เวียดนาม-ปัจจัยสำคัญในการสร้างสรรค์ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

(VOVworld) – วันที่ 31 ธันวาคมปี 2015 จะเป็นนิมิตหมายทางประวัติศาสตร์เพราะเป็นการให้กำเนิดประชาคมอาเซียนบน 3 เสาหลักคือ การเมือง-ความมั่นคง เศรษฐกิจและวัฒธรรม-สังคมโดยประชาคมการเมือง-ความมั่นคงหรือเอพีเอสซีมีบทบาทสำคัญในสภาวการณ์ที่ความมั่นคงและการเมืองในภูมิภาคมีการผันผวนอย่างซับซ้อน เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคมปี 1995 เวียดนามได้เข้าเป็นสมาชิกของอาเซียน ภายหลัง 20 ปีที่เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เวียดนามยังคงเป็นสมาชิกที่กระตือรือร้นที่เสนอข้อคิดริเริ่มในการสร้างสรรค์ ตลอดจนพยายามแก้ไขความท้าทายในการจัดตั้งเอพีเอสซี


(VOVworld
) – วันที่ 31 ธันวาคมปี 2015 จะเป็นนิมิตหมายทางประวัติศาสตร์เพราะเป็นการให้กำเนิดประชาคมอาเซียนบน 3 เสาหลักคือ การเมือง-ความมั่นคง เศรษฐกิจและวัฒธรรม-สังคมโดยประชาคมการเมือง-ความมั่นคงหรือเอพีเอสซีมีบทบาทสำคัญในสภาวการณ์ที่ความมั่นคงและการเมืองในภูมิภาคมีการผันผวนอย่างซับซ้อน เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคมปี 1995 เวียดนามได้เข้าเป็นสมาชิกของอาเซียนซึ่งถือเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อในกระบวนการผสมผสานเข้ากับกระแสภูมิภาคและโลกของประเทศ  ภายหลัง 20 ปีที่เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เวียดนามยังคงเป็นสมาชิกที่กระตือรือร้นที่เสนอข้อคิดริเริ่มในการสร้างสรรค์ ตลอดจนพยายามแก้ไขความท้าทายในการจัดตั้งเอพีเอสซี
เวียดนาม-ปัจจัยสำคัญในการสร้างสรรค์ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน - ảnh 1

เมื่อปี 1998 ภายหลัง 3 ปีที่เข้าเป็นสมาชิกของอาเซียน เวียดนามได้ปฏิบัติหน้าที่แรกของประเทศสมาชิกน้องใหม่ด้วยการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 6 จัดทำและอนุมัติโครงการปฏิบัติการฮานอยหรือเอชพีเอและปฏิบัติวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 ตลอดจนวางมาตรการเพื่อรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นหลังวิกฤตการเงินในภูมิภาค ต่อจากนั้น 3 ปี เวียดนามได้ดำรงบทบาทประธานคณะกรรมการอาเซียนวาระปี 2000-2001 สมัยที่ 34 จัดการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและระหว่างอาเซียนกับหุ้นส่วนต่างๆในกรุงฮานอยเมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2001 เสนอและอนุมัติแถลงการณ์ฮานอยเกี่ยวกับการลดช่องว่างการพัฒนา
หนึ่งในผลงานที่โดดเด่นคือเวียดนามได้ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่ประธานอาเซียนเมื่อปี 2000 ซึ่งเป็นปีแรกของอาเซียนในแผนการ 5 ปีที่ปฏิบัติกระบวนการสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียนภายในปี 2015 ในช่วงเปลี่ยนผ่านเพื่อนำกฎบัตรอาเซียนเข้าสู่ชีวิตโดยมีกลไกและแนวทางการปฏิบัติใหม่ ในการประเมินเกี่ยวกับผลงานที่ได้บรรลุในตลอด 20 ปีการเข้าเป็นสมาชิกของอาเซียนในด้านการเมืองและความมั่นคง นาย เลกงฝุ่ง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามได้เผยว่า“ในช่วงแรกที่เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน พวกเราได้มีส่วนร่วมสำคัญต่อความมั่นคงและการเมืองในภูมิภาค พวกเราได้ลดการเผชิญหน้าระหว่างภูมิภาคของอาเซียน พร้อมทั้งผลักดันกิจกรรมต่างๆ เช่นหลักปฏิบัติการต่อกันในทะเลตะวันออกหรือซีโอซี แถลงการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือดีโอซี เมื่อปี 2010 ในฐานะประธานหมุนเวียนอาเซียน เวียดนามได้ประสบความสำเร็จในการจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและการประชุมต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเวียดนามได้เป็นฝ่ายรุกในการเสนอข้อคิดริเริ่มในการจัดตั้งกลไกใหม่ เช่นการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน+8 หรือเอดีเอ็มเอ็มบวก การประชุมผู้บริหารสำนักงานความมั่นคงอาเซียนหรือเอ็มเอซีโอเอสเอและการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกหรืออีเอเอสได้รับการขยายโดยมีสหรัฐและรัสเซียเข้าร่วม  ประเทศสมาชิกอาเซียนและหุ้นส่วนต่างๆก็ชื่นชมความพยายามของเวียดนามในการปฏิบัติปัญหานี้”
จากการอนุมัติความร่วมมือพหุภาคีในกรอบเอพีเอสซีบนหลักการ “ให้ความเคารพเอกราช อธิปไตย ความเสมอภาค บูรณภาพแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ประชาชาติของทุกประเทศสมาชิก” เพื่อสร้างความมั่นคงอย่างสมบูรณ์ในภูมิภาค รับมือกับความท้าทายด้านความมั่นคงใหม่ เช่นอาชญากรรมข้ามชาติ การก่อการร้าย ภัยธรรมชาติและความปลอดภัยในการเดินเรือ เวียดนามกลายเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่น่าเชื่อถือของประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างรวดเร็ว นาย H.M Mayerfas เอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำเวียดนามได้เผยว่า“พวกเราไม่ลงนามข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์กับทุกประเทศเพราะทุกความสัมพันธ์ทวิภาคีต้องบรรลุระดับใดระดับหนึ่งก่อนที่จะบรรลุข้อตกลงนี้ ปัจจุบัน อินโดนีเซียมีความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์กับ 14 ประเทศซึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์กับเวียดนามเท่านั้นซึ่งผลงานนี้น่าชื่นชมมาก ทุกการหารือเพื่อมุ่งสู่การลงนามข้อตกลงทวิภาคีกับเวียดนามต่างเป็นไปอย่างรวดเร็วและประสบความสำเร็จ เมื่อปี 2013 นอกจากข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์แล้ว พวกเรายังลงนามข้อตกลงว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนและข้อตกลงให้การช่วยเหลือด้านนิตินัยทวิภาคีซึ่งรัฐบาลของทั้งสองประเทศจะมีกรอบทางนิตินัยเพื่อแก้ไขปัญหาความมั่นคงในแต่ละประเทศและข้อตกลงนี้ได้รับการลงนามหลังการหารือทวิภาคีเป็นเวลา 2 วัน ณ อินโดนีเซียและเวียดนามซึ่งไม่เคยได้รับการปฏิบัติมาก่อน ณ ประเทศอื่น”

เวียดนาม-ปัจจัยสำคัญในการสร้างสรรค์ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน - ảnh 2
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศเวียดนาม ฝ่ามบิ่งมิงห์

ในกระบวนการจัดตั้งเอพีเอสซี เวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกที่ต้องรับมือกับความท้าทายใหญ่ๆ โดยเฉพาะในสภาวการณ์ที่กิจกรรมการปรับปรุงและก่อสร้างในขอบเขตใหญ่ในทะเลตะวันออกส่งผลกระทบต่อความไว้วางใจ สันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค ในฐานะประเทศที่เกี่ยวข้องโดยตรงถึงปัญหานี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศเวียดนาม ฝ่ามบิ่งมิงห์ ได้ย้ำว่า“เวียดนามและประเทศสมาชิกอาเซียนได้ปฏิบัติแถลงการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อกันในทะเลตะวันออกหรือดีโอซีโดยร่วมกับจีนจัดทำร่างระเบียบการปฏิบัติต่อกันในทะเลตวันออกหรือซีโอซีซึ่งอนุญาตให้ประเทศที่เกี่ยวข้องถึงอธิปไตยในทะเลตะวันออกธำรงสภาพเดิม รักษาการปฏิบัติตามดีโอซี ในทางเป็นจริง เมื่อเวียดนามดำรงตำแหน่งผู้ประสานงานของอาเซียน-จีนตั้งแต่ปี 2009-2012 เวียดนามได้ร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนจัดทำซีโอซีอย่างเข้มแข็งและได้รับความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ในอาเซียน ปัจจุบัน อาเซียนและจีนได้เริ่มกระบวนการทาบทามเกี่ยวกับซีโอซีซึ่งเป็นก้าวเดินใหญ่ แต่จากการทาบทามจนถึงการเจรจาและจากการเจรจาถึงการลงนามก็ยังคงเป็นกระบวนการที่ยาวนานและลำบากที่ต้องการความพยายามของทุกฝ่าย”
ประชาคมอาเซียนที่เข้มแข็งและเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดคือเนื้อหาที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆและเวียดนามกำลังปฏิบัติ บนเส้นทางในเวลาข้างหน้าของอาเซียน เวียดนามจะเป็นฝ่ายรุก มีความกระตือรือร้น ร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนผลักดันความสามัคคี ขยายความร่วมมือเพื่อปฏิบัติวิสัยทัศน์เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน “มีความผูกพันทางการเมือง มีความเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจและมีความรับผิดชอบต่อสังคม” ให้ประสบความสำเร็จเพื่อให้อาเซียนกลายเป็นประชาคมที่ประชาชนของประเทศสมาชิกได้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีความมั่นคงและเสถียรภาพอย่างยั่งยืน มีการขยายตัวด้านเศรษฐกิจที่ยาวนาน มีความเจริญรุ่งเรืองและมีความก้าวหน้าทางสังคม”.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด