ครบรอบ 1,000 วันการปะทะระหว่างรัสเซียกับยูเครนกับความหวังในมาตรการทางการทูต

(VOVWORLD) -วันที่ 19 พฤศจิกายนปีนี้ ครบรอบ 1,000 วันที่เกิดการปะทะระหว่างรัสเซียกับยูเครน แม้การปะทะยังคงมีความผันผวนที่ยากจะคาดเดาได้ แต่ก็ได้ปรากฎสัญญาณความหวังใหม่เกี่ยวกับการยุติการปะทะผ่านมาตรการทางการทูต

ครบรอบ 1,000 วันการปะทะระหว่างรัสเซียกับยูเครนกับความหวังในมาตรการทางการทูต - ảnh 1เกิดเหตุไฟไหม้หลังการโจมตีด้วยขีปนาวุธของรัสเซีย ณ กรุงเคียฟ ประเทศยูเครน เมื่อวันที่ 2 มกราคมปี 2024  (Photo: Reuters) 

การปะทะระหว่างรัสเซียกับยูเครนเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ปี 2022 โดยกองทัพรัสเซียประกาศเปิดยุทธนาการทางทหารพิเศษในดินแดนของยูเครน ซึ่งการปะทะที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ส่งผลกระทบอย่างนักด้านความมั่นคง ภูมิศาสตร์การเมืองและเศรษฐกิจต่อทั้งยุโรปและโลก

 ความหวังใหม่

ภายหลังเกือบ 3 ปีที่เกิดการปะทะ โอกาสเกี่ยวกับการยุติการปะทะด้วยมาตรการทางทหารมีความเปราะบางมากเพราะทั้งรัสเซียและยูเครนต่างกำลังติดหล่มในสงครามที่ต้องเผชิญกับความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน สำหรับด้านการเมือง ทั้งสองฝ่ายยังประกาศว่า จะไม่ประนีประนอมต่อข้อเสนอของอีกฝ่าย แต่อย่างไรก็ดี ความชะงักงันด้านการทูตกำลังมีสัญญาณที่จะถูกทำลายหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นชัยชนะครั้งใหญ่ของนาย โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งมีจุดยืนเกี่ยวกับการปะทะในยูเครนที่แตกต่างจากทางการประธานาธิบดี โจ ไบเดน ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ได้คัดค้านหลายครั้งต่อการเพิ่มความช่วยเหลือทางทหารให้แก่ยูเครน พร้อมทั้งประกาศว่า จะยุติการปะทะในยูเครนภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากที่ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ ซึ่งนาย โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ยืนยันคำมั่นดังกล่าวอีกครั้งเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน โดยย้ำว่า ต้องยุติการปะทะระหว่างรัสเซียกับยูเครน ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน หนังสือพิมพ์ The Washington Post ได้รายงานข่าวว่า นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ได้มีการพูดคุยผ่านทางโทรศัพท์กับประธานานธิบดีรัสเซีย วลาดีเมียร์ ปูติน เพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหายูเครน ซึ่งฝ่ายรัสเซียไม่ได้แสดงท่าที่ต่อข้อมูลดังกล่าว

ปฏิบัติการล่าสุดของว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐได้สร้างการเปลี่ยนแปลงแนวคิดของประเทศ พันธมิตรในองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโต้ที่ยืนหยัดนโยบายที่แข็งกร้าวกับรัสเซีย  ซึ่งน่าสนใจที่สุดคือเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน นาย โอลาฟ ชอลซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนีได้พูดคุยผ่านทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดี ปูติน นับเป็นครั้งแรกภายหลังกว่า 2 ปีที่ผู้นำประเทศตะวันตกมีการเจรจาผ่านทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีรัสเซีย  ซึ่งสร้างความแปลกใจให้แก่ประเทศพันธมิตร นายกรัฐมนตรีเยอรมนียืนหยัดปกป้องการตัดสินใจดังกล่าว โดยเห็นว่า

“ตามจุดยืนของผม นี่จะไม่ใช่ความคิดริเริ่มที่ดีถ้าหากมีการหารือระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐกับประธานาธิบดีรัสเซียในอนาคตแต่ผู้นำประเทศที่สำคัญในยุโรปไม่ทำการเจรจา มีบางคนในเยอรมนีเห็นว่า นี่เป็นเรื่องที่ดีแต่ผมเองไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้”

