การศึกษา-กุญแจสู่อนาคตของประชาชนชนกลุ่มน้อยในเขตเขา

(VOVWORLD) - เพื่อให้ประชาชนชนกลุ่มน้อยในเขตเขาเปลี่ยนแปลงจิตสำนึก ความคิดและวิธีการผลิตเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและมีชีวิตที่อิ่มหนำผาสุก ทางการอำเภอโซบกบ จังหวัดเซินลาได้กำหนดมาตรการต่างๆ โดยก่อนอื่นคือชาวบ้านทุกคนต้องรู้หนังสือ ดังนั้น ควบคู่กับการรณรงค์ให้เด็กไปโรงเรียนและปฏิบัติการศึกษาภาคบังคับสำหรับเด็กแล้ว ทางการอำเภอฯยังได้เปิดชั้นเรียนต่างๆที่มีการเข้าร่วมของทหารประจำการในท้องถิ่นเพื่อแก้ปัญหาการไม่รู้หนังสือของชาวบ้าน
การศึกษา-กุญแจสู่อนาคตของประชาชนชนกลุ่มน้อยในเขตเขา - ảnh 1ในรอบ 4ปีที่ผ่านมา มีประชาชนกว่า 2 พัน 5 ร้อยคนในอำเภอโซบกบสามารถอ่านออกเขียนได้  

ในรอบ 4ปีที่ผ่านมา มีประชาชนกว่า 2 พัน 5 ร้อยคนในอำเภอโซบกบสามารถอ่านออกเขียนได้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจและความพยายามในระดับสูงสุดของพรรคสาขาและทางการปกครองทุกระดับในอำเภอชายแดนโซบกบที่ยากจนพิเศษในการแก้ปัญหาการไม่รู้หนังสือของชาวบ้าน

นาง ต่องถิเกวียน รองหัวหน้าแผนกการศึกษาและฝึกอบรมอำเภอโซบกบได้เผยว่า เมื่อปี 2015  มีชาวบ้านเกือบ2 พัน 5 ร้อยคนในจำนวนประชากร 2 หมื่น 8 พันคนไม่รู้หนังสือ  การไม่รู้หนังสือถือเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อการสร้างฐานะของครอบครัวและการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมในท้องถิ่น

จากการตระหนักได้ดีถึงประโยชน์ของการอ่านออกเขียนได้ ในหลายปีที่ผ่านมา อำเภอโซบกบได้ส่งเสริมการเปิดชั้นเรียนในตำบลและหมู่บ้านต่างๆเพื่อแก้ปัญหาการไม่รู้หนังสือของชาวบ้าน เพื่อขยายผลกิจกรรมดังกล่าวอย่างทั่วถึง อำเภอโซบกบได้จัดตั้งคณะกรรมการชี้นำการแก้ปัญหาการไม่รู้หนังสือของชาวบ้านทั้งระดับหมู่บ้าน ตำบลและอำเภอ โดยสมาชิกคณะกรรมการฯแต่ละคนต้องไปรณรงค์และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับข้อเสียของการไม่รู้หนังสือและประโยชน์ที่จะได้รับจากการเรียนหนังสือให้ชาวบ้านทราบ“หนึ่งคือ ต้องวิเคราะห์ถึงข้อเสียของการไม่รู้หนังสือ เช่น ลูกของเราอาจตัวเล็กและผอมกว่าลูกของคนอื่นเนื่องจากไม่มีความรู้เรื่องอาหาร อาจให้ลูกกินยาผิดเพราะอ่านคำแนะนำการใช้ยาไม่ออก สองคือต้องวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ทำให้การปลูกข้าวได้ผลไม่ดีเท่ากับคนอื่นและการเก็บเกี่ยวข้าวโพดที่มีคุณภาพต่ำกว่าของคนอื่น โดยการรู้หนังสือจะช่วยให้เราสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับพันธุ์ข้าวและการใช้ปุ๋ยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสาเหตุที่ทำให้การสร้างฐานะประสบอุปสรรคเนื่องจากไม่มีรูปแบบการพัฒนาเหมือนท้องถิ่นอื่น ส่วนชาวบ้านมีฐานะยากจนในขณะที่มีที่ดินที่กว้างใหญ่ก็เนื่องจากการไม่รู้หนังสือ”

จากการเป็นอำเภอชายแดนที่ยากจนและประสบปัญหาการขาดแคลนแหล่งบุคลากร อำเภอโซบกบได้ประสานงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยทหารประจำการในท้องถิ่นในการปฏิบัติงานด้านการแก้ปัญหาการไม่รู้หนังสือของชาวบ้าน พันโทอาวุโสเจิ่นแหมงเกื่อง รองหัวหน้าคณะกรรมการเศรษฐกิจ-กลาโหม326 สังกัดกองทัพภาคที่2 ได้เผยว่า ในการประสานงานกับทางการอำเภอฯเพื่อปฏิบัติโครงการ “เพิ่มจำนวนปัญญาชนรุ่นใหม่อาสาไปปฏิบัติงานในเขตเศรษฐกิจกลาโหมระยะปี 2010 – 2020” ในทุกปี ทางคณะกรรมการฯได้ส่งเจ้าหน้าที่ทหารไปสอนหนังสือให้แก่ชาวบ้าน เฉพาะตั้งแต่ต้นปี2020 จนถึงปัจจุบัน คณะกรรมการฯได้ประสานงานกับแผนกการศึกษาและฝึกอบรมอำเภอฯและคณะกรรมการชี้นำการแก้ปัญหาการไม่รู้หนังสือของชาวบ้านตำบลเหมื่องหล่าน เหมื่องหว่า ซามคาในการเปิด 5ชั้นเรียนเพื่อสอนหนังสือให้แก่ผู้ที่ไม่รู้หนังสือ 125คน“ปัจจุบัน มีชาวบ้านที่เข้าร่วมชั้นเรียนดังกล่าวของคณะกรรมการเศรษฐกิจ-กลาโหม326 เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีส่วนช่วยเปลี่ยนแปลงใหม่ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เช่น การประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านย้ายวัวควายออกจากใต้ถุนบ้านทำให้สะดวกกว่าก่อนมาก เพราะก่อนหน้านี้ ชาวบ้านไม่รู้หนังสือและพูดภาษากิงห์ไม่เป็น ทำให้งานด้านการประชาสัมพันธ์ประสบความยากลำบากมาก”

การศึกษา-กุญแจสู่อนาคตของประชาชนชนกลุ่มน้อยในเขตเขา - ảnh 2ชั้นเรียนของประชาชนชนกลุ่มน้อยในอำเภอโซบกบ 

ส่วนพันโท หล่อวันบิ่ง หัวหน้าพรรคสาขาและเจ้าหน้าที่ดูแลด้านการเมืองของป้อมทหารชายแดนเหนิมแหล่งได้เผยว่า นอกจากหน้าที่รักษาอธิปไตยและความมั่นคงในเขตชายแดนแล้ว ในเวลาที่ผ่านมา หน่วยทหารฯได้ส่งเจ้าหน้าที่ทหาร 2นายเข้าร่วมการฝึกอบรมเป็นครูและทุกปี ได้ประสานงานกับทางการท้องถิ่นในการเปิดชั้นเรียนเพื่อสอนหนังสือให้แก่ชาวบ้าน ปัจจุบัน ป้อมทหารชายแดนเหนิมแหล่งกำลังเปิด 2ชั้นเรียนเพื่อสอนหนังสือให้แก่ชาวบ้านที่หมู่บ้านฮวาแหล่งและหวยเหียในตำบลเหนิมแหล่ง“การที่แผนกการศึกษาได้ร่วมกับทหารชายแดนไปสอนหนังสือให้แก่ชาวบ้านทำให้ชาวบ้านตระหนักได้ดีและตั้งใจเรียนเป็นอย่างมาก อีกทั้งสามารถประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการเพาะปลูกและการทำปศุสัตว์เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ เมื่อเร็วๆนี้ ชาวบ้านได้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการปลูกไม้ผลในพื้นที่ลาดชันอย่างมีประสิทธิภาพ”

ความมุ่งมั่นตั้งใจและการเข้าร่วมของทั้งระบบการเมืองตั้งแต่ระดับอำเภอจนถึงระดับตำบลและหมู่บ้านทำให้อัตราผู้ที่ไม่รู้หนังสือที่มีอายุตั้งแต่15 ถึง 60 ปีในอำเภอโซบกบลดลง แต่อย่างไรก็ตาม ตามข้อมูลสถิติจนถึงต้นปี2020 จำนวนผู้ที่ไม่รู้หนังสือและผู้ที่ได้เรียนหนังสือแล้ว แต่กลับลืมไม่สามารถอ่านออกขัยนได้อยู่ที่กว่า 3พัน7 ร้อยคน ดังนั้น ทางการอำเภอโซบกบจะพยายามปฏิบัติมาตรการต่างๆอย่างคล่องตัวและเคร่งครัดเพื่อปฏิบัติโครงการแก้ปัญหาการไม่รู้หนังสือและปัญหาผู้ที่ได้เรียนหนังสือแล้ว แต่กลับลืมไม่สามารถอ่านออกเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในเวลาข้างหน้า นาง ต่องถิเกียน รองประธานคณะกรรมการประชาชนอำเภอโซบกบได้เผยว่า“คณะกรรมการประชาชนอำเภอฯจะผลักดันการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความหมายของการเรียนหนังสือต่อไป พร้อมทั้งรณรงค์และโน้มน้าวให้ผู้ที่ไม่รู้หนังสือไปเรียนหนังสือ พวกเราจะส่งครูจากโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมสอนหนังสือให้แก่ชาวบ้าน พร้อมทั้งประสานงานกับหน่วยทหารประจำการในท้องถิ่นเพื่อปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว นอกจากนี้ ทางการอำเภอฯจะเรียกร้องให้องค์กร บุคคลและผู้มีใจกุศลเข้าร่วมโครงการดังกล่าว”

ควบคู่กับการผลักดันการแก้ปัญหาการไม่รู้หนังสือของชาวบ้าน ทุกปี ทางการอำเภอโซบกบจะเน้นส่งเสริมให้เด็กไปโรงเรียนและปฏิบัติการศึกษาภาคบังคับสำหรับเด็ก ซึ่งความมุ่งมั่นตั้งใจของทางการอำเภอฯในการปฏิบัติแนวทางดังกล่าวจะช่วยให้ชาวบ้านทุกคนรู้หนังสือ อีกทั้งเปลี่ยนแปลงความคิด วิธีการผลิตเพื่อสร้างสรรค์ชีวิตใหม่ที่อิ่มหนำผาสุกและร่วมกันปกป้องอธิปไตยในเขตชายแดนอันศักดิ์สิทธิ์ของปิตุภูมิ.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด