วัฒนธรรมของถนน ๓๖ สายฮานอยในอดีตและปัจจุบัน

( VOVworld )-ถนน ๓๖ สายในฮานอยเป็นทที่รูจักแพร่หลายไม่เพียงแต่ในประเทศเท่านั้น หากชาวต่างชาติอีกด้วย  ตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๕ กระแสคนจากต่างจังหวัดหลั่งไหลมาราชธานีทังลองหรือกรุงฮานอยในปัจจุบันเพื่อทำมาค้าขาย ซึ่งได้สร้างเป็นกลุ่มอาชีพและถนนประกอบอาชีพหัตถกรรมต่างๆ ทั้งนี้เป็นที่มาของชื่อถนนต่างๆในย่าน ๓๖ สายที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า ห่าง ซึ่งแปลว่า สินค้า  แต่ละถนนจะเป็นย่านประกอบอาชีพหัตถกรรมพื้นบ้านแขนงหนึ่งและถนนที่มีชื่อห่างนั้นติดกัน ซึ่งสร้างเอกลักษณ์เฉพาะของฮานอย  ผ่านมาหลายร้อยปี ถนนเก่าแก่ ๓๖ สายของฮานอยยังคงอนุรักษ์คุณค่าดังกล่าวไว้ได้มาตราบเท่าทุกวันนี้

( VOVworld )-ถนน ๓๖ สายในฮานอยเป็นทที่รูจักแพร่หลายไม่เพียงแต่ในประเทศเท่านั้น หากชาวต่างชาติอีกด้วย  ตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๕ กระแสคนจากต่างจังหวัดหลั่งไหลมาราชธานีทังลองหรือกรุงฮานอยในปัจจุบันเพื่อทำมาค้าขาย ซึ่งได้สร้างเป็นกลุ่มอาชีพและถนนประกอบอาชีพหัตถกรรมต่างๆ ทั้งนี้เป็นที่มาของชื่อถนนต่างๆในย่าน ๓๖ สายที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า ห่าง ซึ่งแปลว่า สินค้า  แต่ละถนนจะเป็นย่านประกอบอาชีพหัตถกรรมพื้นบ้านแขนงหนึ่งและถนนที่มีชื่อห่างนั้นติดกัน ซึ่งสร้างเอกลักษณ์เฉพาะของฮานอย  ผ่านมาหลายร้อยปี ถนนเก่าแก่ ๓๖ สายของฮานอยยังคงอนุรักษ์คุณค่าดังกล่าวไว้ได้มาตราบเท่าทุกวันนี้

วัฒนธรรมของถนน ๓๖ สายฮานอยในอดีตและปัจจุบัน - ảnh 1
ถนนห่างด่าวทุกวันนี้

ปีค.ศ.๑๐๑๐ กษัตริย์หลี ท้าย โต๋ทรงสั่งย้ายราชธานีฮวา ลือ ในจังหวัดนินห์ บิ่นห์มาเมืองด่าย ลาและตั้งชื่อราชธานีใหม่ว่า ทังลองแปลว่า มังกรเหินฟ้า  โดยพระราชโองการย้ายราชธรนีในปีนั้นมีประโยคว่า “  ผืนดินอันศักดิ์สิทธิ์ทังลองเป็นสถานที่ผู้คนจากทั่วสารทิศหลั่งไหลมาและเป็นเมืองหลวงแห่งดีที่สุดสำหรับกษัตริย์องค์ต่อๆไป ”  ในสมัยนั้น ราชธานีทังลองมีพระราชวังหว่าง แถ่ง ทัง ลองและแว่นแคว้น ๖๑ แห่งซึ่งเป็นเขตปกครอง ศ.นักประวัติศาสตร์เหงวียน กวาง หงอกเปิดเผยว่า  “ ผืนดินแห่งนี้เป็นชุมทางคมนาคมและเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนสินค้า  ที่นี่เป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนและมีเศรษฐกิจพัฒนา ดังนั้นจึงถูกเลือกเป็นที่อาศัยต่อมากลายเป็นศูนย์การค้าขาย ”

ราชธานีทังลองในอดีตหรือกรุงฮานอยในปัจจุบันได้ดึงดูดใจช่างฝีมือเยี่ยมของหมู่บ้านหัตถกรรมต่างๆทั่วประเทศให้พากันมาแล้วค่อยๆสร้างเป็นกลุ่มอาชีพต่างๆซึ่งเป็นที่มาของถนนเก่าแก่ ๓๖ สายในกรุงฮานอยปัจจุบัน  แม้มาประกอบอาชีพในราชธานี แต่พวกเขายังติดต่อกับบ้านเกิดที่บังเกิดอาชีพพื้นบ้าน พวกเขาทำการผลิต การค้าขาย ก่อสร้างบ้านเรือนและจัดชีวิตให้เป็นระเบียบแต่ยังคงอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมและประเพณีทางจิตวิญญาณและงานเทศกาลของบ้านเกิดของตนไว้ได้  เมื่อเวียดนามถูกปกครองด้วยฝรั่งเศสได้มีการวางแผนผังพัฒนาฮานอยตามสไตล์สมัยใหม่โดยเฉพาะย่านถนนเก่าแก่เช่น มีการก่อสร้างระบบระบายน้ำ น้ำประปา สร้างฟุตบาท ถนนลาดยางมะตอยและติดตั้งระบบแสงไฟ  บ้านเรือนข้างถนนถูกก่อสร้างด้วยอิฐและหลังคามุงกระเบื้องดินเผา  และได้ปรากฎบ้านห้องแถวที่ถูกก่อสร้างและตบแต่งตามสไตล์ของยุโรป  เมื่อนครหลวงฮานอยได้รับการปลดปล่อยในปีค.ศ.๑๙๕๔  บ้านในย่านถนนเก่าแก่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยเท่านั้น  ต่อมาปีค.ศ.๑๙๘๖ รัฐได้ปฏิบัตินโยบายพัฒนาเศรษฐกิจเชิงตลาดและขยายการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ การค้าขายในย่านถนนเก่าแก่ได้พลุกพล่านกว่าเดิม  ปัจจุบัน ย่านถนนเก่าแก่ตั้งอยู่ในเขตหว่าน เกี๊ยมมีถนน ๗๖ แห่งแต่ยังคงอนุรักษ์ถนนที่มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่าห่างหรือสินค้าถึง ๔๗ แห่งถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงอาชีพก็ตาม แต่ยังคงอนุรักษ์คุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมพื้นบ้านเอาไว้ได้อย่างไม่เสื่อมคลาย  นายเจิ่น เหวียต อัน รองหัวหน้าฝ่ายบริหารและดูแลย่านถนนเก่าแก่เปิดเผยว่า  “ ในด้านรูปธรรม เรายังคงอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์สถาปัตยกรรม โดยเฉพาะระบบถนนและโบราณสถานแห่งประวัติศาสตร์ที่ผูกพันกับย่านถนนเก่าแก่เอาไว้ได้ สำหรับสิ่งที่แตะต้องไม่ได้มีหลายอย่างเช่น ถนนอาชีพพื้นบ้าน ขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิตของชาวบ้านย่านถนนเก่าแก่ ซึ่งมีคุณค่ายิ่ง ”

วัฒนธรรมของถนน ๓๖ สายฮานอยในอดีตและปัจจุบัน - ảnh 2
ตลาดด่ง ซวนในอดีต

ชื่อของถนนที่ขึ้นต้นด้วยคำว่าห่างนั้นหมายถึงอาชีพของชาวบ้านในถนนนั้นๆยกตัวอย่างเช่น ถนนห่าง บากที่ประกอบอาชีพทำเครื่องเงินเครื่องทอง ซึ่งยังคงอนุรักษ์จนปัจจุบัน ถนนห่างด่งที่ประกอบอาชีพหล่อทองแดงและตีทองแดง และถนนหล่อ แหร่นประกอบอาชีพตีเหล็ก แม้กระทั่งเมื่อได้ยินเสียงที่มาจากถนนใดถนนหนึ่งก็รู้ได้เลยว่า ถนนนั้นประกอบอาชีพหัตถกรรมอะไรเช่นถนนห่าง เทียกยังคงประกอบอาชีพตีเหล็กที่มีมาหลายร้อยปี  โดยทุกบ้านล้วนประกอบอาชีพนี้ ถึงแม้ถนนยาวไม่กี่ร้อยเมตรเท่านั้น

ตามถนนเก่าแก่ยังมีสถาปัตยกรรมอันเก่าแก่หลายแห่งเช่น  ศาลเจ้า วัดวาอารามและโบราณสถานเกี่ยวกับหมู่บ้านศิลปาชีพ อีกทั้งยังคงอนุรักษ์ประเพณีความเลื่อมใสศรัทธา วัฒนธรรมและศิลปะพื้นบ้านไว้ได้เช่น  การทรงเจ้า การร้องเพลงพื้นบ้านทำนองแจ่วและเจิ่ววัน  แต่สิ่งที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวมากกว่านี้คือ การสัมผัสกับวิถีชีวิตที่สงบสุขและเก่าแก่ของชาวบ้าน  คุณลุงวินห์ ที่อาศัยอยู่ในถนนห่าง ไหย่หรือถนนทำรองเท้ากล่าวว่า  ชาวฮานอยชอบความสงบ ซึ่งความสงบนั้นได้ก่อให้เกิดถนนและหมู่บ้านศิลปาชีพในตัวเมือง ทุกเช้าเปิดประตูบ้านก็จะพบเพื่อนบ้าน   บ้านแต่ละหลังมีอาชีพของตนเองแต่เมื่อเพื่อนบ้านมีงานอะไรชาวบ้านในละแวดจะมาช่วยงาน ทุกคนพบปะพูดคุยกันเหมือนอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน  วิถีชีวิต ณ ที่นี่ยังมีลักษณะของหมู่บ้านชนบท  ดังนั้น การประกอบอาชีพ พวกเขารักษาเครดิต อนุรักษ์สไตล์การแต่งกาย การพูดจาและวิถีชีวิต”
วัฒนธรรมของถนน ๓๖ สายฮานอยในอดีตและปัจจุบัน - ảnh 3
ตลาดด่ง ซวนในปัจจุบัน

ทุกวันนี้ ถนนเก่าแก่ที่มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่าห่างนั้นได้หันไปขายสินค้าใหม่  แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงก็ตาม แต่จังหวะและครรลองชีวิตของชาวบ้านยังคงทำให้นักท่องเที่ยวเข้าใจจิตวิญญาณของหมู่บ้านศิลปาชีพในอดีต ถนนเก่าแก่ไม่เพียงแต่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ว่าด้วยศิลปะสถาปัตยกรรมเท่านั้น หากยังเก็บอนุสรณ์เกี่ยวกับวิถีชีวิตในราชธานีทังลองไว้ได้อย่างดี ทั้งนี้และทั้งนั้นได้สร้างคุณค่าวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของย่านถนนเก่าแก่ ๓๖สายในฮานอย .

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด