(VOVworld) – วันที่ 23 มิถุนายน การสนทนายุทธศาสตร์และเศรษฐกิจสหรัฐกับจีนประจำปีครั้งที่ 7ได้มีขึ้น ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐในสภาวการณ์ที่ทั้งสองประเทศกำลังมีความขัดแย้งเกี่ยวกับปัญหาความมั่นคงทางอินเตอร์เน็ต การค้าในภูมิภาคและพฤติกรรมที่ไม่สนใจต่อกฎหมายสากลในทะเลตะวันออกของจีน ซึ่งทำให้การสนทนาครั้งนี้ยากที่จะคาดผลได้
(VOVworld) – วันที่ 23 มิถุนายน การสนทนายุทธศาสตร์และเศรษฐกิจสหรัฐกับจีนประจำปีครั้งที่ 7ได้มีขึ้น ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐในสภาวการณ์ที่ทั้งสองประเทศกำลังมีความขัดแย้งเกี่ยวกับปัญหาความมั่นคงทางอินเตอร์เน็ต การค้าในภูมิภาคและพฤติกรรมที่ไม่สนใจต่อกฎหมายสากลในทะเลตะวันออกของจีน ซึ่งทำให้การสนทนาครั้งนี้ยากที่จะคาดผลได้
นายจอห์น แคร์รี่ กับนายหยางเฉียสือ (Photo AP)
|
ตามกำหนดการ นายจอห์น แคร์รี่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ นาย จาคอบ ลิวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐ นายวางหยาง รองนายกรัฐมนตรีจีนและนายหยางเฉียสือ สมาชิกรัฐบาลจีนจะร่วมเป็นประธานในการสนทนาดังกล่าว
ทะเลตะวันออกในความสัมพันธ์สหรัฐ – จีน
ทะเลตะวันออกเป็นหนึ่งในเนื้อหาหลักในการสนทนาครั้งนี้ นี่คือคำยืนยันของนาย แดเนียล รัสเซล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐที่ดูแลเอฝ่ายงานเชียตะวันออกก่อนการสนทนา โดยเผยว่า สหรัฐจะหารือกับจีนเกี่ยวกับเป้าหมายการใช้เกาะเทียมที่จีนก่อสร้างในทะเลตะวันออก ซึ่งเป็นสิ่งที่จีนอยากหลีกเลี่ยง แต่สหรัฐมีจุดยืนที่ชัดเจนเกี่ยวกับปัญหานี้ โดยในฟอรั่มการสนทนาว่าด้วยความมั่นคงแชงกรีลา ณ ประเทศสิงคโปร์เมื่อเดือนที่แล้ว นาย คาร์เตอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐได้เรียกร้องให้จีนยุติการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างในทะเลตะวันออก รวมทั้งโครงการปรับปรุงและสร้างเกาะเทียม สหรัฐมีความกังวลว่า ถ้าหากเสร็จสิ้นการก่อสร้างต่างๆแล้ว จีนอาจประกาศข้อกำหนดต่างๆต่อเรือและเครื่องบินต่างชาติในทะเลตะวันออก ซึ่งจะเป็นภัยคุกคามต่อการเดินเรืออย่างเสรีและเพิ่มความตึงเครียดในภูมิภาค
แม้ถึงขณะนี้ จีนยังไม่มีปฏิกิริยาอย่างชัดเจนเกี่ยวกับคำเรียกร้องดังกล่าวของสหรัฐแต่ก็ได้มีการคัดค้านสหรัฐหลายครั้งที่แทรกแซงปัญหาทะเลตะวันออก ดังนั้น การสนทนายุทธศาสตร์และเศรษฐกิจสหรัฐ – จีนครั้งที่ 7 นี้จึงกลายเป็นการทดสอบปฏิกิริยาของทั้งสองฝ่ายต่อปัญหาทะเลตะวันออก
ความขัดแย้งต่อปัญหาเศรษฐกิจและความมั่นคงทางอินเตอร์เน็ต
นอกจากปัญหาทะเลตะวันออกแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมหาอำนาจสหรัฐกับจีนก็ยังถูกทำลายโดยปัญหาความมั่นคงทางอินเตอร์เน็ต สิทธิมนุษยชนและปัญหาประชาธิปไตยในฮ่องกง รวมทั้งการเปิดเผยของนาย Edward Snowden อดีตผู้รับเหมางานของสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐหรือเอ็นเอสเอเกี่ยวกับกิจกรรมสอดแนมของสหรัฐจนเกิดการโต้เถียงกันเป็นเวลาหลายเดือนระหว่างสหรัฐกับจีนและปัญหาที่ตึงเครียดที่สุดคือทางการสหรัฐดำเนินคดีต่อทหารจีน 5 นายที่แฮ็กข้อมูลของบริษัทเอกชนในสหรัฐ แต่จีนได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาเหล่านี้และไม่มีท่าทีที่จะตอบรับข้อเสนอเกี่ยวกับการสนทนาว่าด้วยความมั่นคงทางอินเตอร์เน็ตของสหรัฐ นอกจากนี้ จีนและสหรัฐยังประสบความยากลำบากในด้านเศรษฐกิจ เพราะว่า นับตั้งแต่ฤดูร้อนที่ผ่านมา สหรัฐได้พยายามคว่ำบาตรธนาคารลงทุนและโครงสร้างพื้นฐานเอเชียของจีน ซึ่งถือเป็นคู่แข่งกับหลายองค์การในตะวันตก เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ
ทะเลตะวันออกเป็นหนึ่งในเนื้อหาหลักในการสนทนาครั้งนี้
(Photo IHS Janes) |
|
พยายามลดความขัดแย้งกัน
แม้บรรยากาศการสนทนาจะเต็มไปด้วยความท้าทายแต่สหรัฐและจีนยังคงพยายามแสวงหาความร่วมมือเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน เช่น การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและข้อตกลงการลงทุนทวิภาคี ทั้งสองฝ่ายต่างมีความหวังว่า การสนทนาครั้งนี้จะสามารถแก้ไขความชงักงันในการเจรจาเกี่ยวกับข้อตกลงการลงทุนทวิภาคีสหรัฐ – จีน เพราะว่า ถ้าหากข้อตกลงฉบับนี้ได้รับการลงนาม จีนจะมีโอกาสลงทุนในสหรัฐ ส่วนสหรัฐสามารถแก้ไขปัญหาการว่างงานให้แก่แรงงานได้
โดยเฉพาะในการสนทนาครั้งนี้ สหรัฐและจีนจะลดช่องว่างความขัดแย้งเกี่ยวกับความมั่นคงและการเมืองผ่านการผลักดันความร่วมมือการทูตประชาชน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐจอห์น แคร์รี่และรองนายกรัฐมนตรีจีนเหลียวเหยียนตุ้งจะเป็นประธานร่วมในการทาบทามการพบปะสังสรรค์ระดับประชาชนครั้งที่ 6 หรือซีพีอี ซึ่งในการทาบทามครั้งนี้จะสงวนเวลาส่วนใหญ่เพื่อหารือถึงมาตรการผลักดันความสัมพันธ์และการพบปะระดับประชาชนระหว่างสองประเทศในด้านการศึกษา วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การกีฬา สตรีและสาธารณสุข
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญยังเห็นว่า แม้จะมีแผนการที่ดีแล้วก็ตามแต่การสนทนาครั้งนี้ก็ยากที่จะบรรลุเป้าหมายทั้งหมดได้ตามที่หวัง./.