(VOVWORLD) - เศรษฐกิจของเวียดนามกำลังเร่งบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ในปี 2022 จากการบรรลุอัตราการเติบโตร้อยละ 8.83 ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา โดยหน่วยงานหลายภาคส่วนได้ฟื้นฟูอย่างเข้มแข็งและบรรลุอัตราการเติบโตที่สูงกว่าช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะการเติบโตยังได้สะท้อนอย่างกว้างขวางในระดับท้องถิ่น
นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง เป็นประธานการประชุมออนไลน์ของรัฐบาลกับ 63 จังหวัดและนคร และการประชุมรัฐบาลประจำเดือนกันยายนปี 2022 (VNA) |
เศรษฐกิจเวียดนามกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งใน 3 ด้านคือการเกษตร อุตสาหกรรมและการบริการ ส่วนอัตราเงินเฟ้อได้รับการควบคุมอยู่ที่ร้อยละ 2.73
การเติบโตที่น่าประทับใจในระดับท้องถิ่น
นครโฮจิมินห์และกรุงฮานอยซึ่งเป็นหัวเรือของเศรษฐกิจของประเทศและก็เป็นท้องถิ่น 2 แห่งที่ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ต่างมีการเติบโตในระดับเลขสองหลักในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา ในขณะเดียวกันท้องถิ่นอีกหลายแห่งก็มีอัตราการเติบโต ที่น่าประทับใจ เช่น จังหวัดบั๊กนิงห์อยู่ที่ร้อยละ 9.7 จังหวัดหายเยืองอยู่ที่ร้อยละ 10.14 กว๋างนิงห์อยู่ที่ร้อยละ10.12 ไฮฟองอยู่ที่ร้อยละ 12.06 เกิ่นเทออยู่ที่ร้อยละ 17.57 และดานังอยู่ที่ร้อยละ 16.76 จังหวัดแค้งหว่ามีอัตราการเติบโตถึงร้อยละ 20.48 ในขณะที่จังหวัดบั๊กยางอยู่ที่ร้อยละ 23.98 ซึ่งในการประชุมออนไลน์ของรัฐบาลกับ 63 จังหวัดและนคร และการประชุมรัฐบาลประจำเดือนกันยายนปี 2022 ที่จัดขึ้นเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้บริหารของนครโฮจิมินห์ กรุงฮานอยและจังหวัดแค้งหว่ากล่าวว่า
“การเติบโตของนครโฮจิมินห์ในไตรมาสที่ 3 บรรลุร้อยละ 30.02 และในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาบรรลุร้อยละ 9.97 นอกจากนโยบายแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงทีและพร้อมเพรียงจากส่วนกลาง การบริหารที่เคร่งครัดของรัฐบาลและการเป็นฝ่ายรุกของนครฯในการปฏิบัติโครงการฟื้นฟูและการพัฒนาเศรษฐกิจแล้ว จิตใจที่เข้มแข็งและการฟันฝ่าความยากลำบาก ความคล่องตัว การมีความคิดสร้างสรรค์ของประชาชนและสถานประกอบการก็เป็นปัจจัยชี้ขาดต่อการฟื้นฟูและการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของนคร”
“การขยายตัวจีดีพีในไตรมาสที่ 3 ของกรุงฮานอยเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.71 และใน 9 เดือนที่ผ่านมาบรรลุร้อยละ 9.69 โดยภาคการบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.51 และภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.83”
“ใน 9 เดือนที่ผ่านมา เศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดแค้งหว่ามีการฟื้นตัวอย่างน่ายินดีและยังสามารถธำรงอัตราการเติบโตได้ เป้าหมายด้านเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นในระดับสูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว การเติบโตของจังหวัดฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.48 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม ยอดการขายปลีกสินค้าและรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ซึ่งจนถึงขณะนี้ ได้ทลุแผนการที่วางไว้ 103%”
นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง ให้การต้อนรับนาง Era Dabla-Norris หัวหน้าคณะตรวจสอบในด้านเศรษฐกิจมหภาค การเงินและสกุลเงินของประเทศสมาชิกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (qdnd.vn) |
เวียดนามได้รับการคาดการณ์ว่าจะอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราการเติบโตสูงสุดในภูมิภาค
หลังจากที่มีการเผยแพร่รายงานสถิติเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจและสังคมในรอบ 9 เดือนที่ผ่านมา กระทรวงวางแผนและการลงทุนได้ปรับแผนการทางเศรษฐกิจและการคาดการณ์เกี่ยวกับการบรรลุเป้าหมายตามแผนงานปี 2022 โดยการขยายตัวจีดีพีในปีนี้อาจบรรลุถึงร้อยละ 8 ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่สภาแห่งชาติได้วางไว้และรัฐบาลเสนอคือร้อยละ 6-6.5 สร้างแรงผลักดันสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2023
ในขณะเดียวกัน องค์กรระหว่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญทั้งภายในและต่างประเทศจำนวนมากก็มีการประเมินที่เข้มแข็งเกี่ยวกับเวียดนาม โดยพยากรณ์ว่า เวียดนามจะอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราการเติบโตสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2022 และ 2023
เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ในการหารือกับนายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง นาง Era Dabla-Norris หัวหน้าคณะตรวจสอบในด้านเศรษฐกิจมหภาค การเงินและสกุลเงินของประเทศสมาชิกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF กล่าวว่า ทาง IMF คาดการณ์ว่า การเติบโตจีดีพีของเวียดนามในปี 2022 จะอยู่ที่ประมาณ 7-7.5 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยต่ำกว่าแผนที่วางไว้คือร้อยละ 4 และต่ำกว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในโลกและในภูมิภาค โดยกิจกรรมการผลิตและประกอบธุรกิจกำลังฟื้นฟูอย่างเข้มแข็งและกว้างขวาง คือข้อดีที่ IMF ไม่มองเห็นในเศรษฐกิจอื่นๆ ดังนั้น IMF มีความมั่นใจว่า เมื่อภาพรวมของเศรษฐกิจเป็นไปในเชิงบวกถึงแม้จะมีผลกระทบจากจากภายนอก ถ้าหากปฏิบัติมาตรการที่กำกนดเป็นอย่างดี เวียดนามก็สามารถฟันฝ่าปี 2023 ที่เต็มไปด้วยอุปสรรคไปได้เพื่อมุ่งสู่ปี 2024 ด้วยโอกาสที่สดมสมากขึ้น
เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม สถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ S&P Global ซึ่งเป็น 1 ใน 3 สถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงในโลกที่มีสำนักงานใหญ่ในสหรัฐได้ประกาศรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อหรือ PMI สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตของเวียดนาม โดยมีจุดเด่น 3 ประเด็นคือ ผลผลิตยังคงเพิ่มขึ้นอย่างเข้มแข็ง แรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อลดลง สินค้าในคลังเพิ่มขึ้น นาย แอนดรูว์ ฮาร์เกอร์ ผู้อำนวยการด้านเศรษฐกิจของ S&P Global Market กล่าวว่า ความเชื่อมั่นด้านธุรกิจยังคงมีความเข้มแข็ง ดังนั้น ศักยภาพในช่วง 3 เดือนที่เหลือของปีนี้จึงจะเป็นไปในเชิงบวก ทำให้เวียดนามกลายเป็นจุดเด่นที่น่าสนใจในขณะที่เศรษฐกิจโลกยังคงมีควาผันผวนอย่างซับซ้อนต่อไป.