิดการประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 38 และ 39 ภายใต้การเป็นประธานของบรูไน เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม อาเซียนได้ออกแถลงการณ์ของประธานโดยเน้นถึงความพยายามเพื่อสร้างสรรค์ประชาคมรับมือโควิด-19 และส่งเสริมการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังเกิดโรคระบาด
นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง เข้าร่วมการประชุม (VNA) |
โดยแถลงการณ์ยืนยันอีกครั้งถึงความมุ่งมั่นในการส่งเสริมประชาคมอาเซียน บทบาทการเป็นศูนย์กลางและความสามัคคีของอาเซียนในการแก้ไขความท้าทายต่างๆ ตลอดจนการฟื้นฟูของภูมิภาคหลังวิกฤตโควิด-19 ความร่วมมือเพื่อลดผลกระทบจากการระบาดครั้งใหญ่ผ่านยุทธศาสตร์ที่กว้างขวาง 5 ประการของกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียนหรือ ACRF รวมถึงการส่งเสริมระบบสาธารณสุข เพิ่มความมั่นคงของมนุษย์ เพิ่มศักยภาพของตลาดภายในภูมิภาคและการผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจโลกที่กว้างลึกมากขึ้น เร่งผลักดันการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่ครอบคลุมเพื่อมุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืนและยืดหยุ่นมากขึ้น
สำหรับปัญหาทั้งในระดับภูมิภาคและโลกที่ต่างให้ความสนใจ ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับสถานการณ์ในทะเลตะวันออก ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับกิจกรรมปรับเปลี่ยนพื้นที่และเหตุการณ์ร้ายแรงในภูมิภาคซึ่งส่งผลกระทบต่อความไว้วางใจ เพิ่มความตึงเครียดและอาจทำลายสันติภาพ เสถียรภาพและความมั่นคงในภูมิภาค ที่ประชุมยังชื่นชมความสัมพันธ์ร่วมมือระหว่างอาเซียนกับจีนที่นับวันได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ความคืบหน้าของการเจรจาที่สำคัญเพื่อเสร็จสิ้นการจัดทำหลักปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในทะเลตะวันออกหรือซีโอซีอย่างจริงจัง มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ
อาเซียนยังชื่นชมส่วนร่วมของประเทศสมาชิกและประเทศคู่สนทนาที่ให้การสนับสนุนกองทุนอาเซียนเพื่อรับมือกับโรคโควิด-19 รวมยอดเงินที่ให้คำมั่นสูงถึง 25.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
อาเซียนได้อนุมัติกรอบอาเซียนที่ครอบคลุมเกี่ยวกับเศรษฐกิจการดูแลเพื่อรับมือวิกฤตที่ซับซ้อนและความท้าทายที่นับวันเพิ่มมากขึ้น กรอบระเบียงการเดินทางของอาเซียนหรือ ATCAF เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่การเคลื่อนย้ายที่จำเป็นของประชาชนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ให้สัตยาบันข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยอีคอมเมิร์ซ รับรองยุทธศาสตร์การตลาดการท่องเที่ยวอาเซียนหรือATMS ฉบับใหม่ในช่วงปี 2021-2025 อนุมัติกรอบเศรษฐกิจหมุนเวียนของอาเซียนโดยกำหนดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายในระยะยาวของการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การฟื้นฟูเศรษฐกิจและการเติบโตอย่างยั่งยืน.