ตัวอย่างการรับผู้สูงอายุเข้าทำงานของห้าง IKEA ประเทศไทย
(VOVWORLD) - ในความพยายามเพื่อผลักดันความเสมอภาคและความหลากหลายในสังคม เพื่อสร้างชีวิตให้ดีขึ้นแก่ประชาชนในประเทศที่เข้าไปลงทุน อิเกีย ประเทศไทย ซึ่งเป็นสาขาของกลุ่มบริษัทขายปลีกเครื่องเฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้านชั้นนำของโลกถือเป็นตัวอย่างดีเด่นของบริษัทต่างชาติในการช่วยเหลือแรงงานผู้สูงอายุ
อิเกียที่กรุงเทพฯ (Photo Internet)
|
ห้างอิเกียตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 4 หมื่น 3 พันตารางเมตร บริเวณถนนบางนา – ตราด ห่างจากใจกลางกรุงเทพฯประมาณ 40 นาทีโดยการเดินทางด้วยรถยนตร์ ที่นี่เป็นห้างเฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้านซึ่งมีสินค้ากว่า 7,500 อย่างให้เลือกซื้อ ชุดยูนิฟอร์มของพนักงานเน้นสีเหลืองและสีเขียว คุณป้า สาลี บุตรศรี อายุ 62 ปี ซึ่งทำงานในแผนก IKEA food กำลังทำความสะอาดโต๊ะอาหารอย่างรวดเร็วกล่าวว่า “เพื่อนบ้านป้าเขามาทำแล้วก็ถามป้าว่า อยากทำงานไหม๊ ป้าก็บอกว่า ป้าอายุเยอะแล้วทำได้เหรอ เขาก็บอกว่าได้ ทำไหวเขาก็ให้ทำ เขาก็เอาใบสมัครมาให้ป้า ป้าไปอยู่สักสองอาทิตย์ 6 ชั่วโมงค่ะ ตอนนี้ป้าทำ 83 ชั่วโมง ป้าไม่ทำงานมาแล้ว 20 ปีแต่ที่ล่าสุดที่ป้าทำเป็นอะไหล่อิเล็กทรอนิคไฟฟ้า
นี่คือความในใจของคุณป้า สาลี บุตรศรี พนักงานล้างจานของ IKEA food เธอเคยทำงานด้านเครื่องกลและเป็นแม่บ้าน ซึ่งก็ไม่เคยคิดว่า จะกลับไปทำงานอีกจนตอนอายุ 55 ปี คุณป้า สาลี บุตรศรี ได้เป็นพนักงาน 1 ใน 2 คนที่มีอายุกว่า 60 ปีที่กำลังทำงานที่ห้างอิเกียประเทศไทย นอกจากนี้ ในบริษัทยังมีพนักงานที่มีอายุตั้งแต่ 40-55 ปี คิดเป็นร้อยละ 10-20 คุณ เบญจวรรณ โอมาร์ค ผู้จัดการอิเกียบางนาเผยว่า “จริงๆหลักการของอีเกียก็เหมือนกันทั่วโลก คือส่วนใหญ่เราไม่ได้มีนโยบายที่จ้างงานผู้สูงอายุโดยตรงแต่เราจะมีหลักการคร่าวๆ 7 ประการในการจ้างงาน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือเรื่องเกี่ยวกับความหลากหลาย ซึ่งความหลากหลายอย่างที่ว่า ก็จะร่วมเรื่องอายุ อันนี้จะเป็นจุดที่อีเกียทั่วโลกให้ความสำคัญ ก็คือไม่ได้เจาะจงว่าจะต้องอายุน้อยหรืออายุมากแต่ว่าเราเปิดกว้างสนับทุกคนแล้วก็ถ้าช่วงสัมภาษณ์หรือว่าจ้างงานเราก็จะวัดเรื่องค่านิยมว่าตรงกับองค์กรไหม๊แล้วก็อย่างที่บอกว่ามีใจรักการตกแต่งบ้านไหม๊ ทางอีเกียมีจุดเด่นเรื่องสิทธิประโยชน์ของพนักงานอยู่แล้ว ในเรื่องเงินเดือนเราจะอยู่ในเลเวลปานกลางของตลาด ไม่ได้สูงที่สุดแล้วก็ไม่ได้ต่ำที่สุด แต่เราจะค่อนข้างมีข้อได้เปรียบเรื่องสิทธิประโยชน์คือเรื่องค่าพยาบาล คือไม่ว่าพนักงานจะเป็น parttime หรือ fulltime ก็จะได้เท่ากัน แล้วก็ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใด”
นอกจากทำงานใน IKEA food ผู้สูงอายุก็ได้มีโอกาสทำงานในแผนก sales เพราะผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีอัธยาศัยดี ซึ่งสามารถให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าและลูกค้าไม่รู้สึกเบื่อ คุณป้า กาญจนี พนักงานขายคนหนึ่งเผยว่า “ชอบเพราะว่าก็เป็นสายงานที่เราถนัดมาจากตอนที่เราก่อนเกษียณ ก็เป็นพนักงานของบริษัท คิดว่าที่เวียดนามก็คงรู้จัก สยามซีเมนต์กรุ๊ป SCG ใน 1 วัน maximum เขาก็จะมี 5 ชั่วโมง 6 ชั่วโมง 7 ชั่วโมง แล้วแต่จะจัด รู้สึกดีใจที่ได้มาทำงานเพราะว่าจริงๆแล้วตัวเองอายุ 60 แต่รู้สึกว่ายังสามารถแบ่งปันประโยชน์หมายความว่ามีประสบการณ์ที่สามารถจะเพิ่มประโยชน์ให้กับผู้บริโภคที่เราคุ้นเคยมาและในขณะเดียวกัน อีเกียก็ให้โอกาสตรงนี้ด้วย”
ไม่เพียงแต่สร้างบรรยากาศการทำงานที่เป็นมิตรและเป็นมืออาชีพให้แก่ผู้สูงอายุ แต่อิเกียประเทศไทยยังเปิดการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะความสามารถให้แก่พนักงานอีกด้วย นาง เบญจวรรณ โอมาร์ค เผยต่อไปว่า “ปกติ พนักงานของอีเกียก็แล้วแต่แผนกแต่ปกติเราจะมี training plan หรือว่า development plan อยู่แล้ว ซึ่งอย่างเช่น ตัวอย่างตอนนี้อีเกียมีครูภาษาอังกฤษที่สอนอยู่เพราะเนื่องจากว่าบางทีเรามีลูกค้าต่างชาติ เพื่อที่จะตอบสนองเรื่องนี้ถ้าพนักงานคนไหนที่มีความสนใจอยากเรียนก็สมัครได้ คือไม่ได้จำกัดว่า จะต้องเป็นผู้สูงอายุเท่านั้น”
การไม่จำกัดอายุ การสามารถเลือกกะทำงาน การใช้ประสบการณ์จากผู้สูงอายุและเพิ่มรายได้ให้ผู้สูงอายุได้ช่วยให้รูปแบบการจ้างงานผู้สูงอายุของอิเกียประเทศไทยมีประสิทธิภาพสูงและนับวันมีผู้สูงอายุไทยที่มีความปรารถนาจะทำงานต่อไปหลังเกษียณมากขึ้น ซึ่งเป็นรูปแบบที่ดีของประเทศที่มีอัตราประชากรผู้สูงอายุในระดับสูงเหมือนประเทศไทย ซึ่งเวียดนามควรเรียนรู้เพื่อปฏิบัติตาม.