ห้องสมุดสาธารณะมีส่วนร่วมสร้างสรรค์ชีวิตที่มีวัฒนธรรมในชนบท

(VOVworld) – ในกว่า 10 ปีมานี้ ห้องวัฒนธรรมในหมู่บ้าน บิ่งหว่องที่มีห้องสมุดที่เปิดบริการให้แก่ชาวบ้านได้กลายเป็นสถานที่ที่ คุ้นเคยของชาวบ้านในหมู่บ้าน บิ่งหว่อง ตำบล วันบิ่ง อำเภอ เถื่องติ๊น กรุงฮานอย การเข้ามาใช้บริการห้องสมุดของหมู่บ้านเพื่อหาความรู้ในตอนบ่าย ทุกวันจึงกลายเป็นความปลื้มปิติยินดีและนิสัยประจำของเกษตรกรหลายคนที่นี่ นับตั้งแต่ได้เข้าถึงแหล่งความรู้จากหนังสือในห้องสมุด ชีวิตของชาวบ้านที่นี่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นที่น่ายินดี

(VOVworld) – ในกว่า 10 ปีมานี้ ห้องวัฒนธรรมในหมู่บ้าน บิ่งหว่องที่มีห้องสมุดที่เปิดบริการให้แก่ชาวบ้านได้กลายเป็นสถานที่ที่คุ้นเคยของชาวบ้านในหมู่บ้าน บิ่งหว่อง ตำบล วันบิ่ง อำเภอ เถื่องติ๊น กรุงฮานอย การเข้ามาใช้บริการห้องสมุดของหมู่บ้านเพื่อหาความรู้ในตอนบ่ายทุกวันจึงกลายเป็นความปลื้มปิติยินดีและนิสัยประจำของเกษตรกรหลายคนที่นี่ นับตั้งแต่ได้เข้าถึงแหล่งความรู้จากหนังสือในห้องสมุด ชีวิตของชาวบ้านที่นี่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นที่น่ายินดี

ห้องสมุดสาธารณะมีส่วนร่วมสร้างสรรค์ชีวิตที่มีวัฒนธรรมในชนบท - ảnh 1
ห้องสมุดของหมู่บ้านบิ่งหว่องมีหนังสือนับพันเล่ม

ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 14.00 น. ถึงเวลา 17.00 น. ห้องสมุดของหมู่บ้านบิ่งหว่องจะเปิดบริการเพื่อให้ชาวบ้านมาอ่านหนังสือ ห้องสมุดนี้ได้รับการพัฒนาจากรูปแบบตู้หนังสือหมู่บ้านซึ่งนาย เยืองวันฟี เจ้าหน้าที่ที่ได้เกษียณอายุราชการเป็นผู้ริเริ่มเมื่อปี 1999 โดยมีความหวังว่า จะนำวัฒนธรรมการอ่านมาสู่ตำบล ช่วยให้ชาวบ้านมีความรู้เพิ่มเติม จากการเล็งเห็นถึงผลประโยชน์ของตู้หนังสือให้แก่ทุกคน ชาวบ้านในหมู่บ้านบิ่งหว่องได้สนับสนุนทั้งเงินทุนและแรงงานเพื่อซื้อโต๊ะ เก้าอี้และตู้หนังสือเพื่อสร้างห้องสมุดที่โอ่โถงของหมู่บ้าน ถึงแม้เป็นห้องสมุดขนาดเล็กในท้องถิ่น แต่ห้องสมุดของหมู่บ้านบิ่งหว่องได้รับการบริหารเป็นอย่างดีโดยมีห้องอ่านหนังสือ 1 ห้องและห้องเก็บหนังสือ 1 ห้องซึ่งได้รับการจำแนกตามหมวดหมู่ซึ่งช่วยให้ชาวบ้านสามารถหาหนังสือได้โดยง่าย นอกจากนั้น ในห้องสมุดยังมีคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับด้านหาหนังสือโดยหนังสือในห้องสมุดได้รับการจัดแบ่งเป็น 5 หมวด ประกอบด้วยการเมือง-สังคม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วรรณกรรม กฎหมายและหนังสือสำหรับเด็ก นอกจากนั้นเนื่องจากความต้องการจากสถานการณ์ที่เป็นจริงของท้องถิ่น ที่ห้องสมุดยังมีตู้หนังสือ 2 ตู้ นั่นคือตู้หนังสือเกี่ยวกับประธานโฮจิมินห์และหนังสือที่ประธานโฮจิมินห์เป็นผู้เขียนและตู้หนังสือที่เก็บหนังสือที่ชาวบ้านในหมู่บ้านบิ่งหว่องเขียนเอง นาง เจิ่นถิงา ชาวบ้านในหมู่บ้านบิ่งหว่องได้เผยว่า หลังจากเกษียณอายุราชการ ตอนบ่ายทุกวันเธอก็เดินทางไปยังห้องสมุดเพื่ออ่านหนังสือดิฉันอ่านข้อมูลเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เป็นหลัก โดยเฉพาะการดูแลรักษาโรคให้แก่ผู้สูงอายุ นอกจากนั้นก็มีเรื่องการเกษตร วิธีการให้การศึกษาเด็กและบทกวีซึ่งช่วยให้ดิฉันมีความรู้มากขึ้น เช่นการป้องกันโรค การดูแลรักษาโรคให้แก่ผู้สูงอายุ ส่วนผู้สูงอายุคนอื่นที่ไม่สามารถเดินทางมาห้องสมุดหรือไม่รู้จักห้องสมุด ดิฉันจะถ่ายทอดความรู้และข้อมูลนั้นให้แก่พวกเขาเพื่อปฏิบัติตาม”
ห้องสมุดหมู่บ้านบิ่งหว่องได้มีส่วนร่วมไม่น้อยต่อการพัฒนาของท้องถิ่นโดยเด็กๆได้มีหนังสือดีๆเพิ่มอีกเพื่อให้การศึกษาเพิ่มความรู้ เยาวชนมาที่นี่สามารถหาหนังสือเกี่ยวกับการบริหารเศรษฐกิจ การสร้างฐานะ ส่วนเกษตรกรสามารถเรียนรู้การเพาะเลี้ยงสัตว์และการปลูกพืช นาย เจิ่นกิมฝุ่ง ชาวบ้านในหมู่บ้านบิ่งหว่องได้เผยว่าห้องสมุดมีหนังสือวิจัยหลายเล่ม โดยเฉพาะด้านเกษตร ผมมักจะอ่านหนังสือพิมพ์ Nhan dan หรือประชาชนและหนังสือพิมพ์การเกษตร ถ้าสนใจถึงปัญหาการเมือง ผมอ่านหนังสือพิมพ์ประชาชน ส่วนหนังสือพิมพ์การเกษตรก็มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการเกษตร การป้องกันกำจัดศัตรูพืชหรือการป้องกันโรคระบาดในสัตว์ปีกซึ่งช่วยให้ผมทราบว่า ต้องซื้อยาชนิดใดเพื่อป้องกันโรค”
จากการมีหนังสือ 200 เล่มในตอนแรก ปัจจุบัน ห้องสมุดหมู่บ้านบิ่งหว่องมีหนังสือ 8 พันเล่มซึ่งในนั้นมีหนังสือหลายเล่มที่มีคุณค่า ห้องสมุดนี้ได้รับการจัดตั้งตามรูปแบบประชาชนเข้าร่วมการก่อสร้างและบริหาร ดังนั้น ชาวบ้านในหมู่บ้านจึงต่างมีจิตสำนึกบริจาคหนังสือให้แก่ห้องสมุด นาย เลืองกิมเถี่ยว รองหัวหน้าห้องสมุดหมู่บ้านบิ่งหว่องได้เผยว่าชาวบ้านตระหนักได้ว่า นอกจากการรับข้อมูลจากสถานีโทรทัศน์วิทยุแล้ว พวกเราต้องให้ความสนใจถึงวัฒนธรรมการอ่านหนังสือ พวกเราได้รับการสนับสนุนหนังสือจากห้องสมุดของนครและของอำเภอ ทุกคนจึงชอบอ่านหนังสือมากขึ้น พวกเรายังมีลูกหลานที่อยู่ห่างไกลส่งหนังสือที่มีคุณค่ามอบให้ วัฒนธรรมการอ่านได้ส่งผลดีแก่ประชาชนทุกชั้นชน”
หลังจากเปิดห้องสมุดมาเป็นเวลา 15 ปี ได้มีผู้อ่านกว่า 1 แสนคนมาที่นี่โดยเฉลี่ยแต่ละเดือนมีผู้อ่านเกือบ 1 พันคนซึ่งในนั้นมีร้อยละ 50 เป็นผู้สูงอายุ ร้อยละ 40 เป็นเยาวชนและยุวชน เด็กๆในหมู่บ้านสามารถมาที่นี่อ่านหนังสือหรือยืมหนังสือกลับบ้านได้ในทุกวันพฤหัสบดีและวันเสาร์ การรักษาสร้างสรรค์และพัฒนาห้องสมุดคือหน้าที่ของชาวบ้านทุกคนและมีผู้สูงอายุรวม 114 คนที่เป็นอาสาสมัครรักษาห้องสมุด นาย เลืองกิมเถี่ยว เผยต่อไปว่าพวกเราได้ให้ประชาชนเข้าร่วมการก่อสร้างและบริหารห้องสมุดซึ่งก็ดำเนินไปอย่างดีโดยมีผู้สมัคร 114 คนได้รับการแบ่งเป็น 8 หน่วยซึ่งในนั้นมี 7 หน่วยแบ่งกันเข้าเวนตลอดสัปดาห์ห้บริการวันและหน่วยที่เหลือรับผิดชอบการต้อนรับแขกที่มาเยือนและแนะนำหนังสือซึ่งพวกเขารับใช้ผู้อ่านตลอดทั้งปี ยกเว้นวันงานสำคัญของหมู่บ้านเท่านั้น”
นับตั้งแต่มีห้องสมุด ชาวบ้านเริ่มคุ้นเคยการอ่านหนังสือ เด็กๆชอบการอ่านหนังสือมากขึ้น อัตรานักเรียนที่ประสบความสำเร็จในการสอบเอนทรานซ์เข้ามหาวิทยาลัยและวิทยาลัยของหมู่บ้านก็เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเมื่อก่อน ชีวิตด้านวัฒนธรรมและจิตใจของชาวบ้านได้รับการยกระดับให้สูงขึ้น
ทุกปี ห้องสมุดบิ่งหว่องต้อนรับคณะผู้แทนจากทุกสารทิศที่เดินทางมาเยี่ยมชมซึ่งในนั้นมีตัวแทนจากห้องสมุดพระราชวังสวีเดนที่เดินทางมาศึกษารูปแบบและเรียนรู้ประสบการณ์ในการจัดห้องสมุดสาธารณะของหมู่บ้านโดยห้องสมุดหมู่บ้านไม่เพียงแต่เป็นสถานที่พบปะแลกเปลี่ยนของประชาชนและศึกษาข้อมูลของชาวบ้านเท่านั้น หากการก่อสร้างห้องสมุดหมู่บ้านยังได้ผลักดันขบวนการศึกษาในชุมชนซึ่งมีส่วนร่วมเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าชนบทของหมู่บ้านในเขตชานเมืองกรุงฮานอย./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด