(VOVWORLD) - เมื่อก่อนนี้ ขลุ่ยเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้และเป็นสิ่งที่ชายหนุ่มชาวม้งต้องนำติดตัวไปเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกกับสาวที่ตนชอบ แต่ปัจจุบัน ชาวม้งรุ่นใหม่ได้ทำการปรับปรุงขลุ่ยที่สามารถเล่นเพลงร่วมสมัยได้ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นขลุ่ยพื้นเมืองหรือขลุ่ยที่ได้รับการปรับปรุงแล้วต่างก็มีวัตถุประสงค์เพื่อจุดประกายความรักและส่งเสริมเอกลักษณ์วัฒนธรรมในชมรมชนเผ่าม้งในเวียดนาม
ขลุ่ยของชาวม้ง |
ขลุ่ยคือเครื่องดนตรีพื้นเมืองของชนเผ่าม้ง ทำจากต้นไผ่ป่องยาว50-100เซนติเมตรโดยจุดเด่นของขลุ่ยอยู่ที่ลิ้นขลุ่ยที่เป็นรูปสามเหลี่ยมทำจากทองแดงยาว 2 เซนติเมตร ซึ่งติดบริเวณปากนกแก้วที่ถูกเจาะไว้เพื่อบังคับเสียงและมีรูบังคับเสียง 4-7รู ปัจจุบัน ชาวม้งรุ่นใหม่ได้ทำการปรับปรุงขลุ่ยเพื่อให้สามารถเป่าเพลงร่วมสมัยได้ โดยได้เจาะรูบังคับเสียงเพิ่มอีก 2 รู และใช้เครื่องจักรทันสมัยในการทำขลุ่ย เช่น เครื่องตัดโลหะด้วยแสงเลเซอร์และเครื่องเจาะรู เป็นต้น
“ขลุ่ยที่ได้รับการปรับปรุงแล้วสามารถเป่าได้ทุกโน้ต มีการนำจูนเนอร์มาใช้ในการปรับแต่งขลุ่ย แต่สำหรับการเล่นเพลงพื้นเมืองนั้นก็ต้องใช้ขลุ่ยพื้นเมืองเพื่อสามารถสื่อถึงวิถีชีวิตและเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชาวม้ง”
“เมื่อก่อนนี้ ชายหนุ่มชาวม้งมักจะเป่าขลุ่ยเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกกับสาวที่ตนชอบ โดยได้เดินทางไปหาแฟนสาวที่บ้านแล้วเป่าขลุ่ยเพื่อเป็นการถามว่า เธอกำลังทำอะไร กินข้าวหรือยัง แต่ในปัจจุบันหนุ่มสาวสามารถทำความรู้จักและพูดคุยกันผ่านสมาร์ทโฟน”
บูธขายขลุ่ยในงานวัฒนธรรมของชนเผ่าม้ง |
การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายสังคมออนไลน์ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อบทบาทและสถานะของขลุ่ยในชีวิตทางจิตใจของชนเผ่าม้งเท่านั้น หากยังส่งผลกระทบต่อการทำขลุ่ยพื้นเมืองอีกด้วย แต่ด้วยความรักขลุ่ยพื้นเมือง ผู้ที่ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรมและประชาชนชนเผ่าม้งยังคงพยายามอนุรักษ์ขลุ่ยอย่างเต็มที่ นาย หย่างอาหาย เจ้าหน้าที่ชาวม้งที่ดูแลด้านวัฒนธรรมในอำเภอบั๊กห่า จังหวัดลาวกาย นาย หว่างอาหยิ่ง ชาวม้งฮวา อาศัยในอำเภอบ๋าวเอียน จังหวัดลาวกายและคุณจาอาโห่ ชาวม้งขาวจากอำเภอจ๋ามเตา จังหวัดเอียนบ๋ายได้เผยว่า
“เราพยายามส่งเสริมการเป่าขลุ่ยและแคนในกิจกรรมการท่องเที่ยวต่างๆ เช่น ในตลาดกลางคืนบั๊กห่าและตลาดความรักซาปา ถึงแม้นักท่องเที่ยวจะไม่ค่อยเข้าใจเพลงพื้นเมืองของชนเผ่าม้ง แต่เราก็อยากอนุรักษ์และเผยแพร่เอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่า”
“ช่างศิลป์ที่สามารถทำขลุ่ยในหมู่บ้านของผมมีแค่ 5-7คนที่มีอายุตั้งแต่ 30-60ปีโดยพวกเขาพร้อมสอนการทำขลุ่ยให้แก่ผู้ที่สนใจอย่างเต็มที่ ปัจจุบัน ขลุ่ยมีขายในตลาดมากมาย แต่สำหรับขลุ่ยพื้นเมืองนั้น ต้องไปซื้อขลุ่ยของช่างศิลป์อาวุโสในหมู่บ้าน”
“ผมได้เรียนการทำและเป่าขลุ่ยพื้นเมืองจากช่างศิลป์อาวุโสคนหนึ่งที่อายุ 80ปีและพยายามเรียนรู้ด้วยตนเอง เสียงขลุ่ยไพเราะมาก ผมอยากเรียนการทำขลุ่ยเพื่ออนุรักษ์เอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าม้งและสืบทอดให้แก่คนรุ่นหลัง”
ส่วนสำหรับขลุ่ยที่ได้รับการปรับปรุงแล้ว การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้ทำให้ขลุ่ยเป็นที่รู้จักมากขึ้นในชมรมชาวม้งทั้งภายในและต่างประเทศ คุณหย่างแซวกว๋าง อายุ 24ปี ชาวม้งฮวาในอำเภอบั๊กห่า จังหวัดลาวกาย ซึ่งมีประสบการณ์ในการทำขลุ่ยขายให้แก่พี่น้องชาวม้งมาเป็นเวลากว่า 4 ปีได้เผยว่า“ผมขายขลุ่ยผ่านทาง facebook และ ยูทูปโดยได้อัพโหลดคลิปวิดีโอการเป่าขลุ่ยผ่านทาง facebook ซึ่งก็มีเพื่อนชาวม้งเข้ามาถามว่า คุณซื้อขลุ่ยที่ไหน มีการสอนการเป่าขลุ่ยหรือเปล่าและมีเพื่อนชาวม้งจากจังหวัดต่างๆ เช่น เซินลา เดียนเบียน รวมทั้งในต่างประเทศ เช่น สหรัฐและลาวสั่งซื้อขลุ่ย ผมคิดว่าการทำขลุ่ยได้มีส่วนร่วมอนุรักษ์เอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าม้ง และได้รับการสนับสนุนจากชมรมชาวม้ง”
ทั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นขลุ่ยพื้นเมืองหรือขลุ่ยที่ได้รับการปรับปรุง ต่างมีบทบาทที่สำคัญในชีวิตทางจิตใจของชนเผ่าม้ง โดยชาวบ้านให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์เอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าตน ส่วนการปรับปรุงขลุ่ยนั้นทำให้เครื่องดนตรีพื้นเมืองของชนเผ่าม้งสอดคล้องกับการพัฒนาของยุคสมัยและเพิ่มความหลากหลายให้แก่กิจกรรมวัฒนธรรมของชนเผ่าม้ง.