การประชุมนานาชาติว่าด้วยอนาคตเอเชียนิคเคอิครั้งที่ 28 (Photo: TTXVN) |
จากการเป็นหนึ่งในฟอรั่มประจำปีชั้นนำในภูมิภาคเพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาทางเศรษฐกิจและการเมืองในภูมิภาคเอเชีย การประชุมนานาชาติว่าด้วยอนาคตเอเชียนิคเคอิครั้งที่ 29 มีหัวข้อคือ "Asian leadership in an uncertain world" หรือ“การเป็นผู้นำของเอเชียในโลกไร้เสถียรภาพ”
ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ
การประชุมนานาชาติว่าด้วยอนาคตเอเชียถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1995 ที่จัดโดยนิเคอิ เครือบริษัทชั้นนำของญี่ปุ่น โดยมีการเข้าร่วมของนักการเมือง ผู้บริหารเศรษฐกิจและนักวิชาการจากประเทศและดินแดนต่างๆในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาต่างๆในภูมิภาคและบทบาทของเอเชียในโลก ในการประชุมปีนี้ บรรดาผู้แทนจะหารือเกี่ยวกับหัวข้อต่างๆ เช่น ศักยภาพเศรษฐกิจเอเชีย ความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อสร้างสรรค์ระบบนิเวศดิจิทัล ความพยายามของเอเชียในการบรรลุเป้าหมาย net zero บทบาทของญี่ปุ่น สหรัฐและสาธารณรัฐเกาหลีต่อความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะศักยภาพเศรษฐกิจของภูมิภาคในเวลาที่จะถึงในสภาวการณ์ที่เกิดความผันผวนที่ต่างๆทั่วโลก
ในรายงานศักยภาพเศรษฐกิจที่ประกาศเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม สหประชาชาติได้ประเมินในเชิงบวกต่อเศรษฐกิจเอเชีย โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียตะวันออก สหประชาชาติได้พยากรณ์ว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกจะอยู่ที่ร้อยละ 4.6 ในปี 2024 และร้อยละ 4.5 ในปี 2025 ซึ่งผลงานนี้มาจากการเพิ่มความต้องการบริโภคภายในประเทศ การฟื้นฟูของหน่วยงานการท่องเที่ยวและการส่งออกสินค้าที่เพิ่มขึ้น ในการพยากรณ์เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา นาย Krishna Srinivasan ผู้อำนวยการที่ดูแลภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF ได้ให้ข้อสังเกตว่า
“พลังขับเคลื่อนของการขยายตัวของเศรษฐกิจต่างๆในเอเชียจากช่วงครึ่งปีที่แล้วยังคงเพิ่มขึ้นในปีนี้ พวกเราพยากรณ์ว่า อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจเอเชียจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ในปีนี้ สูงกว่าร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับการพยากรณ์เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ซึ่งภูมิภาคเอเชียจะมีส่วนร่วมร้อยละ 60 ต่อการขยายตัวของโลกในปีนี้”
แต่อย่างไรก็ดี บรรดาผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า ยังมีหลายปัจจัยที่คุกคามต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะการคงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงเป็นเวลานานในเศรษฐกิจใหญ่ๆ ของโลก นาย Koichi Fujishiro ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจสังกัดสถาบันวิจัยชีวิตไดอิจิของญี่ปุ่นได้ให้ข้อสังเกตว่า การที่เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐหรือ FED คงดอกเบี้ยในระดับสูงกำลังส่งผลกระทบในทางลบต่อศักยภาพเศรษฐกิจของญี่ปุ่นและประเทศต่างๆในเอเชียที่พึ่งพาการนำเข้าพลังงานและอาหาร ดังนั้น นโยบายด้านเศรษฐกิจและการเงินที่พึ่งตนเองในเอเชียในอนาคตจะเป็นหนึ่งในประเด็นที่ได้รับความสนใจ ในการประชุมนี้ นาย Tauhid Ahmed ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารสถาบันการพัฒนาเศรษฐกิจและการเงินอินโดนีเซียได้ให้ข้อสังเกตว่า
“รัฐบาลอินโดนีเซียได้ปฏิบัติบางนโยบายเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงินโดยตรงโดยที่ไม่ต้องผ่านสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งปัญหาหลักคือการอนุญาตให้ใช้สกุลเงินของตนในการแลกเปลี่ยนทางการค้าและการบริการ เช่น ในการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซียและสิงคโปร์ อาจใช้เงินสกุลของประเทศนั้นหรือใช้เงินรูเปียห์ของอินโดนีเซียแทนการใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ส่วนในการแลกเปลี่ยนสินค้ากับจีน อาจใช้เงินหยวน”
นาย Krishna Srinivasan ผู้อำนวยการที่ดูแลภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกของ IMF (Photo: TTXVN) |
ความเสี่ยงเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศในอนาคต
นอกจากปัญหาเศรษฐกิจ เทคโนโลยีและความมั่นคงแล้ว การประชุมจะสงวนเวลาเพื่อหารือเกี่ยวกับการจัดทำกลไกร่วมระหว่างประเทศเอเชียเพื่อรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งหัวข้อดังกล่าวนับวันมีความเร่งด่วนเมื่อรายงานขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลกหรือ WMO ประกาศเมื่อวันที่ 23 เมษายนแสดงให้เห็นว่า เอเชียเป็นภูมิภาคที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดในโลกทั้งด้านชีวิตและทรัพสินจากภัยธรรมชาติในปี 2023 โดยได้เกิดภัยธรรมชาติ 79 ครั้งในเอเชียในปี 2023 ซึ่งในนั้น กว่าร้อยละ 80 คือเหตุน้ำท่วมและพายุ ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 2 พันราย อุณหภูมิในเอเชียกำลังสูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก
ก่อนการประชุมว่าด้วยอนาคตเอเชีย เอเชียกำลังผ่านเดือนที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดในประวัติกาล โดยเกิดอากาศร้อนจัดในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออก เกิดเหตุน้ำท่วมในจีน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โอมานและอัฟกานิสถาน ดร.เพชร มโนปวิตร นักวิทยาศาสาตร์ด้านสภาพภูมิอากาศของไทยได้เผยว่า ในอนาคต เอเชียจะต้องนึงถึงการที่มีดินแดนที่ไม่สามารถอยู่อาศัยได้เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
“มีความเป็นไปได้ที่จะมีดินแดนที่ไม่สามารถอยู่อาศัยได้เพราะเราอาจไม่สามารถปรับตัวเข้ากับอากาศที่ร้อนจัดได้ เราต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับกรณีดังกล่าว”
บรรดาผู้สังเกตการณ์เห็นว่า การเข้าร่วมของผู้นำประเทศที่ประสบปัญหาอากาศร้อนจัดในการประชุมนี้ เช่น นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย นายกรัฐมนตรีไทย และรองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา จะช่วยให้ประเด็นเกี่ยวกับวิกฤตด้านสภาพภูมิอากาศในเอเชียได้รับความสนใจมากขึ้น.