(VOVworld) – การประชุมรัฐมนตรีลุ่มแม่น้ำโขง–สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่๔ ที่เสร็จสิ้นลง ที่สาธารณรัฐเกาหลี เมื่อวันที่๒๙เดือนนี้มีผลสำเร็จที่สำคัญคือ อนุมัติแผนปฏิบัติการช่วงปี๒๐๑๔ถึงปี๒๐๑๗และกระบวนการใช้กองทุนแม่น้ำโขง–สาธารณรัฐเกาหลีซึ่งถือเป็นการพัฒนาที่สำคัญนับตั้งแต่กลไกความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง–สาธารณรัฐเกาหลีได้รับการจัดตั้งเมื่อปี๒๐๑๑ ในการประชุมครั้งนี้ เวียดนามได้ยืนยันถึงความพยายามในการผลักดันความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง–สาธารณรัฐเกาหลีพร้อมทั้งขยายความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ระหว่างเวียดนามกับสาธารณรัฐเกาหลี และระหว่างเวียดนามกับประเทศในเขตลุ่มแม่น้ำโขง
(VOVworld) – การประชุมรัฐมนตรีลุ่มแม่น้ำโขง–สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่๔ ที่เสร็จสิ้นลง ที่สาธารณรัฐเกาหลี เมื่อวันที่๒๙เดือนนี้มีผลสำเร็จที่สำคัญคือ อนุมัติแผนปฏิบัติการช่วงปี๒๐๑๔ถึงปี๒๐๑๗และกระบวนการใช้กองทุนแม่น้ำโขง–สาธารณรัฐเกาหลีซึ่งถือเป็นการพัฒนาที่สำคัญนับตั้งแต่กลไกความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง–สาธารณรัฐเกาหลีได้รับการจัดตั้งเมื่อปี๒๐๑๑ ในการประชุมครั้งนี้ เวียดนามได้ยืนยันถึงความพยายามในการผลักดันความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง–สาธารณรัฐเกาหลีพร้อมทั้งขยายความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ระหว่างเวียดนามกับสาธารณรัฐเกาหลี และระหว่างเวียดนามกับประเทศในเขตลุ่มแม่น้ำโขง
|
ท่านฝ่ามบิ่งมินห์รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศเวียดนาม( ขวาจัด)เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีลุ่มแม่น้ำโขง–สาธารณรัฐเกาหลี (Photo:Vietnam+) |
กลไกความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง–สาธารณรัฐเกาหลีได้รับการจัดตั้ง เมื่อปี๒๐๑๑ตามความคิดริเริ่มของสาธารณรัฐเกาหลีโดยมีกัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนามและสาธารณรัฐเกาหลีเข้าร่วม นับตั้งแต่การประชุมรัฐมนตรีลุ่มแม่น้ำโขง–สาธารณรัฐเกาหลีครั้งแรก ที่จัดขึ้น ที่กรุงโซล เมื่อปี๒๐๑๑มาจนถึงขณะนี้ กลไกความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง–สาธารณรัฐเกาหลีกำลังเกิดประสิทธิผลทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ
ปฏิญญาแม่น้ำฮันถึงแผนปฏิบัติการลุ่มแม่น้ำโขง–สาธารณรัฐเกาหลี
เมื่อเดือนตุลาคมปี๒๐๑๑ ที่ประชุมรัฐมนตรีลุ่มแม่น้ำโขง–สาธารณรัฐเกาหลีครั้งแรกได้อนุมัติปฏิญญาแม่น้ำฮันเกี่ยวกับการสถาปนา“ความสัมพันธ์หุ้นส่วนในทุกด้านระหว่างประเทศในเขตลุ่มแม่น้ำโขงกับสาธารณรัฐเกาหลีเพื่อความเจริญรุ่งเรือง”ที่ระบุความร่วมมือใน๓ด้านได้แก่ การเชื่อมโยงอาเซียน การพัฒนาอย่างยั่งยืน และการพัฒนาเพื่อมนุษย์ที่เน้นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทรัพยากรมนุษย์ เทคโนโลยีสารสนเทศ สิ่งแวดล้อม การบริหารทรัพยากรน้ำ การเกษตรและความมั่นคงด้านอาหาร ในที่ประชุมนี้ สาธารณรัฐเกาหลีได้ให้คำมั่น จะเพิ่มเงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาหรือโอดีเออีก๒เท่าให้แก่ประเทศอาเซียนจนถึงปี๒๐๑๕ โดยเฉพาะในเขตลุ่มแม่น้ำโขง
เมื่อปี๒๐๑๒ สาธารณรัฐเกาหลีได้จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือเพื่อให้ความช่วยเหลือโครงการพัฒนาต่างๆใน๕ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยจำนวนเงินของกองทุนนี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และถูกใช้เพื่อช่วยเหลือในรูปแบบทวิภาคีระหว่างสาธารณรัฐเกาหลีกับประเทศในเขตลุ่มแม่น้ำโขง ในที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศครั้งนี้ ที่กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี รัฐมนตรีต่างประเทศของ๖ประเทศได้อนุมติแผนปฏิบัติการ๓ปีเพื่อขยายความร่วมมือในหลายด้าน เช่น โครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาแห่งสีเขียว และเทคโนโลยีสารสนเทศ นายบุ่ยแทงเซิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามกล่าวว่า“๑คือ ขยายโครงการร่วมมือและเชื่อมโยงอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง โดยเฉพาะ การเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม โลจิสติกและพลังงานเพื่อผลักดันการเชื่อมโยงของเศรษฐกิจในภูมิภาค ๒คือโครงการเชื่อมโยงที่ใช้จุดแข็งของตนเพื่อสนับสนุนกันระหว่างประเทศในเขตลุ่มแม่น้ำโขงกับสาธารณรัฐเกาหลีในด้านการผลิต แปรรูปสินค้าการเกษตร การพัฒนาแห่งสีเขียว ๓คือ พัฒนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนรัฐ – เอกชนเพื่อส่งเสริมสถานประกอบการเข้าร่วมความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง–สาธารณรัฐเกาหลีอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น”
ตามแผนปฏิบัติการนี้ ในรอบ๓ปีที่จะถึง สาธารณรัฐเกาหลีจะจัดตั้งศูนย์วิจัยคมนาคมในเขตลุ่มแม่น้ำโขง รวมทั้งการช่วยเหลือ ด้านการปลูกป่าให้แก่ ๕ประเทศในเขตลุ่มแม่น้ำโขงผ่านองค์การร่วมมือป่าเอเชีย
โอกาสทองให้แก่ความร่วมมือ
ศักยภาพความร่วมมือระหว่างสาธารณรัฐเกาหลีกับประเทศอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงมีสูงมาก โดยเฉพาะ ค่าจ้างแรงงานที่ถูก มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ อัตราการพัฒนามีเสถียรภาพ
มีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน อย่างไรก็ดี ประเทศอาเซียนกำลังมุ่งสู่การสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียนภายในปี๒๐๑๕ซึ่งถือเป็นพลังขับเคลื่อนอันยิ่งใหญ่เพื่อให้ความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง–สาธารณรัฐเกาหลีพัฒนายิ่งขึ้น อาเซียนจะเป็นตลาดเดียวและประชาคมเศรษฐกิจกำลังเปิดโอกาสอันยิ่งใหญ่ให้แก่ประเทศอาเซียน โดยเฉพาะ ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงและนักลงทุนในเอเชีย รวมทั้งสาธารณรัฐเกาหลี จากการตระหนักได้ดีถึงสิ่งนี้ สาธารณรัฐเกาหลีได้พยายามผลักดันความร่วมมือเพื่อแปรโอกาสนี้ให้กลายเป็นความจริง รวมทั้งหน้าที่สำคัญคือ ขยายการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง
เวียดนามพยายามผลักดันกลไกความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง–สาธารณรัฐเกาหลี
จากการเป็นหนึ่งในประเทศที่สาธารณรัฐเกาหลีเข้ามาลงทุนมากที่สุด เวียดนามมีบทบาทสำคัญในการผลักดันความร่วมมือระหว่างลุ่มแม่น้ำโขงกับสาธารณรัฐเกาหลีอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เวียดนามเป็นสะพานเชื่อมช่วยผลักดันความสัมพันธ์ร่วมมือนี้ และเป็นจุดหมายปลายทางที่มีศักยภาพที่ได้รับการชื่นชมจากนักธุรกิจสาธารณรัฐเกาหลีและประเทศในภูมิภาค นายดั่งซวนกวาง รองอธิบดีกรมการลงทุนจากต่างประเทศแห่งกระทรวงวางแผนและการลงทุนกล่าวว่า“สาธารณรัฐเกาหลีเป็นหนึ่งในหุ้นส่วนนำหน้าในการลงทุนในเวียดนาม นักลงทุนใหญ่ๆของสาธารณรัฐเกาหลีได้ลงทุนโครงการใหญ่ๆในเวียดนามซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของพวกเขาต่อบรรยากาศการลงทุนในเวียดนาม”
ในกระบวนการผสมผสานเข้ากับโลกนับตั้งแต่เข้าร่วมความสัมพันธ์หุ้นส่วนเพื่อความเจริญรุ่งเรืองระหว่างประเทศลุ่มแม่น้ำโขงและสาธารณรัฐเกาหลี เวียดนามได้มีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งในความสัมพันธ์ร่วมมือนี้ ปี๒๐๑๔เป็นปีพบปะสังสรรค์แม่น้ำโขง–สาธารณรัฐเกาหลีและก็เป็นปีแรกที่ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง–สาธารณรัฐเกาหลีได้วางและปฏิบัติแผนปฏิบัติการลุ่มแม่น้ำโขง–สาธารณรัฐเกาหลี เวียดนามจะมีส่วนร่วมอย่างเข็มแข็งในการยกระดับประสิทธิภาพของกลไกความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง–สาธารณรัฐเกาหลีในเวลาข้างหน้า./.