แม้ตำหนินายกรัฐมนตรี โอลาฟ ชอลซ์ ว่า สร้างความได้เปรียบในการเจรจาให้แก่รัสเซียแต่บรรดาผู้สังเกตการณ์เห็นว่า ทางการยูเครนกำลังเปลี่ยนแปลงจุดยืน โดยภายหลังการพูดคุยผ่านทางโทรศัพท์ระหว่างผู้นำรัสเซียกับเยอรมนี นาย โวโลดิมีร์ เซเลนสกี  ประธานาธิบดียูเครน ได้ประกาศผ่านทางสถานีวิทยุยูเครนว่า ยูเครนต้องยุติการปะทะในปี 2025 ผ่านมาตรการทางการทูต ซึ่งประกาศดังกล่าวถือเป็นการเปลี่ยนแปลงจุดยืนของยูเครนเพราะก่อนหน้านั้น ผู้นำยูเครนยืนยันหลายครั้งว่า จะไม่ทำการสนทนาจนกว่าประธานาธิบดี วลาดีเมียร์ ปูติน จะลงจากอำนาจ 

ครบรอบ 1,000 วันการปะทะระหว่างรัสเซียกับยูเครนกับความหวังในมาตรการทางการทูต - ảnh 2นาย โอลาฟ ชอลซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนีได้พูดคุยผ่านทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดี ปูติน (Photo: Getty Images)

ความเสี่ยงที่การปะทะยังคงรุนแรงมากขึ้น

แม้จะมีความคาดหวังที่เปราะบางเกี่ยวกับการฟื้นฟูการสนทนาเพื่อแก้ไขการปะทะผ่านมาตรการทางการทูต แต่ยังคงมีความเสี่ยงสูงที่การปะทะระหว่างรัสเซียกับยูเครนจะรุนแรงมากขึ้น ซึ่งข่าวเกี่ยวกับการที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีส่งทหารไปยังรัสเซียและเมื่อเร็วๆนี้ ทางการของประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดน อนุญาตให้กองทัพยูเครนใช้อาวุธพิสัยไกลที่สหรัฐมอบให้กำลังสร้างความวิตกกังวลว่า การปะทะอาจจะรุนแรงมากขึ้น ก่อนหน้านั้น ผู้นำรัสเซียได้เตือนหลายครั้งว่า ปฏิบัติการในลักษณะดังกล่าวหมายความว่า นาโต้กำลังแทรกแซงการปะทะและเป็นการบังคับให้รัสเซียต้องตอบโต้  เช้าวันที่ 19 พฤศจิกายน  นาย วลาดีเมียร์  ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียได้ลงนามกฤษฎีกาเกี่ยวกับการแก้ไขหลักคิดเกี่ยวกับนิวเคลียร์ ซึ่งตามนั้น การบุกรุกโดยประเทศที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งมีการเข้าร่วมหรือได้รับการช่วยเหลือของประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครองจะถือเป็นการโจมตีใส่รัสเซีย นอกจากนี้ รัสเซียอาจตอบโต้ด้วยอาวุธนิวเคลียร์เมื่อมีภัยคุกคามที่รุนแรงต่ออธิปไตยของประเทศ รัสเซียก็จะตอบโต้ทุกการโจมตีด้วยอาวุธธรรมดาใส่เบลารุส ในฐานะสมาชิกของรัฐสหภาพ หรือมีการส่งเครื่องบินทางทหาร ใช้ขีปนาวุธนำวิถี เครื่องบินไร้คนขับและโดรนบุกรุกดินแดนของรัสเซีย

แต่อย่างไรก็ดี บรรดาผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า แม้จะมีความเสี่ยงสูงเกี่ยวกับการปะทะที่รุนแรงมากขึ้น แต่ฝ่ายตะวันตกยังตระหนักถึงเส้นสีแดง และไม่ยอมรับให้กองทัพยูเครนมีปฏิบัติการที่อันตราย ดังนั้น การที่ยูเครนอาจใช้อาวุธที่ฝ่ายตะวันตกสนับสนุนเพื่อโจมตีเข้าดินแดนของรัสเซียกำลังมีปฏิบัติการที่มีลักษณะทางการเมืองมากกว่า   บรรดาผู้สังเกตการณ์เห็นว่า ปฏิกิริยาของรัสเซียต่อการเพิ่มความช่วยเหลือทางทหารให้แก่ยูเครนในช่วงสุดท้ายของวาระประธานาธิบดี โจ ไบเดน เป็นสิ่งที่น่าสนใจเพราะถ้าหากรัสเซียมีปฏิบัติการที่เข้มแข็ง การฟื้นฟูการสนทนาเพื่อแสวงหามาตรการทางการทูตเพื่อแก้ไขการปะทะนี้หลังจากที่นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ขึ้นดำรงตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคมปีหน้าจะยากขึ้นแม้นาย โดนัลด์ ทรัมป์ เป็นผู้ที่สนับสนุนการยุติการปะทะก็ตาม.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด