ปรมาจารย์ด้านดนตรีเหงวียนหวิงบ๋าว ผู้มีส่วนร่วมที่ยิ่งใหญ่ต่อวงการดนตรีพื้นเมือง

(VOVWORLD) - ปรมาจารย์ด้านดนตรีเหงวียนหวิงบ๋าวได้ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 7มกราคมปี 2021 ในวัย 104ปี ณ บ้านพักในเมืองกาวแหลง จังหวัดด่งทาป โดยท่านเป็นศิลปินอาวุโสยอดเยี่ยมด้านศิลปะการร้องเพลงทำนองเดิ่นกาต่ายตื๋อในภาคใต้ อีกทั้งเป็นนักวิจัยและศาสตราจารย์ที่สอนวิชาดนตรีพื้นเมืองและเป็นช่างศิลป์ทำพิณพื้นเมืองอีกด้วย
 
 
ปรมาจารย์ด้านดนตรีเหงวียนหวิงบ๋าว ผู้มีส่วนร่วมที่ยิ่งใหญ่ต่อวงการดนตรีพื้นเมือง - ảnh 1นักดนตรีเหงวียนหวิงบ๋าว

ปรมาจารย์ดนตรีเหงวียนหวิงบ๋าวเกิดเมื่อปี 1918 ณ หมู่บ้านหมีจ่า เขตกาวแหลง จังหวัดซาแดก ซึ่งปัจจุบันคือแขวง 1เมืองกาวแหลง จังหวัดด่งทาป จากการเกิดและเติบโตในครอบครัวที่มีเกียรติประวัติใฝ่การศึกษา พ่อแม่ให้ความเอาใจใส่ดูแลด้านการเรียนและชื่นชอบเพลงทำนองเดิ่นกาต่ายตื๋อทำให้เขารู้จักเล่นด่านกิ่ม ซึ่งเหมือนพิณซึงของไทย ด่านก่อคล้ายซอด้วงตั้งแต่อายุ 5ขวบ ต่อมาตอนอายุ 10ขวบ ก็สามารถเล่นเครื่องดนตรีพื้นเมืองได้อีกหลายชนิด นอกจากสามารถเล่นเครื่องดนตรีพื้นเมืองต่างๆได้อย่างชำนาญแล้ว นักดนตรีเหงวียนหวิงบ๋าวยังสามารถเล่นเครื่องดนตรีสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี เช่น แมนโดลิน กีตาร์ ไวโอลินและเปียโน ตอนอายุ 17ปี เขาสามารถทำสาย 2ชนิดของด่านก๊าวหรือคล้ายซออู้ไทยและตอนอายุ 20ปี เริ่มมีชื่อเสียงหลังจากบริษัท Keller ของเยอรมนีเชิญไปอัดเสียงบรรเลงเครื่องดนตรีพื้นเมือง หลังจากนั้น เมื่อปี 1950 เขาคิดว่า ควรทำการปรับปรุงเครื่องดนตรีที่ใช้เล่นเพลงทำนองเดิ่นกาต่ายตื๋อ โดยได้เริ่มจากการปรับปรุงด่านแจงหรือจีนเรียกว่า กู่เจิง ส่วนไทยเรียกว่าพิณจีน  16สายให้เป็นพิณ 17, 19 และ 21สาย นาง เหงวียนถิทูแอง ลูกสาวคนโตของนักดนตรีเหงวียนหวิงบ๋าวได้เผยว่า พ่อเป็นครูสอนการเล่นเครื่องดนตรีและการใช้ชีวิตให้มีคุณค่าให้แก่เธอ“คุณพ่อได้สอนการเล่นเครื่องดนตรีพื้นเมืองให้แก่ดิฉันตั้งแต่ยังเล็ก อีกทั้งสอนเรื่องการใช้ชีวิต รวมถึงการยอมเสียสละผลประโยชน์ส่วนตัว ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และพร้อมช่วยเหลือคนอื่น”

ปรมาจารย์ดนตรีเหงวียนหวิงบ๋าวได้รับรางวัลด่าวเติ๋นของเวียดนามเมื่อปี 2005 ต่อมาเมื่อปี  2006 เขาได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ในอาจารย์ด้านดนตรี 6 คนที่มีชื่อเสียงระดับโลกในการสัมมนาเกี่ยวกับดนตรีของชนกลุ่มน้อยโลก ณ ประเทศสหรัฐ เมื่อปี 2008 ได้รับเหรียญอิสริยาภรณ์ สาขาศิลปศาสตร์และอักษรศาสตร์ ชั้นที่ 2 หลังจากนั้น เมื่อปี2014 ได้รับหนังสือชมเชยจากนายกรัฐมนตรีเนื่องจากมีผลงานที่ยอดเยี่ยมในการอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปะการร้องเพลงทำนองเดิ่นกาต่ายตื๋อในภาคใต้และในปี2015 ได้รับรางวัลฟานโจว์จิงเนื่องจากมีส่วนร่วมในการรวบรวมและเผยแพร่ดนตรีพื้นเมือง นาง เหงวียนถิหมีเลียม รองประธานสมาคมดนตรีนครโฮจิมินห์ได้เผยว่า“ครูบ๋าวได้ทุ่มเทให้แก่การสอนวิชาดนตรีพื้นเมืองอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะศิลปะการร้องเพลงทำนองเดิ่นกาต่ายตื๋อและดนตรีภาคใต้ ดิฉันมีความภาคภูมิใจที่เป็นลูกศิษย์ของท่าน ซึ่งท่านได้สร้างความหวังเกี่ยวกับการอนุรักษ์เอกลักษณ์วัฒนธรรมของประชาชาติเพื่อสืบทอดให้แก่คนรุ่นหลัง”

ปรมาจารย์ด้านดนตรีเหงวียนหวิงบ๋าว ผู้มีส่วนร่วมที่ยิ่งใหญ่ต่อวงการดนตรีพื้นเมือง - ảnh 2โซนจัดแสดงสิ่งของวัตถุและเอกสารเกี่ยวกับนักดนตรีเหงวียนหวิงบ๋าว

นอกจากมีความทุ่มเทหลงไหลกับการพัฒนาเครื่องดนตรีพื้นเมืองแล้ว อาจารย์ดนตรีเหงวียนหวิงบ๋าวยังมีความหลงไหลกับการสอนดนตรีให้แก่คนรุ่นใหม่ โดยมีผู้เรียนหลายร้อยคนทั้งจากภายในและจากประเทศต่างๆในเอเชีย ยุโรป ออสเตรเลียและสหรัฐ ซึ่งในนั้น มีหลายคนได้เติยโตเป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงและมีส่วนร่วมที่เข้มแข็งในการพัฒนาดนตรีพื้นเมือง ครูดีเด่นฝ่ามถวีฮวาน ลูกศิษย์ของอาจารย์ดนตรีเหงวียนหวิงบ๋าวได้เผยว่า“ครูบ๋าวมักจะให้กำลังใจผู้เรียน อีกทั้งมีความอดทน เอ็นดูและค่อยๆแนะนำให้ลูกศิษย์ปฏิบัติตามจุดมุ่งหมายต่างๆ ท่านเป็นตัวอย่างที่ดีให้ดิฉันปฏิบัติตาม”

ปรมาจารย์ดนตรีเหงวียนหวิงบ๋าวเคยบอกว่า ก่อนที่จะจากโลกนี้ไป ตนไม่อยากจัดงานคอนเสิร์ตที่ยิ่งใหญ่หรือได้รับการยกย่อง หากมีความประสงค์เอกลักษณ์ของดนตรีพื้นเมืองจะได้รับการอนุรักษ์เพื่อสืบทอดให้แก่คนรุ่นหลัง ซึ่งเอกสารเกี่ยวกับดนตรีพื้นเมืองและชีวิตของอาจารย์ดนตรีเหงวียนหวิงบ๋าว รวมทั้งหนังสือเกี่ยวกับดนตรี วิธีการเล่นพิณแจง เทปและแผ่นดิสก์ บทความทั้งภายในและต่างประเทศเกี่ยวกับท่าน ตลอดจนจดหมายและเอกสารระหว่างนักดนตรีเหงวียนหวิงบ๋าว ศ.เจิ่นวันเคและลูกศิษย์ และเหรียญอิสริยาภรณ์ต่างๆถูกเก็บรักษาและจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์จังหวัดด่งทาป อันเป็นการรับรองส่วนร่วมและการทุ่มเททำงานของปรมาจารย์ด้านดนตรีพื้นเมืองเหงวียนหวิงบ๋าว

ผลงานของปรมาจารย์ เหงวียนหวิงบ๋าว ในการเผยแพร่ดนตรีพื้นเมืองในตลอดเกือบ 10ปีที่ผ่านมาถือเป็นมรดกและเป็นสมบัติอันล้ำค่าในด้านศิลปะการร้องเพลงทำนองเดิ่นกาต่ายตื๋อในภาคใต้ แม้ท่านได้จากโลกนี้ไปแล้ว แต่ผลงานและชื่อเสียงของท่านจะยังคงทรงคุณค่าคู่กับกาลเวลาเหมือนความในใจตอนที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ "ดนตรีได้นำพาผมเดินทางไปศึกษาในสิ่งที่ดีงาม ผมไม่หวังจะได้ประโยชน์ ชื่อเสียงเพื่อตัวเอง หากแต่หวังจะอุทิศทั้งชีวิตนี้ให้แก่ดนตรีพื้นเมืองจนสิ้นลมหายใจเท่านั้น".

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด