เสริมสร้างและพัฒนาวัฒนธรรมการอ่านหนังสือในชุมชน
Hong Bac – Ngoc Anh – VOV -  
(VOVworld) – ในเวลาที่ผ่านมา การจัดงานแสดงหนังสือและถนนหนังสือเป็นประจำได้ช่วยเผยแพร่วัฒนธรรมการอ่านหนังสือในชุมชน โดยวันที่ 21 เมษายนได้ถูกเลือกให้เป็นวันอ่านหนังสือประจำปี ซึ่งได้กลายเป็นวันงานสำหรับผู้รักหนังสือทุกคน
(VOVworld) – ในเวลาที่ผ่านมา การจัดงานแสดงหนังสือและถนนหนังสือเป็นประจำได้ช่วยเผยแพร่วัฒนธรรมการอ่านหนังสือในชุมชน โดยวันที่ 21 เมษายนได้ถูกเลือกให้เป็นวันอ่านหนังสือประจำปี ซึ่งได้กลายเป็นวันงานสำหรับผู้รักหนังสือทุกคน
เสริมสร้างและพัฒนาวัฒนธรรมการอ่านหนังสือในชุมชน
|
จากการใช้ประโยชน์จากแหล่งความรู้และวัฒนธรรมของมนุษย์และประชาชาติ รัฐบาลเวียดนามได้มีแนวทางส่งเสริมการอ่านหนังสือในชุมชนโดยระดมพลังทุกแหล่งในสังคมเพื่อพัฒนาวัฒธรรมการอ่านหนังสือและสร้างความคุ้นเคย ความต้องการ ทักษะและขบวนการอ่านหนังสือในประชาชนทุกชั้นชน โดยเฉพาะเยาวชน ยุวชน นักเรียนและนักศึกษา รวมทั้งชาวบ้านในเขตชนบทและเขตที่ห่างไกลความเจริญ พยายามให้แต่ละคนอ่านหนังสือเฉลี่ยปีละ 4 เล่มและจำนวนผู้ที่เข้าไปใช้บริการห้องสมุดอยู่ที่ 300 ล้านคนต่อปี นางเยืองทวี๊หง่า อธิบดีกรมห้องสมุดสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม การกีฬาและการท่องเที่ยวเผยว่า “เราระบุรายละเอียดมาตรการเพื่อผลักดันการอ่านหนังสือ ไม่ใช่แค่การประชาสัมพันธ์เท่านั้น หากยังมีกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมต่างๆ เช่น การมอบรางวัลให้แก่ผู้ที่มีส่วนร่วมเผยแพร่วัฒนธรรมการอ่านหนังสือและการรณรงค์ให้บุคคลและองค์กรต่างๆในสังคมเข้าร่วมการผลักดันนี้”
ทุกปี สำนักพิมพ์ต่างๆในเวียดนามได้ร่วมมือจัดงานแสดงหนังสือในเดือนมีนาคมและงานแสดงหนังสือในฤดูใบไม้ร่วงเดือนตุลาคมเพื่อแนะนำหนังสือใหม่ให้แก่ผู้อ่าน ซึ่งการจัดวันงานวัฒนธรรมการอ่านหนังสือในท้องถิ่นต่างๆทั่วประเทศได้ช่วยเผยแพร่ความรักหนังสือต่อทุกคน นายเหงียนเกี๋ยม รองประธานสมาคมสำนักพิมพ์เวียดนามเผยว่า การจัดวันงานแบบนี้ถือเป็นความคิดริเริ่มที่ช่วยสร้างบรรยากาศการอ่านหนังสือที่มีประโยชน์ต่อทุกคน
ในกรอบของงานแสดงหนังสือเหล่านี้ นอกจากการจัดแสดงหนังสือแล้ว ยังมีการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การพูดคุยกับผู้เขียน การเสวนาและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือ เป็นต้น นายเหงียนก๊วกบ๋าว ชาวฮานอยคนหนึ่งเผยว่า “ผมคิดว่า การจัดงานแสดงหนังสือแบบนี้มีประโยชน์มาก เพราะว่า ผู้อ่านหลายคนอยากหาซื้อหนังสือที่ชอบซึ่งบางทีก็เป็นหนังสือหายาก แต่บางทีก็หาได้ในงานแสดงหนังสือเหล่านี้”
สำนักพิมพ์ต่างๆในเวียดนามได้ร่วมมือจัดงานแสดงหนังสือเพื่อแนะนำหนังสือใหม่ให้แก่ผู้อ่าน
|
ควบคู่กับการส่งเสริมการพบปะแลกเปลี่ยนระหว่างสำนักพิมพ์กับผู้อ่าน องค์กรและบุคคลต่างๆยังคงพยายามสร้างสรรค์ตู้หนังสือในครอบครัวและสถานที่อ่านหนังสือในท้องถิ่น ซึ่งเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้กลายเป็นช่องข่าวเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดงานแสดงหนังสือไปสู่ชุมชนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น นางคุ๊กถิฮวาเฝือง ผู้อำนวยการสำนักพิมพ์สตรีกล่าวว่า “นอกจากการประชาสัมพันธ์รูปแบบเดิม เช่น โทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ พวกเราได้ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งมีประโยชน์มาก หากแต่ละคนมีเพื่อนหนึ่งคนแชร์ลิงค์ก็จะมีเพื่อนอีก 20 คนรับทราบข้อมูลนี้ ทั้งนี้ทำให้การเผยแพร่ข้อมูลรวดเร็วมากขึ้น นี่คือมาตรการหนึ่งเพื่อผลักดันวัฒนธรรมการอ่านหนังสือในชุมชน”
อย่างไรก็ตาม เพื่อพัฒนาวัฒนธรรมการอ่านหนังสือ ต้องพัฒนาการปฏิบัติต่อกัน คุณค่าและมาตรฐานการอ่านหนังสือของทั้งผู้บริหาร สำนักงานบริหารภาครัฐ ชุมชนและบุคคลในสังคม ซึ่งนั่นคือความคุ้นเคย ความชอบและทักษะการอ่านหนังสือของแต่ละคน นี่คือพื้นฐานของสังคมแห่งการเรียนรู้ เป็นเงื่อนไขและความท้าทายในสังคมที่ทันสมัย การผลักดันวัฒนธรรมการอ่านหนังสือในเวียดนามก็คือการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนและผสมผสานเข้ากับกระแสโลก.
Hong Bac – Ngoc Anh – VOV