เราะมะฎอน เดือนถือบวชที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของศาสนาอิสลาม
ผมได้มีโอกาสไปเที่ยวและสัมผัสกับวิถีชีวิตของชุมชนชาวจามมุสลิม ที่อานยาง ภาตใต้เวียตนามรู้สึกประทับใจในความงดงามแห่งอารยธรรมมุสลิมที่นี้ซึ้งคล้ายคลึงกับแถวจังหวัดชายแดนภาตใต้ของไทย
โลกปัจจุบันนี้คงคุ้นหูกับชื่อเรียก เราะมะฎอน เดือนถือบวชที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของศาสนาอิสลาม เดือนเราะมะฎอนนี้เป็นเดือนที่ชนเผ่าจาม ที่อานยาง อายุตั้งแต่ห้าขวบขึ้นไป ปฏิบัติภานาถือบวช ทบทวนการกระทำของตนเองว่าผิดหรือถูกในสิ่งใดบ้าง ในแต่ละวันแต่ละเดือนในปีที่ผ่านมาเพื่อที่จะนำมาแก้ไขและไม่ปฏิบัติผิดซ้ำ อีก บุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องถือบวชได้แก่ เด็กเล็ก คนชรา ผู้ป่วย สตรีมีครรภ์ บุคคลที่มีธุระไปต่างถิ่นก็ได้รับการยกเว้นด้วย ตลอดเดือนเราะมะฎอน ถือศิลอดนี้ เริ่มตั้งแต่เช้ามืดไปจนถึงพลบค่ำ ต้องอดอาหาร งดสูบบุหรี่ งดดื่ม เวลาอาบน้ำก็ห้ามไม่ให้น้ำไหลเข้ารูหู งดการมีเพศสัมพันธ์ ละเว้นการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต และที่สำคัญที่สุดไม่ก่อเรื่องทะเลาะวิวาททำลายความสามัคคีในกลุ่มชนมุสลิม เมื่อครบกำหนด 29 วันภายในชุมชนจามมุสลิม จะจัดงานรื่นเริงฉลองการสิ้นสุดเดือนถือศิลอด ณ มัสยิดหรือสุเหร่า เป็นเวลา 3 วันลูกหลานที่ไปทำงานในแดนไกลจะกลับมาร่วมฉลองกลับครอบครัวในโอกาสนี้ด้วย
|
ชาวจามเป็นอีกชนเผ่าหนึ่งทีมีอาชีพหัตถกรรมสืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษเช่น เย็บปักถักร้อย ทอผ้า เครื่องปั้นดินเผา ทำอิฐ จักสาน ค้าขาย ต่อเรือหาปลา ปั้นหม้อไห เป็นพิเศษคืออาชีพปลูกข้าวซึ่งชาวจามมีความชำนาญมาแต่ครั้งโบราณ สามารถพัฒนาพันธุ์ข้าวให้ผลผลิตสูง และการชลประทานที่ทันสมัย คติการนับถือฝ่ายแม่เป็นหลัก และการนับถือเทพสตรี ยังคงสืบทอดในความเชื่อของชาวจาม ผู้ชายรับผิดชอบการงานนอกบ้าน ส่วนผู้หญิงรับผิดชอบการงานในบ้านครอบครัวและวงษ์ตระกูล ธรรมเนียมจามกำหนดใหลูกใช้นามสกุลแม่ สกุลทางแม่จะถือว่าใกล้ เป็นหลักกว่าทางพ่อ บ้านฝ่ายหญิงจะแต่งสามีให้ลูกสาว เจ้าบ่าวจะต้องไปอยู่บ้านเจ้าสาวทำหน้าที่เขย เมื่อเวลาถึงแก่กรรมบ้านฝ่ายหญิงมีหน้าที่จัดงานศพ เซ่นไหว้จนครบกำหนดไว้ทุกข์ หลังจากนั้นนำอัฐิกลับไปให้บ้านฝ่ายชายเซ่นไหว้ต่อ ลูกสาวจะได้รับการสืบทอดมรดก ลูกสาวคนเล็กมีหน้าที่รับผิดชอบการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ และต้องเลี้ยงดูพ่อแม่ที่ชรา ตามกฏหมาย ห่งดึ๊ก ที่ประกาศใช้โดยกษัตริย์เล แถ่ง ตง ระบุให้ลูกสาวและลูกชายได้รับการแบ่งทรัพย์สินเท่ากัน มีผลกระทบต่อระบบการนับถือฝ่ายแม่ของชาวจามอย่างมาก
ปัจจุบันนี้ชาวจามได้เปลี่ยนมานับถือฝ่ายพ่อเป็นหลัก ชายชาวจามนำสินสอดไปแต่งฝ่ายหญิง แต่ว่าหลังจากแต่งงานแล้วชายชาวจามจะรวบรวมทรัพย์สินที่พ่อแม่ให้ย้ายไปอยู่ บ้านภรรยา ส่วยฝ่ายภรรยาก็จะเตรียมบ้านช่องที่อยู่อาศัยให้ลูกสาวและลูกเขยที่จะมาอยู่ ทุกวันศุกร์ในแต่ละสัปดาห์ ชายชาวจามจะอาบน้ำแต่งตัว สุภาพสวยงามไปร่วมพิธีที่มัสยิด หลังพิธีทางศาสนา พวกเขาจะนั่งชุมนุมพูดคุยแลกเปลี่ยนกันเกี่ยวกับเรื่องราวในชุมชน ในเดือนถือบวชการกินดื่มในครอบครัวชาวจามจะเริ่มขึ้นหลังจากพระอาทิตย์ตกดิน ไปแล้ว
|
ผมได้มีโอกาสไปเที่ยวและสัมผัสกับวิถีชีวิตของชุมชนชาวจามมุสลิม ที่อานยาง ภาตใต้เวียตนามรู้สึกประทับใจในความงดงามแห่งอารยธรรมมุสลิมที่นี้ซึ้งคล้ายคลึงกับแถวจังหวัดชายแดนภาตใต้ของไทยที่ นราธิวาส ยะลา ปัตตานี ชาวจามมุสลิมที่อานยางดำรงชีพอย่างสงบสุข สันติ ต้อนรับนักท่องเที่ยวอย่างเป็นมิตร ผมไม่นึกเลยว่าที่เวียตนามจะมีชุมชนมุสลิมเหมือนกับที่เมืองไทย ได้มาสัมผัสรู้สึกประทับใจอย่างมากอยากจะบอกเล่าให้คนไทยมุสลิมได้มาเยี่ยม เยือนแลกเปลี่ยนความความรู้ทางศาสนาระหว่างมุสลิมสองชาติมาชมความสวยงามของ มัสยิดที่นี้ซึ่งก็สวยงามใหญ่โตเหมือนที่เมืองไทยมาก..
อรรถพล อุดร