ประเทศต่างๆผลักดันมาตรการเพื่อรับมือภาวะเศรษฐกิจถดถอย

(VOVWORLD) -ผลกระทบจากหลายปัจจัยที่ไม่เอื้ออำนวย  โดยเฉพาะภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้เศรษฐกิจต่างๆต้องเผชิญกับความเสี่ยงต่อการหดตัวของเศรษฐกิจหรือแม้กระทั่งอาจตกเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย  จากสถานการณ์ดังกล่าว เศรษฐกิจใหญ่ต่างๆได้ปฏิบัติแผนการรับมืออย่างเข้มแข็ง

ประเทศต่างๆผลักดันมาตรการเพื่อรับมือภาวะเศรษฐกิจถดถอย - ảnh 1WB ลดการพยากรณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกและเตือนว่า หลายประเทศอาจตกเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีนี้   (Photo: Reuters)

ตามรายงานอัพเดทศักยภาพเศรษฐกิจโลกล่าสุดที่ประกาศเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคารโลกหรือ WB ได้เตือนว่า เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น  เศรษฐกิจต่างๆมีความเสี่ยงที่จะตกเข้าสู่ภาวะถดถอย  ซึ่งปัจจัยต่างๆได้ส่งผลกระทบต่อศักยภาพเศรษฐกิจโลกได้แก่ การปะทะในยูเครน มาตรการล็อกดาวน์เพื่อป้องกันและรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ในประเทศจีน การชะงักงันของห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น WB  ได้ลดการพยากรณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกในปี 2022 ลงเหลือร้อยละ 2.9 ซึ่งต่ำกว่าการพยากรณ์เมื่อปีที่แล้วคือร้อยละ 5.7 และต้นปีนี้คือร้อยละ 4.1

การรับมือของเศรษฐกิจต่างๆ

จากสถานการณ์ดังกล่าว เศรษฐกิจต่างๆได้ปฏิบัติมาตรการรับมืออย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะการปรับเพิ่มดอกเบี้ย โดยเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคารกลางยุโรปหรือ ECB ได้ประกาศว่า จะเพิ่มดอกเบี้ยขึ้นอีกร้อยละ 0.25 ในต้นเดือนกรกฎาคมนี้ ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มดอกเบี้ยครั้งแรกของ ECB นับตั้งแต่ปี 2011  ยุติการปฏิบัตินโยบายผ่อนปรนทางการเงิน   หลังจากนั้น คาดว่า การปรับเพิ่มดอกเบี้ยครั้งต่อไปของECB จะมีขึ้นในเดือนกันยายนนี้

อัตราเงินเฟ้อในเขตยูโรโซนในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 8.1  ซึ่งสูงกว่า 4 เท่าเมื่อเทียบกับตัวเลขคาดการณ์ของ ECB คือร้อยละ 2 ในเดือนที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อใน 14 เศรษฐกิจจากจำนวนทั้งหมด 19 เศรษฐกิจสมาชิกของเขตยูโรโซนอยู่ที่กว่าร้อยละ 8.1  ซึ่งอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงได้ทำให้ ECB  ต้องปรับลดการพยากรณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของเขตยูโรโซนในปี 2022 จากร้อยละ 3.7  เป็นร้อยละ 2.8

ก่อนหน้านั้น ธนาคารกลางสหรัฐและอังกฤษและเศรษฐกิจใหญ่อื่นๆได้มีก้าวเดินในลักษณะเดียวกัน เช่นธนาคารกลางสหรัฐหรือ FED ได้ปรับเพิ่มดอกเบี้ย โดยคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ หรือ FOMC ได้ตัดสินใจเพิ่มดอกเบี้ยขึ้นร้อยละ 0.5 มาอยู่ที่ร้อยละ 0.75 และร้อยละ 1 ในวันที่ 4 พฤษภาคม ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มดอกเบี้ยที่น่าสนใจเพราะนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปี 2000 FED ไม่เคยปรับเพิ่มดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 0.25  นอกจากนี้ FED ยังมีแผนการปรับเพิ่มดอกเบี้ยครั้งต่อไปในวันที่ 15 มิถุนายน โดยอัตราการเพิ่มดอกเบี้ยจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และ0.75

ก็เหมือนกับยุโรปและเศรษฐกิจใหญ่ๆ สหรัฐ ซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกกำลังเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อร้อยละ 8.6 ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1981 ตามผลการสำรวจที่จัดโดยธนาคาร Deutsche Bank ที่ประกาศเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา นักลงทุนร้อยละ 65 ได้พยากรณ์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะตกอยู่ในภาวะถดถอยในปี 2023

นอกจากการปรับเพิ่มดอกเบี้ย เศรษฐกิจต่างๆยังปฏิบัติมาตรการรับมืออื่น ๆ ด้วย เช่น การปรับลดค่าใช้จ่าย  โดยเฉพาะ บางประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในประเทศเอเชียได้จำกัดการส่งออกสินค้าที่จำเป็น โดยเฉพาะอาหาร

ศักยภาพ

ปัจจุบัน เศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญกับอุปสรรคต่างๆ แต่อย่างไรก็ดี รายงานที่เกี่ยวข้องได้ชี้ชัดถึงหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจโลกยังคงมีที่พึ่งและพื้นฐานที่ดี หนึ่งคือ เศรษฐกิจรายใหญ่อันดับสองของโลกคือจีนกำลังมีสัญญาณในเชิงบวก โดยกิจกรรมการค้าของจีนในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาได้กลับมาฟื้นฟูอย่างเข้มแข็ง โดยการส่งออกได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วและสูงกว่าอัตราการส่งออกในเดือนเมษายนคือร้อยละ 3.9

นอกจากนี้ รายงานต่างๆได้ให้ข้อสังเกตว่า การชะงักงันของห่วงโซ่อุปทานโลกมีสัญญาณลดลงเมื่อราคาเซมิคอนดักเตอร์ ปุ๋ยและค่าขนส่งตู๋คอนเทนเนอร์ได้ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงกลางปีที่แล้วและต้นปีนี้

โดยเฉพาะ ผู้เชี่ยวชาญบางคนและสถาบันการเงินเห็นว่า อัตราภาวะเงินเฟ้อของโลกได้อยู่ในระดับสูงสุด  ซึ่งก็หมายว่า ระยะที่เลวร้ายที่สุดของเศรษฐกิจโลกได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่อย่างไรก็ดี บรรดาผู้เชี่ยวชาญและนักวางนโยบายเตือนว่า ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจต่างๆยังอยู่ในระดับสูง ดังนั้น เศรษฐกิจต่างๆต้องเพิ่มความระมัดระวัง และเตรียมพร้อมแผนการรับมือที่จำเป็น.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด