งานเซ่นไหว้ซุ้มประตูหมู่บ้าน ประเพณีที่เก่าแก่ของชนเผ่าเมอนง

(VOVWORLD) -ชนเผ่าเมอนงเป็นชนกลุ่มน้อยที่ตั้งหลักอาศัยในจังหวัดดั๊กนงมานานและได้มีความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาวัฒนธรรมชุมชนอย่างต่อเนื่อง แม้จะผ่านไปแล้วหลายชั่วคนแต่มรดกวัฒนธรรมที่โดดเด่นต่างๆของชุมชนเผ่าเมอนงรวมทั้งพิธีเซ่นไหว้เชิงจิตวิญญาณเพื่อสะท้อนความปรารถนาและความคาดหวังในชีวิตยังคงได้รับการอนุรักษ์อย่างสมบูรณ์ สำหรับวันนี้งานที่เราอยากพูดถึงก็คือพิธีเซ่นไหว้ซุ้มประตูหมู่บ้าน งานขอพรให้ชีวิตมีความอิ่มหนำผาสุกและการเก็บเกี่ยวได้ผลดีของชุมชนเผ่าเมอนงที่จังหวัดดั๊กนง

งานเซ่นไหว้ซุ้มประตูหมู่บ้าน ประเพณีที่เก่าแก่ของชนเผ่าเมอนง - ảnh 1พิธีเซ่นไหว้ซุ้มประตูหมู่บ้าน (baotintuc.com)

ในจังหวัดดั๊กนง ซึ้งมีชุมชนเผ่าเมอนงอาศัยเป็นจำนวนมากนั้นมักจะอยู่ร่วมกันเป็น บอน หรือหมู่บ้าน ที่มีหลายสิบครอบครัวและมีความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อนบ้านที่ใกล้ชิด โดยแต่ละหมู่บ้านต่างได้รักษาประเพณีที่ดีงามของชนเผ่าตนเอาไว้อย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะซุ้มประตูเข้าหมู่บ้าน ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่สำคัญในชีวิตวัฒนธรรมดังนั้นชาวเมอนงจึงมีประเพณีจัดงานเซ่นไหว้สำหรับซุ้มประตูของหมู่บ้าน นายฟานกงเวียด รองผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬาและท่องเที่ยวจังหวัดดั๊กนงเผยว่า

ซุ้มประตูเข้าหมู่บ้านมีบทบาทสำคัญมากในชีวิตเพราะไม่ว่าจะไปไหนมาไหนหรือทำอะไรชาวบ้านทุกคนต่างต้องเดินผ่านซุ้มประตูนี้ และเมื่อเดินผ่านกันทุกคนก็มักจะทักทายสวัสดีกันเพื่อสร้างความใกล้ชิดเป็นกันเองและความสามัคคีในชุมชน การจัดงานเซ่นไหว้ก็เพื่อขอพรให้ชีวิตมีความอิ่มหนำผาสุกและการเก็บเกี่ยวของชุมชนได้ผลดี”

งานเซ่นไหว้ซุ้มประตูหมู่บ้าน ประเพณีที่เก่าแก่ของชนเผ่าเมอนง - ảnh 2 ผู้ใหญ่บ้านเป่าเขาควายเริ่มพิธี(baotintuc.com)

พิธีเซ่นไหว้ซุ้มประตูหมู่บ้านจัดขึ้นก่อนฤดูฝนทุกปีคือช่วงปลายเดือน3ต้นเดือน4จันทรคติ ก่อนถึงพิธีผู้ใหญ่บ้านจะเรียกประชุมคนในหมู่บ้านเพื่อหารือและกำหนดวันเวลาจัดงานแล้วแบ่งหน้าที่ให้สมาชิกในการเตรียมพร้อมสิ่งของต่างๆเพื่อถวายแด่เทพทั้งหลาย คุณเหงวียนถิงา เจ้าหน้าที่ฝ่ายวัฒนธรรมของศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดซึ่งมีความรู้ด้านประเพณีการเซ่นไหว้นี้เผยว่า หนึ่งในของที่นำมาเซ่นไหว้นั้นต้องมีถ่านไม้1ก้อนที่ใช้มือซ้ายหยิบเอามาจากเตาในบ้านแล้วคลุมด้วยผ้าที่เรียกว่า ส่าโอน ซึ่งถือเป็นเทพคนกลางเชื่อมระหว่างมนุษย์กับโลกเบื้องบน

สิ่งของที่ใช้สำหรับพิธีเซ่นไหว้คือแต่ละครอบครัวจะต้องเตรียมข้าวสาร1กำมือ ยาสูบ1กำ ถ่านไม้1ก้อน งาช้างและนอแรดที่จำลองจากไม้ ใบพลูและหมาก1ชิ้น ขนมข้าวเหนียว3อัน กล้วยดิบ3ลูก มันเทศต้มสุก3หัว อ้อย3ท่อน เทียน4เล่มและเหล้าไหที่ทำจากลูกน้ำเต้าแห้ง”

งานเซ่นไหว้ซุ้มประตูหมู่บ้าน ประเพณีที่เก่าแก่ของชนเผ่าเมอนง - ảnh 3ผู้ใหญ่บ้านกำลังทำพิธี(baotintuc.com) 

ทุกอย่างจะต้องนำไปถวายด้านหน้าต้นเสาตุงซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งการเชื่อมโยงระหว่างฟ้าดินเพื่อแสดงความเคารพนับถือต่อเทพเจ้าทั้งหลาย นอกจากนั้นยังต้องมีการจำลองรูปสัตว์ต่างๆที่ทำจากไม้เช่น ช้าง แรด เสือ เป็นต้น เพื่อเป็นการแสดงอำนาจขับไล่สิ่งชั่วร้ายออกไปให้ไกลจากหมู่บ้าน ในพิธีทุกคนจะแต่งตัวด้วยชุดชนเผ่าอย่างสวยงามและผู้ใหญ่บ้านจะเป็นคนเริ่มพิธีด้วยการอธิฐานขอพร ซึ่งผู้ใหญ่บ้าน เกอมัง จากหมู่บ้านเนอเรียง เผยว่าการขอพรนั้นจะต้องกล่าวถึงชื่อของเทพทั้งหลาย มีการย้ำเตือนให้ชาวบ้านต้องใช้ชีวิตที่ดี ปลูกข้าวเลี้ยงสัตว์อย่างขยัน ส่วนชาวบ้านต้องรู้จักสามัคคีช่วยเหลือจุนเจือกัน ต้องทำตามแบบอย่างคนดีคนเก่งอย่าทำตามสิ่งที่เลวร้าย”

เมื่อผู้ใหญ่บ้านอธิฐานขอพรเสร็จชาวบ้านก็ส่งเสียงโห่ร้องตอบรับดังไปทั่วแล้วมีคณะฆ้อง6คนออกมาบรรเลง หลังพิธีเซ่นไหว้ที่ซู้มประตูหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้านและเจ้าของบ้านต่างๆจะนำเหล้าที่ผสมเลือดหมูกลับบ้านทำพิธีเซ่นไหว้เจ้าบ้านเจ้าเตาที่คอยดูแลบ้านเรือนของแต่ละครอบครัวเพื่อขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายคอยปกป้องคุ้มครองไม่ให้สิ่งชั่วร้ายเข้าบ้าน ในพิธีเซ่นไหว้ซุ้มประตูหมู่บ้านยังมีการแจกกำไลข้อมือด้วยความหมายขอให้ทุกครอบครัวและแขกที่มาเยี่ยมหมู่บ้านมีสุขภาพแข็งแรงและมีความสุข งานเซ่นไหว้จะเสร็จสิ้นลงท่ามกลางเสียงดนตรีและเสียงพูดคุยหัวเราะอย่างสนุกสนานของทุกคน.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด