นาย มิเกล ดิอัซ-กาเนล ประธานประเทศคิวบา (Photo: Xinhua) |
หลังการประชุมมาเป็นเวลา 2 วัน บรรดาประเทศสมาชิก G77ได้ออกแถลงการณ์ร่วม 46 ข้อ โดยเรียกร้องให้ประชาคมโลก สหประชาชาติและองค์กรการเงินระหว่างประเทศสนับสนุนการพัฒนาประเทศซีกโลกใต้ เสริมสร้างระบบวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศ แถลงการณ์ร่วมดังกล่าวยังแสดงให้เห็นถึงความปรารถนาร่วมของบรรดาผู้นำกลุ่ม G77ว่า โลกต้องมีความเป็นระเบียบใหม่ของเศรษฐกิจและสังคมที่เท่าเทียมมากขึ้น
ลดช่องว่างและความไม่เท่าเทียมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ภายใต้หัวข้อ “ความท้าทายต่อการพัฒนาในปัจจุบัน บทบาทของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม” ที่ประชุมได้สงวนเวลาส่วนใหญ่เพื่อหารือ เสนอมาตรการต่างๆเพื่อแปรความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาของบรรดาประเทศสมาชิก บรรดาประเทศ G77ยังย้ำถึงการลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างบรรดาประเทศ G77กับประเทศพัฒนา มุ่งสู่การขจัดการเลือกปฏิบัติในการเข้าถึงผลสำเร็จด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลก
นาย มิเกล ดิอัซ-กาเนล ประธานประเทศคิวบาเผยว่า ตามรายงานสถิติของสหประชาชาติ มี 10 ประเทศที่เป็นเจ้าของสิทธิบัตรถึงร้อยละ 90 และเทคโนโลยีการผลิตดิจิทัลขั้นสูงเพื่อการส่งออกถึงร้อยละ 70 พร้อมทั้งย้ำว่า บรรดาประเทศ G77 ไม่เห็นด้วยกับความไม่เท่าเทียมในเรื่องนี้เพราะเป้าหมายการสร้างสรรค์โลกที่มีความยุติธรรมมากขึ้นจะไม่สามารถปฏิบัติได้ถ้าหากเศรษฐกิจที่พัฒนายังเป็นเจ้าของเทคโนโลยีที่ทันสมัยและไม่ยอมแบ่งปันความรู้ในเรื่องดังกล่าว
“ พวกเราเรียกร้องให้แก่สิทธิการพัฒนาเพราะนี่เป็นสิทธิในการอยู่รอด ซึ่งช่วยสร้างความเท่าเทียมกันในการเข้าร่วมการปฏิวัติวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”
จุดยืนดังกล่าวของประธานประเทศคิวบาได้รับการสนับสนุนจากบรรดาประเทศ G77 ซึ่งแสดงให้เห็นผ่านบททาบทาม 120 บทในการประชุม นาย ลูลา ดา ซิลวา ประธานาธิบดีบราซิลประกาศว่า เมื่อบราซิลขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกลุ่มประเทศเศรษฐกิจพัฒนาและเพิ่งเกิดใหม่ของโลกหรือ G20ในปี 2024 บราซิลจะเสนอให้จัดตั้งกลุ่มปฏิบัติงานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ของประเทศที่กำลังพัฒนาในด้านนี้
หลังการประชุม บรรดาประเทศสมาชิก G77 ได้ออกแถลงการณ์ฮาวานา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจและความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ของกลุ่มเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ครอบคลุม กลุ่ม G77 ได้ย้ำว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นพลังขับเคลื่อนให้แก่การขยายตัว พร้อมทั้ง ให้คำมั่นที่จะผลักดันความร่วมมือเหนือ-ใต้เกี่ยวกับการเงินสำหรับการพัฒนา ผลักดันความร่วมมือใต้-ใต้ ผลักดันรูปแบบไตรภาคีและกลไกความร่วมมือใหม่ในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สิ่งที่น่าสนใจคือ ที่ประชุมได้เห็นพ้องที่จะสนับสนุนความคิดริเริ่มของคิวบาเกี่ยวกับการกำหนดให้วันที่ 16 กันยายนเป็นวันวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศในซีกโลกใต้
นาย อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ (Photo: Xinhua) |
สร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยที่มีความยุติธรรมมากขึ้น
นอกจากการส่งเสริมความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแล้ว บรรดาประเทศ G77 ยังแสดงความคิดเห็นต่อสถานการณ์โลกในปัจจุบันและต้องการเปลี่ยนแปลงธรรมาภิบาลในโลก
นาย อัลเบร์โต เฟร์นันเดซ ประธานาธิบดีอาร์เจนตินา เผยว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ทำให้ความไม่เสมอภาคในการเข้าถึงวัคซีนระหว่างประเทศต่างๆชัดเจนมากขึ้น เพราะวัคซีนร้อยละ 90 อยู่ในมือของ 10 ประเทศ นาย มามุด อับบาส ประธานาธิบดีปาเลสไตน์และนาย กุสตาโว เปโตร ประธานาธิบดีโคลอมเบียตำหนิสองมาตรฐานของบรรดาประเทศมหาอำนาจในการแก้ไขการปะทะในโลก พร้อมทั้งเรียกร้องให้สหประชาชาติให้ความสำคัญต่อเสียงพูดจากประเทศในซีกโลกใต้
คำเรียกร้องดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากนาย อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ นาย อันโตนิโอ กูเตอร์เรส ได้ประเมินว่า ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา บรรดาประเทศซีกโลกใต้ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤตที่มาจากประเทศที่พัฒนา พร้อมทั้งแสดงความยินดีต่อความพยายามยกระดับสถานะของประเทศซีกโลกใต้บนเวทีโลกและเห็นว่า โลกต้องแก้ไขปัญหาความอยุติธรรมต่อบรรดาประเทศที่กำลังพัฒนา
“ปัญหาความอดอยากยากจนกำลังเพิ่มขึ้น ราคาสินค้าก็เพิ่มขึ้น ปัญหาหนี้สินและภัยธรรมชาตินับวันเพิ่มขึ้น ระบบและกรอบต่างๆโลกได้ประสบความล้มเหลว โลกทำให้บรรดาประเทศที่กำลังพัฒนาประสบความล้มเหลว”
ในประกาศหลังพิธีปิดการประชุม คิวบาได้เผยว่า นาย มิเกล ดิอัซ-กาเนล ประธานประเทศคิวบาจะส่งสารของกลุ่ม G77 ในสัปดาห์ระดับสูงของสมัชชาใหญ่สหประชาชาติครั้งที่ 78 ที่จะมีขึ้น ณ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐในระหว่างวันที่ 19-26 กันยายน ในฐานะประธานหมุนเวียนของกลุ่ม G77 คิวบาจะปกป้องผลประโยชน์และความต้องการที่ชอบธรรมของกลุ่มในการสนทนาระดับสูงด้านการเงินเพื่อการพัฒนาในวันที่ 20 กันยายน
บรรดาผู้สังเกตการณ์เห็นว่า การออกแถลงการณ์ที่เข้มแข็งก่อนการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติของที่ประชุมสุดยอด G77 ไม่กี่วันได้แสดงให้เห็นว่า บรรดาประเทศซีกโลกใต้มีความตั้งใจส่งเสริมบทบาทที่สำคัญและสถานะที่เป็นอิสระมากขึ้นในระบบธรรมาภิบาลโลก นอกจากนี้ ความไม่พอใจของบรรดาประเทศ G77 จะเพิ่มแรงกดดันและบังคับให้สถาบันการเมืองและการเงินระหว่างประเทศต้องมีการปฏิรูปอย่างจริงจังเพื่อรับมือความท้าทายระดับโลก.