การเลือกตั้งก่อนกำหนดในญี่ปุ่น- ก้าวเดินที่สำคัญของนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ
Hong Van- VOV5 -  
(VOVWORLD) -วันนี้28กันยายน รัฐสภาญี่ปุ่นได้อนุมัติมติเกี่ยวกับการยุบสภาล่าง ซึ่งเปิดทางให้แก่การเลือกตั้งก่อนกำหนดที่คาดว่าจะมีขึ้นในวันที่20ตุลาคมนี้ อันจะสร้างเงื่อนไขที่เอื้อให้นายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะได้รับชัยชนะและดำรงตำแหน่งอีกสมัยเพื่อแก้ไขอุปสรรค์ต่างๆในปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ดี รัฐบาลชุดใหม่หลังการเลือกตั้งของญี่ปุ่นจะต้องเผชิญกับความท้าทายไม่น้อยทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ชินโซ อาเบะ (Photo: AFP/TTXVN) |
คำเรียกร้องให้จัดการเลือกตั้งก่อนกำหนดของนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะได้มีขึ้นเมื่อวันที่25กันยายน ซึ่งนาย ชินโซ อาเบะได้ย้ำว่า การตัดสินใจดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อการรับมือกับภัยคุกคามจากเปียงยาง พร้อมทั้ง ให้คำมั่นที่จะเพิ่มแรงกดดันต่อเปียงยางเพื่อยุติการพัฒนาโครงการนิวเคลียร์และขีปนาวุธ
การใช้ความได้เปรียบ
ต้องยืนยันว่า การยุบสภาล่างเพื่อจัดการเลือกตั้งก่อนกำหนดของนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ เป็นการตัดสินใจที่ชาญฉลาดในสภาวการณ์ที่คะแนนนิยมในตัวรัฐบาลกำลังเพิ่มสูงขึ้นและสถานการณ์ของพรรคฝ่ายค้านในญี่ปุ่นกำลังไร้เสถียรภาพ ตามผลการสำรวจประชามติของหนังสือพิมพ์รายวันนิกเกอิที่ประกาศเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ระบุว่า ถ้าหากการเลือกตั้งทั่วไปถูกจัดขึ้นในช่วงเวลานี้ อัตราผู้ที่สนับสนุนพรรคประชาธิปไตยหรือLDPของนายกรัฐมนตรีชินโซอาเบะจะอยู่ที่ร้อยละ44 ส่วนพรรคฝ่ายค้านที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นจะได้เพียงร้อยละ8 ซึ่งถือเป็นอัตราที่น่าพอใจเพราะก่อนหน้านั้น2เดือน คะแนนนิยมในตัวนาย ชินโซ อาเบะลดลงต่ำกว่าร้อยละ30เนื่องจากข้อกล่าวหาว่า ตัวเขาทำการแทรกแซงเพื่อช่วยเหลือเพื่อนจัดตั้งคณะวิชาใหม่ในมหาวิทยาลัย แต่คะแนนนิยมในตัวนาย ชินโซ อาเบะกลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังการปรับคณะรัฐมนตรีเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาและท่าทีของรัฐบาลญี่ปุ่นต่อการทดลองนิวเคลียร์และขีปนาวุธของเปียงยาง นอกจากนี้ อัตราการขยายตัวด้านเศรษบกิจของญี่ปุ่นก็มีส่วนร่วมช่วยเพิ่มคะแนนนิยมให้แก่นายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะในปัจจุบัน ตามข้อมูลสถิติ จีดีพีของญี่ปุ่นในระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายนได้เพิ่มร้อยละ2.5 ซึ่งสูงกว่าการพยากรณ์ของบรรดานักวิเคราะห์ นั่นหมายความว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องใน6ไตรมาส ในขณะเดียวกัน พรรคประชาธิปไตย ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านกำลังเผชิญกับความไร้เสถียรภาพเนื่องจากคะแนนนิยมอยู่ในระดับต่ำและมีสมาชิกพรรคหลายคนถอนตัวออกจากพรรค
