เวียดนามสนทนาอย่างตรงไปตรงมาและเปิดเผยเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
Hồ Điệp -  
(VOVworld) – “รายงานแห่งชาติของเวียดนามได้จัดสรรคข้อมูลในทุกด้านอย่างสมบูรณ์และหลาก มิติซึ่งสามารถระบุให้เห็นถึงผลสำเร็จในทุกด้านของเวียดนามในตลอด 4 ปีที่ผ่านมา”
(VOVworld) – “รายงานแห่งชาติของเวียดนามได้จัดสรรคข้อมูลในทุกด้านอย่างสมบูรณ์และหลากมิติซึ่งสามารถระบุให้เห็นถึงผลสำเร็จในทุกด้านของเวียดนามในตลอด 4 ปีที่ผ่านมา” นี่คือความเห็นของประเทศที่เข้าร่วมการประชุมกลุ่มปฏิบัติงานเกี่ยวกับรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศหรือ UPR ของสภาสิทธิมนุษยชน ณ เมืองเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ตามการประเมินของกลุ่มปฏิบัติงาน รายงานของเวียดนามได้แสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติที่จริงจัง เปิดเผยและความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพของเวียดนามในด้านสิทธิมนุษยชน
คณะผู้แทนเวียดนามที่เข้าร่วมการประชุมเกี่ยวกับ UPR
|
ก่อนอื่น การอนุมัติรายงานแห่งชาติตามกระบวนการ UPR รอบที่ 2 ของเวียดนาม ณ เมืองเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ได้แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่น การให้ความสำคัญของประชาคมโลกและสภาสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติต่อเวียดนามในด้านสิทธิมนุษยชน
ผลงานด้านสิทธิมนุษยชนไม่สามารถปฏิเสธได้
โดยความเชื่อมั่นดังกล่าวอาศัยบนพื้นฐานผลงานด้านสิทธิมนุษยชนในเวียดนาม การรวบรวมและปฏิบัติความคิดเห็นของประชาคมโลกตามข้อเสนอในที่ประชุมกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนรอบที่ 1 ของสหประชาชาติเมื่อปี 2009 ซึ่งนั่นคือการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและเข้มแข็งข้อเสนอ 96 ข้อจากทั้งหมด 123 ข้อตามข้อกำหนดของ UPR รวมทั้งการเพิ่มความสมบูรณ์ระบบกฎหมาย ร่างและปฏิบัตินโยบายเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ผลักดันการแก้ปัญหาความยากจน พัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน รักษาสวัสดิการสังคม ค้ำประกันสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มที่ด้อยโอกาสในสังคม
ผลงานที่โดดเด่นอีกอย่างคือ เวียดนามได้อนุมัติรัฐธรรมนูญปี 2013 ซึ่งในนั้น ได้มีการระบุถึงสิทธิมนุษยชนอย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น สร้างพื้นฐานให้แก่นโยบายและมาตรการต่างๆเพื่อปฏิบัติสิทธิมนุษยชนในสถานการณ์ที่เป็นจริงให้ดียิ่งขึ้น การเพิ่มเติมและประกาศใช้เอกสารกฎหมายที่สำคัญต่างๆ เช่น กฎหมายที่ดิน กฎหมายสหภาพแรงงาน กฎหมายการร้องเรียน กฎหมายการเปิดโปง กฎหมายคนพิการและกฎหมายทนายความ เป็นต้น ได้ช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ระบบกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในเวียดนาม ด้านการค้ำประกันสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมือง ดันชนีทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคม การแก้ปัญหาความยากจนที่เวียดนามได้ปฏิบัติในหลายปีที่ผ่านมาได้ประสบผลเป็นที่น่ายินดีซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาเศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคม การดูแลเอาใจใส่ชีวิตทั้งด้านวัตถุและจิตใจของประชาชนได้รับการปฏิบัติให้ดีขึ้น
ความเชื่อมั่นดังกล่าวยังสะท้อนให้เห็นจากการประเมินของประชาคมโลกในเวลาที่ผ่านมา นั่นคือการที่ประเทศสมาชิกอาเซียนชื่นชมส่วนร่วมของเวียดนามต่อการจัดตั้งและการปฏิบัติงานของคณะกรรมการร่วมรัฐบาลอาเซียนเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและเสนอให้เวียดนามมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งต่อไปในการปฏิบัติแถลงการณ์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนอาเซียน การที่เวียดนามได้รับเลือกเป็นสมาชิกของสภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติวาระปี 2014-2016 เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายนปี 2013 ด้วยเสียงสนับสนุนสูงที่สุด ตลอดจนในกรอบการเยือนเวียดนามเมื่อเดือนมกราคมปี 2013 นาง ฟาร์รีดา ซาเฮด ตัวแทนพิเศษของสหประชาชาติเกี่ยวกับวัฒนธรรมได้กล่าวว่า “ดิฉันประทับใจเป็นอย่างยิ่งต่อความคืบหน้าด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ การแก้ปัญหาความยากจนในเขตชนบท เขตทุรกันดารและให้ความสำคัญต่อผลงานที่เวียดนามได้บรรลุในการรักษาและส่งเสิรมสิทธิด้านวัฒนธรรมให้แก่ประชาชนทุกคน”
เพื่อนมิตรชาวต่างชาติอวยพรเวียดนามที่ได้ัรับเลือกเป็นสมาชิกของสภาสิทธิมนุษยชน
|
การสนทนาอย่างตรงไปตรงมา
ประชาคมโลกมีมุมมองที่จริงจัง ตรงไปตรงมาและมีเหตุมีผลเกี่ยวกับการปฏิบัติสิทธิมนุษยชนของเวียดนาม แต่ก็ยังมีเสียงพูดที่ขาดภาวะวิสัยเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในเวียดนามด้วยเป้าหมายและเจตนาที่แตกต่างกัน บุคคลและองค์กรเหล่านี้ได้จงใจหาทางโดยมองข้ามความพยายามของเวียดนามในการผลักดันสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพของประชาชนซึ่งถือเป็นเรื่องที่ไม่ยุติธรรมเพราะในการประเมินเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในเวียดนามต้องมีการมองอย่างมีภาวะวิสัยและจริงจังตามสภาวการณ์ของแต่ละประเทศ มิใช่การยัดเยียดความเห็นของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
การอนุมัติรายงานแห่งชาติเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนรอบที่ 2 ของเวียดนามได้แสดงให้เห็นอีกครั้งถึงความโปร่งใส จิตใจแห่งการสนทนาที่ตรงไปตรงมา เปิดเผย จริงใจและมีความรับผิดชอบของเวียดนาม
นาง Pratibha Mehta ผู้ประสานงานของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำเวียดนามได้แสดงความเห็นว่า “ดิฉันมีความปลื้มปิติยินดีเพราะรัฐบาลเวียดนามกำลังใช้ระเบียบการ UPR ที่สภาสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติกำหนดตรงตามเป้าหมาย นั่นคือการใช้ระเบียบการสนทนาระหว่างทุกภาคส่วนในสังคมเพื่อหารือถึงปัญหาและความท้าทายเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน” และนี่คือความเป็นจริงในเวียดนาม./.
Hồ Điệp