เอกลักษณ์ของขนมแบ๊งไหย่ กว๊านแก๊ง
Ngọc Anh-VOV5 -  
(VOVWORLD) - ขนมแบ๊งไหย่ กว๊านแง๊ง มีชื่อเสียงมานาน โดยเป็นที่รู้จักของชาวท้องถิ่น ชาวฮานอยและนักท่องเที่ยวจากทุกสารทิศ จากกรุงฮานอยไปทางทิศใต้เลียบตามทางหลวง หนึ่งเอ ถึง กิโลเมตรที่ ๑๖ ก็จะถึงถนน กว๊านแง๊ง โดยสองข้างทาง ชาวท้องถิ่นวางขายขนมแบ๊งไหย่ กว๊านแง๊ง เป็นจำนวนมาก ซึ่งหมู่บ้าน เถื่องดิ่ง ตำบล หยิเค อำเภอ เถื่องติ๊น เป็นแหล่งที่ผลิตขนมนี้
ถั่วเขียวซึ่งเป็นวัตถุดิบเพื่อนำขนมแบ๊งไหย่ (หนังสือพิมพ์ปิติภูมิ)
|
ไม่เหมือนกับขนม แบ๊งไหย่ ของที่อื่นที่ไม่มีไส้ ไม่ลุกถั่วเขียวนึ่งบดและทานกับหมูยอเท่านั้น ขนมแบ๊งไหย่ กว๊านแง๊ง มี ๓ แบบ คือแบ๊งไหย่ไส้หวาน แบ๊งไหย่ไส้เค็มและแบบไม่มีไส้ ซึ่งแต่ละชนิดมีรสชาติไม่เหมือนกัน ขนมแบ๊งไหย่ กว๊านแก๊ง เหนียวนุ่มและมีความหอมมันจากข้าวเหนียว ถั่วเขียวและเนื้อหมูที่คลุกเคล้ากับเครื่องปรุงที่ให้รสชาติเฉพาะ และเอกลักษณ์ของขนมแบ๊งไหย่ กว๊านแก๊งก็คือวิธีการห่อเพื่อให้ได้รูปทรงสี่เหลี่ยมที่สวยงามเหมือนการห่อขนมข้าวต้มมัดใหญ่
เพื่อให้ได้ขนมแบ๊งไหย่ที่มีสีขาวและนุ่ม ต้องทำหลายขั้นตอน เช่นต้องแช่ข้าวสารเหนียวและถั่วเขียวก่อนทำ 1 วัน ใบตองต้องล้างให้สะอาด ต่อจากนั้นก็นำข้าวสารเหนียวไปนึ่งไปตำและทำไส้ขนม คุณ เหงียนถิต๊วต ชาวบ้าน เถื่องดิ่ง เผยว่า “การเลือกข้าวสารเหนียวและถั่วเขียวคือขั้นตอนที่สำคัญมาก โดยต้องใช้ข้าวสารเหนียวพันธุ์ เนบก๊ายฮวาหว่างจากอำเภอ หายโห่ว จังหวัดนามดิ่งห์ ส่วนถั่วเขียวต้องเป็นพันธุ์เม็ดเล็กที่ปลูกในจังหวัดแทงฮว้า หลังจากแช่ข้าวสารเหนียวและถั่วเขียวเสร็จก็ต้องเอาไปนึ่ง”
ชาวบ้านทำขนมแบ๊งไหย่ (หนังสือพิมพ์ปิติภูมิ)
|
อาชีพทำขนมแบ๊งไหย่ถือว่าหนักมาก เพราะต้องใช้เวลานาน นอนดึกตื่นเช้าและได้กำไรไม่มากนัก เนื่องจากขนมอยู่ได้แค่ 1 วันเท่านั้น ดังนั้นในฤดูหนาว ชาวบ้านมักจะทำขนมตั้งแต่เวลา ๒๑.๐๐ น. ของวันก่อน ส่วนในฤดูร้อน พวกเขาต้องทำขนมแบ๊งไหย่ตั้งแต่ตีหนึ่งตีสอง ชาวบ้านนำขนมไปจำหน่ายในสถานที่หลายแห่ง ชาวบ้านเถื่องดิ่งส่วนใหญ่ทำขนมแบ๊งไหย่ตามใบสั่งซื้อของงานแต่งงาน งานเทศกาล ร้านอาหารและโรงแรม นาย เหงียนวันวิง ผู้สูงอายุในหมู่บ้านเถื่องดิ่ง เล่าให้ฟังว่า “ชาวบ้านเถื่องดิ่งส่วนใหญ่ทำขนมแบ๊งไหย่เพื่อเอาไปขายที่บริเวณ กว๊านแง๊ง ซึ่งในช่วงตรุษเต๊ตและเทศกาลขายดีมาก ขณะนี้ หมู่บ้านมีเกือบ ๕๐ ครอบครัวที่ทำขนมนี้ ซึ่งมีเครื่องช่วยทำ ไม่ต้องลำบากเหมือนเมื่อก่อน ทุกวัน ครอบครัวผมทำขนมได้เกือบ ๒๐ กิโลกรัม ขนมไส้หวานทำจากน้ำตาล มะพร้าว งาและน้ำมันกล้วย ส่วนขนมไส้เค็มก็มีพริกไทย มันหมู เกลือและ หอมแดง”
วิธีการห่อขนมแบ๊งไหย่ (หนังสือพิมพ์ปิติภูมิ)
|
อาชีพทำขนมแบ๊งไหย่ถือว่าหนักมาก เพราะต้องใช้เวลานาน นอนดึกตื่นเช้าและได้กำไรไม่มากนัก เนื่องจากขนมอยู่ได้แค่ 1 วันเท่านั้น ดังนั้นในฤดูหนาว ชาวบ้านมักจะทำขนมตั้งแต่เวลา ๒๑.๐๐ น. ของวันก่อน ส่วนในฤดูร้อน พวกเขาต้องทำขนมแบ๊งไหย่ตั้งแต่ตีหนึ่งตีสอง ชาวบ้านนำขนมไปจำหน่ายในสถานที่หลายแห่ง ชาวบ้านเถื่องดิ่งส่วนใหญ่ทำขนมแบ๊งไหย่ตามใบสั่งซื้อของงานแต่งงาน งานเทศกาล ร้านอาหารและโรงแรม นาย เหงียนวันวิง ผู้สูงอายุในหมู่บ้านเถื่องดิ่ง เล่าให้ฟังว่า “ชาวบ้านเถื่องดิ่งส่วนใหญ่ทำขนมแบ๊งไหย่เพื่อเอาไปขายที่บริเวณ กว๊านแง๊ง ซึ่งในช่วงตรุษเต๊ตและเทศกาลขายดีมาก ขณะนี้ หมู่บ้านมีเกือบ ๕๐ ครอบครัวที่ทำขนมนี้ ซึ่งมีเครื่องช่วยทำ ไม่ต้องลำบากเหมือนเมื่อก่อน ทุกวัน ครอบครัวผมทำขนมได้เกือบ ๒๐ กิโลกรัม ขนมไส้หวานทำจากน้ำตาล มะพร้าว งาและน้ำมันกล้วย ส่วนขนมไส้เค็มก็มีพริกไทย มันหมู เกลือและ หอมแดง”
ตามประสบการณ์ในการทำขนมแบ๊งไหย่ของครอบครัวในหมู่บ้าน ข้าวสารเหนียว ๑ กิโลกรัมต้องใช้ถั่วเขียวครึ่งกิโลกรัมซึ่งจะได้ขนมเกือบ ๒ กิโลกรัม หรือ ๒๐ อัน ในพิธีบวงสรวงบรรพกษัตริย์หุ่งปี ๒๐๐๒ ชาวบ้านเถื่องดิ่งได้ทำขนมแบ๊งไหย่เจที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนามเพื่อถวายบรรพกษัตริย์หุ่ง คุณ เหงียนถิต๊วต ซึ่งครอบครัวมีเกียรติประวัติทำขนมแบ๊งไหย่ในหมู่บ้านเล่าให้ฟังว่า “เมื่อปี ๒๐๐๒ ชาวบ้านทำขนมแบ๊งไหย่เจขนาด 1.8 ตันเพื่อถวายในพิธีบวงสรวงบรรพกษัตริย์หุ่ง ชาวบ้านทุกคนได้ร่วมกันทำขนมตลอดทั้งวันทั้งคืน โดยใช้ข้าวเหนียวน้ำหนักรวม ๑.๓ ตัน ซึ่งได้ถูกระบุในกินเนสบุ๊กเวียดนาม ในวันที่ ๗ เดือนยี่ตามจันทรคติทุกปีจะมีการจัดเทศกาลของหมู่บ้าน โดยครอบครัวในหมู่บ้านจะทำขนมเพื่อถวายเทพในวิหาร”
นับร้อยปีมาแล้ว ขนมแบ๊งไหย่ถือเป็นอาหารพื้นบ้าน และถูกระบุในเมนูอาหารเวียดนาม และขนมแบ๊งไหย่กว๊ายแก๊งก็เป็นอาหารอีกอย่างที่เป็นเอกลักษณ์ของกรุงฮานอย.
Ngọc Anh-VOV5