การลงคะแนนอนุมัติร่างกฎมายในวุฒิสภาญี่ปุ่นเมื่อวันที่17กันยายน (Photo: Reuters) |
ความท้าทายที่กำลังรอคอย
แม้พรรคใดจะได้รับชัยชนะแต่ญี่ปุ่นก็ต้องเผชิญกับความท้าทายใหญ่ 1คือ ปัญหาประชากรสูงอายุ ซึ่งถือเป็นปัญหาที่เร่งด่วนในปัจจุบันและส่งผลกระทบต่อการพัฒนาด้านต่างๆของญี่ปุ่น เช่น เศรษฐกิจและสังคม นายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ เคยกล่าวว่า หนึ่งในวิกฤตของญี่ปุ่นคือประชากรสูงอายุและการลดลงของประชากรซึ่งทำให้ญี่ปุ่นขาดแคลนแรงงาน รายงานเศรษฐกิจและการเงินของปีงบประมาณ2017ที่รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศได้แสดงให้เห็นว่า การขาดแคลนแรงงานเป็นหนึ่งในข้อจำกัดที่ญี่ปุ่นต้องแก้ไขถ้าอยากบรรลุเป้าหมายรักษาอัตรการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เพิ่มผลผลิตและควบคุมภาวะเงินฝืด ตามข้อมูลสถิติ ญี่ปุ่นกำลังกลายเป็นประเทศที่มีประชากรสูงอายุมากที่สุด โดยมีประชากรร้อยละ28ที่มีอายุมากกว่า65ปี
ความท้าทายอันดับ2คืออัตราหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอยู่ที่กว่า9.4ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี2016 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า งบประมาณด้านสวัสดิการสังคมของญี่ปุ่นนับวันเพิ่มมากขึ้นในสภาวการณ์ที่ประชากรญี่ปุ่นนับวันมีอายุสูงขึ้น บรรดาผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจได้เตือนว่า ญี่ปุ่นต้องพยายามลดหนี้สาธารณะเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากวิกฤตเศรษฐกิจ
ความท้าทายที่3คืออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ช้าลง ซึ่งญี่ปุ่นได้ธำรงอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจใน6ไตรมาสที่ติดต่อกัน นี่เป็นผลงานที่ดีที่สุดในรอบ10ปีที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ดี อัตราการขยายตัวของญี่ปุ่นยังต่ำกว่าเมื่อเทียบกับคู่แข่งในภูมิภาคเอเชีย สิ่งที่น่าสนใจคือ รายงานเกี่ยวกับทักษะความสามารถในการแข่งขันในโลกในช่วงปี2017-2018ที่ฟอรั่มเศรษฐกิจโลกประกาศเมื่อวันที่27กันยายนที่ผ่านมาปรากฎว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นถูกปรับลด1อันดับลงมาอยู่อันดับที่9 ในขณะที่เศรษฐกิจอื่นๆในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกได้เลื่อนขึ้นอันดับ การปรับลดอันดับของเศรษฐกิจญี่ปุ่นเนื่องจากอัตราหนี้สาธารณะในระดับสูง ปัญหาภาวะเงินฝืดและตลาดแรงงานที่ขาดความคล่องตัวแม้โครงสร้างพื้นฐานและระดับการศึกษาของแรงงานในญี่ปุ่นจะอยู่ในระดับสูงก็ตาม
การตัดสินใจยุบสภาล่างญี่ปุ่นและจัดการเลือกตั้งก่อนกำหนดเป็นความพยายามของนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะเพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพของรัฐบาลและปฏิบัติเป้าหมายต่างๆที่ตัวเขาได้ให้คำมั่นไว้นับตั้งแต่กลับเข้ามาบริหารประเทศ แต่อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นก็ต้องเผชิญกับอุปสรรคไม่น้อย.
Hong Van- VOV5