อาชีพปลูกข้าวนาดำของชนชาติ กิง

(VOVworld)- ชนชาติกิงหรือชาวเวียดใน54ชนเผ่าพี่น้องของเวียดนามได้อาศัยรวมกันในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำห่งหรือแม่น้ำแดงมาแต่โบราณกาลและประกอบอาชีพปลูกข้าวนาดำเป็นหลัก ผ่านกาลเวลาแห่งการพัฒนาอาชีพปลูกข้าวนาดำไม่เพียงแต่ได้สร้างแหล่งธัญญาหารที่หล่อเลี้ยงชีวิตมนุษย์เท่านั้นหากยังสร้างสรรค์บรรยากาศแห่งวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ในประวัติศาสตร์ที่ยาวนานนั่นคืออารยธรรมข้าวนาดำแม่น้ำแดง วันนี้ สีสันวัฒนธรรม54ชนเผ่าเวียดนามจะพาท่านไปศึกษาอาชีพปลูกข้าวนาดำของชาวเวียดจากการเสนอของคุณมิงเหงวียดนะคะ


(VOVworld)- ชนชาติกิงหรือชาวเวียดใน54ชนเผ่าพี่น้องของเวียดนามได้อาศัยรวมกันในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำห่งหรือแม่น้ำแดงมาแต่โบราณกาลและประกอบอาชีพปลูกข้าวนาดำเป็นหลัก ผ่านกาลเวลาแห่งการพัฒนาอาชีพปลูกข้าวนาดำไม่เพียงแต่ได้สร้างแหล่งธัญญาหารที่หล่อเลี้ยงชีวิตมนุษย์เท่านั้นหากยังสร้างสรรค์บรรยากาศแห่งวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ในประวัติศาสตร์ที่ยาวนานนั่นคืออารยธรรมข้าวนาดำแม่น้ำแดง วันนี้ สีสันวัฒนธรรม54ชนเผ่าเวียดนามจะพาท่านไปศึกษาอาชีพปลูกข้าวนาดำของชาวเวียดจากการเสนอของคุณมิงเหงวียดนะคะ
อาชีพปลูกข้าวนาดำของชนชาติ กิง - ảnh 1
บรรพบุรุษของชาวเวียดเป็นผู้ปรับปรุงพันธุ์ข้าวป่ามาเป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกทั่วไปแล้วอาศัยธรรมชาติของเขตโซนร้อนที่มีแม่น้ำ หนองบึงและสระมากมายที่เหมาะกับการปลูกข้าวนาดำ(vietnam.vn)

จากข้อมูลที่บันทึกในเอกสารประวัติศาสตร์ต่างๆ เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงเป็นเขตที่แม่น้ำใหญ่สองสายคือแม่น้ำแดงและแม่น้ำท้ายบิ่งที่ได้พัดพาเอาดินตะกอนอันอุดมสมบูรณ์มาทับถมกันและนี่คือแหล่งอาศัยเริ่มแรกของชาวเวียดโบราณ โดยบรรพบุรุษของชาวเวียดเป็นผู้ปรับปรุงพันธุ์ข้าวป่ามาเป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกทั่วไปแล้วอาศัยธรรมชาติของเขตโซนร้อนที่มีแม่น้ำ หนองบึงและสระมากมายที่เหมาะกับการปลูกข้าวนาดำและถือเป็นธัญญาหารหลักนอกเหนือจากการปลูกธัญญาพืชและจับปลาเพื่อเป็นอาหาร ดังนั้นอาหารของชาวเวียดนั้นส่วนใหญ่คือข้าว ผักและสัตว์น้ำ ในประวัติศาสตร์การพัฒนาชนชาติกิงหรือชาวเวียดเป็นเผ่าที่มีประสบการณ์ในการปลูกข้าวนาดำ การสร้างระบบชลประทาน ทำนบ ขุดคูคลองและรู้จักเทคนิกการปลูกข้าวให้ได้ปีละหลายฤดู จากการที่ชีวิตความเป็นอยู่มีความผูกพันธ์กับธรรมชาติก็ก่อให้เกิดขนบทำเนียมประเพณีวัฒนธรรม ความเชื่อและความเลื่อมใสในการบูชาบรรพบุรุษและเทพแห่งความศักดิ์4องค์คือ เทพเจ้าแห่งสายฝน สายลม ฟ้าร้อง และสายฟ้า ซึ่งได้สร้างเป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนชาติกิง ตลอดจนการคิดค้นศิลปะการแสดงต่างๆไม่ว่าจะเป็นการร้องเพลงพื้นเมือง แจ่ว การแสดงหุ่นกระบอกน้ำ ก็ล้วนแต่สะท้อนให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ของคนในยุคอารยธรรมแห่งลุ่มแม่น้ำแดง

อาชีพปลูกข้าวนาดำของชนชาติ กิง - ảnh 2
ประเพณีวัฒนธรรม ความเชื่อและความเลื่อมใสในการบูชาบรรพบุรุษ(vietnam.vn)

จากการเป็นชนเผ่าพื้นเมือง ชาวเวียดหรือชนชาติกิงก็เป็นเผ่าที่เดินหน้าในการพิชิตธรรมชาติ บุกเบิกพื้นที่ใหม่เพื่อพัฒนาอาชีพการปลูกข้าวจนกลายเป็นกลุ่มชนชาติหลักที่มีส่วนร่วมสร้างสรรค์เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงในภาคเหนือ ภาคกลางตอนบนและลุ่มแม่น้ำโขงในภาคใต้กลายเป็นอู่ข้าวอู่น้ำขนาดใหญ่ของเวียดนาม อย่างไรก็ดีแม้จะเป็นอาชีพหลักที่หล่อเลี้ยงชีวิตของชาวเวียดนามรุ่นแล้วรุ่นเล่าแต่อาชีพปลูกข้าวนี้เริ่มมีพัฒนาการแบบก้าวกระโดดเมื่อกว่า20ปีก่อนหลังจากที่รัฐบาลเวียดนามได้ประกาศใช้นโยบายรับเหมาพื้นที่การเกษตรและมอบสิทธิการใช้ที่ดินอย่างเต็มที่ให้แก่เกษตรกร ซึ่งศ.ดร. หวอต่องซวน นักวิชาการด้านการเกษตรผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกข้าวเผยว่า           ตั้งแต่ปี1989เวียดนามเริ่มส่งออกข้าว ซึ่งเป็นการเปลี่ยนจากฐานะประเทศที่ขาดแคลนอาหารมาเป็นประเทศที่ส่งออกข้าว ซึ่งเป็นผลมาจากการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ที่ให้ผลผลิตสูงพร้อมกับการลงทุนของรัฐในโครงการชลประทานและประกาศใช้นโยบายที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมเกษตรกรผลิตข้าวมากขึ้น อันเป็นการมีส่วนร่วมสร้างฐานะให้แก่ทั้งครอบครัวและเพื่อการส่งออก.

หลังจากปฏิบัตินโยบายเพื่อการพัฒนาที่เหมาะสม ใน2ทศวรรษที่ผ่านมาเวียดนามได้พัฒนายกระดับสถานะจากที่เคยเป็นประเทศที่ขาดแคลนอาหารมาเป็นประเทศส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลก โดยเมื่อปี2012เวียดนามส่งออกข้าวได้กว่า7ล้านตัน กลายเป็นประเทศส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับสองของโลก ในหลายปีมานี้ การดำเนินโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ที่มีการส่งเสริมการวางแผนปรับปรุงพื้นที่การผลิตเกษตรเพื่อพัฒนารูปแบบทุ่ง          นาขนาดใหญ่และประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการผลิตข้าวได้ช่วยเพิ่มปริมาณการผลิตและมูลค่าการส่งออกให้สูงขึ้นและแนวทางนี้ได้รับการขานรับอย่างเข้มแข็งจากเกษตรกร ซึ่งต่างจากเมื่อก่อนนี้ที่ข้าวเพียงนำความอิ่มท้องมาให้แก่มนุษย์เท่านั้นแต่ปัจจุบันข้าวได้กลายเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูงที่สามารถสร้างความร่ำรวยให้แก่เกษตรกรได้ นายเหงวียนหิวหล่าย เกษตรกรจ.อานยาง ท้องถิ่นที่อยู่ในอู่ข้าวใหญ่เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงของประเทศกล่าวว่า        เมื่อก่อนนี้เราผลิตข้าวแบบตัวใครตัวมัน ใครจะปลูกข้าวพันธุ์ไหนก็แล้วแต่ ไม่มีการให้ความร่วมมือกัน แต่ปัจจุบันได้รวมกันพัฒนาการปลูกข้าวแบบทุ่งนาขนาดใหญ่ ใช้พันธุ์ข้าวเดียวกัน เมื่อเห็นผลก็รู้สึกดีใจมาก

ในยุคแห่งการผสมผสานกับนานาประเทศ ข้าวเวียดนามไม่เพียงแต่เป็นแหล่งธัญญาหารที่หล่อเลี้ยงชีวิตของมนุษย์เท่านั้นหากวัฒนธรรมข้าวนาดำเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงที่ชาวเวียดหรือชนชาติกิงเป็นผู้ริเริ่มพัฒนายังคงทรงคุณค่าเพื่อสร้างเป็นพื้นฐานที่สำคัญให้แก่การสร้างสรรค์วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติเวียดนาม./.  

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด