การเจรจาว่าด้วยปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่าน: ยากที่ทุกฝ่ายจะยอมถอยคนละก้าว

(VOVworld)-วันที่31มีนาคมเป็นกำหนดเส้นตายเพื่อให้ฝ่ายตะวันตกและอิหร่าน บรรลุข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน ซึ่งการเจรจาระหว่างอิหร่านกับกลุ่มพี5+1กำลังย่างเข้าสู่ช่วงที่เต็มไปด้วย ความท้าทายแต่ก็สามารถเห็นถึงความคืบหน้าเพราะถ้าหากพิจารณาในทุกมิติแล้ว ข้อตกลงเบื้องต้นจะนำมาซึ่งผลประโยชน์ให้แก่ทุกฝ่ายในช่วงนี้

(VOVworld)-วันที่31มีนาคมเป็นกำหนดเส้นตายเพื่อให้ฝ่ายตะวันตกและอิหร่านบรรลุข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน ซึ่งการเจรจาระหว่างอิหร่านกับกลุ่มพี5+1กำลังย่างเข้าสู่ช่วงที่เต็มไปด้วยความท้าทายแต่ก็สามารถเห็นถึงความคืบหน้าเพราะถ้าหากพิจารณาในทุกมิติแล้ว ข้อตกลงเบื้องต้นจะนำมาซึ่งผลประโยชน์ให้แก่ทุกฝ่ายในช่วงนี้

การเจรจาว่าด้วยปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่าน: ยากที่ทุกฝ่ายจะยอมถอยคนละก้าว - ảnh 1
บรรยากาศการเจรจาเมื่อวันที่29มีนาคม(Reuters)

ถ้าหากการเจรจาที่มีขึ้น ณ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ในครั้งนี้ประสบความสำเร็จก็จะมีการลงนามข้อตกลงเบื้องต้นเพื่อทำการเจรจารอบต่อไปในอีก90วันเพื่อมุ่งบรรลุข้อตกลงฉบับสมบูรณ์ที่จะยุติวิกฤตนิวเคลียร์ของอิหร่านที่ยืดเยื้อมากว่า12ปี

ความพยายามเพื่อแก้ไขความชงักงัน

นับตั้งแต่หลังการลงนามข้อตกลงเบื้องต้นที่เมืองเจนีวาเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี2013 ฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินกระบวนการดังกล่าวมาได้ระยะหนึ่งแล้วแต่ก็ยังไม่สามารถไปถึงจุดมุ่งหมายได้เพราะมีความขัดแย้งเรื่องการจำกัดการเสริมสมรรถภาพยูเรเนี่ยมของเตหะรานและการที่อิหร่านจะย้ายคลังเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ออกนอกประเทศหรือไม่ ตลอดจนแผนการยกเลิกคำสั่งคว่ำบาตรต่อเศรษฐกิจของอิหร่าน ซึ่งก่อนถึงกำหนดเส้นตายสำหรับข้อตกลงทางการเมืองขั้นพื้นฐานเพื่อแก้ไขปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่าน การเจรจาระหว่างกลุ่มพี5+1และเตหะรานยังคงดำเนินต่อไปอย่างเร่งรีบและหนึ่งในสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่าการเจรจาเกี่ยวกับกับปัญหานี้จะต้องไปถึงนาทีสุดท้ายคือ เมื่อวันที่30มีนาคมรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐจอห์นแคร์รี่ได้ยกเลิกแผนการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆที่เมืองบอสตันเพื่อเข้าร่วมการเจรจาเรื่องนิวเคลียร์ของอิหร่านต่อไปที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ส่วนบรรดานักเจรจาฝ่ายตะวันตกได้แสดงความหวังเกี่ยวกับการบรรลุข้อตกลงกับอิหร่าน ในขณะที่นักเจรจาชั้นนำของอิหร่าน อาบบาส อาราจี ได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่ข้อตกลงนิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านกับกลุ่มพี5+1จะได้รับการลงนามเพราะเหลือเพียง2-3ปัญหาที่ต้องแก้ไขเท่านั้น

แรงกดดันและอุปสรรค

ถึงอย่างไรก็ดี เส้นทางที่นำไปสู่ข้อตกลงนั้นยังต้องเผชิญอุปสรรคในบางด้าน โดยที่สหรัฐทางการของนายโอบามากำลังต้องรับมือกับการขัดขวางการลงนามข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่านจากรัฐสภาที่ฝ่ายริพับลิกันครองเสียงข้างมาก ซึ่งกลุ่มสส.และสว.สหรัฐได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงทำเนียบขาวเพื่อเรียกร้องให้มีจุดยืนที่แข็งกร้าวมากขึ้นในทุกข้อตกลงกับอิหร่านพร้อมทั้งได้มีแผนการลงมติร่างรัฐบัญญัติใหม่ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังมีกลุ่มสว.พรรคริพับลิกันอีกกลุ่มได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงผู้นำอิหร่านเพื่อเตือนว่าไม่ว่าจะเป็นข้อตกลงใดๆก็อาจถูกปรับปรุงหรือยกเลิกเมื่อประธานาธิบดีโอบามาหมดวาระในต้นปี2017

ส่วนที่อิหร่าน ฝ่ายอนุรักษ์นิยมก็พยายามขัดขวางกระบวนการลงนามข้อตกลงนิวเคลียร์ด้วยการตำหนิวิธีการแก้ไขปัญหาของประธานาธิบดีฮัสซาน โรว์ฮานีในการเจรจากับฝ่ายตะวันตกและเรียกร้องให้ฝ่ายตะวันตกยุติทุกมาตรการคว่ำบาตรเมื่อทั้งสองฝ่ายบรรลุข้อตกลงอย่างเป็นทางการซึ่งนับเป็นข้อต่อรองที่ฝ่ายตะวันตกยากจะตอบสนองได้

ยากที่จะให้ฝ่ายต่างๆถอนคนละก้าว

ทั้งนี้แม้จะต้องประสบกับอุปสรรคต่างๆแต่นักวิเคราะห์ระหว่างประเทศก็ยังมีความเห็นว่าโอกาสที่จะบรรลุข้อตกลงเพื่อยุติวิกฤตในปัจจุบันนั้นมีความเป็นไปได้สูงมากกว่าก่อนเพราะแรงกดดันและอุปสรรคต่างๆยิ่งทำให้สหรัฐกับอิหร่านตั้งใจที่จะบรรลุข้อตกลงนี้ให้ได้ก่อนกำหนดเส้นตาย ซึ่งในสภาวการณ์ปัจจุบัน ข้อตกลงนี้จะเอื้อประโยชน์ให้แก่หลายฝ่าย โดยสำหรับอิหร่านจะสามารถให้ปฏิบัติกิจกรรมนิวเคลียร์พลเรือนตามปกติและสอดคล้องกับสนธิสัญญาไม่เผยแพร่อาวุธนิวเคลียร์แถมยังได้รับการผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจจากฝ่ายตะวันตกด้วย  ส่วนทางด้านประเทศตะวันตกนั้น การขยายผลมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านก็สร้างความเสียหายให้แก่ตนเองไม่น้อยเพราะอิหร่านเป็นตลาดที่มีศักยภาพมากมายด้านทรัพยากรและก๊าซธรรมชาติที่ภาคอุตสาหกรรมตะวันตกยังไม่สามารถเข้าถึง ในขณะที่ทางฝ่ายสหรัฐ การลงนามข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่านจะช่วยยุติช่วงเวลาที่ตึงเครียดเพื่อเปิดทางให้แก่ระยะแห่งความร่วมมือใหม่กับโลกอิสลามและการได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านในกระบวนการต่อต้านกองกำลังรัฐอิสลามหรือไอเอสจะอำนวยความสะดวกให้แก่สหรัฐกับกองกำลังพันธมิตร

ทั้งนี้จากสภาวการณ์ปัจจุบันได้แสดงให้เห็นว่าปัญหาของอิหร่านยากที่จะยืดเยื้อออกไปอีกเพราะประธานาธิบดีโอบามาเหลือเวลาอีกไม่นานในการเจรจากับอิหร่านเพราะข้อตกลงดังกล่าวจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปลายปี2016และส่งผลกระทบต่อสถานะของสหรัฐในตะวันออกกลางและบนเวทีโลก ในขณะเดียวกันอิหร่านก็ไม่อยากพลาดโอกาสนี้เพื่อผสมผสานเข้ากับประชาคมโลกเพื่อการพัฒนา ดังนั้นถ้าหากข้อตกลงดังกล่าวล้มเหลวก็อาจจะนำไปสู่การแข่งขันด้านอาวุธนิวเคลียร์ในตะวันออกกลางและทำให้สถานการณ์ในเขตนี้ไร้เสถียรภาพมากขึ้น ซึ่งนี่คือสิ่งที่ทั้งสหรัฐและฝ่ายตะวันตกไม่อยากให้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่การเจรจาเกี่ยวกับปัญหานิวเคลียร์ที่สวิสเซอร์แลนด์ครั้งนี้จึงถูกคาดการณ์ไว้ว่าจะมีการประนีประนอมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในนาทีสุดท้าย./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด