การพัฒนาการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง – ปัญหาและมาตรการแก้ไข

(VOVWORLD) - เวียดนามได้รับการประเมินว่าเป็นประเทศที่มีจุดแข็งด้านการเกษตร แต่ผลิตภัณฑ์การเกษตรของเวียดนามยังมีข้อจำกัดในการแข่งขันทั้งในตลาดภายในและต่างประเทศ ซึ่งหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือเวียดนามยังไม่ได้ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการผลิตและเก็บรักษาผลผลิต ดังนั้น การพัฒนาการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงจึงเป็นแนวทางที่เป็นก้าวกระโดดและมีส่วนร่วมพัฒนาภาคการเกษตรเวียดนามอย่างรอบด้านตามแนวทางที่ทันสมัย
การพัฒนาการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง – ปัญหาและมาตรการแก้ไข - ảnh 1การปลูกผักอินทรีย์ (Photo VNplus)

 

ในกระบวนการผสมผสานอย่างกว้างลึก เพื่อยกระดับมูลค่าของสินค้าการเกษตรเวียดนามต่อสินค้าการเกษตรจากต่างประเทศ รัฐบาลเวียดนามได้กำหนดว่า การส่งเสริมการผลิตเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงคือแนวทางที่จำเป็น โดยเมื่อปี 2010 รัฐบาลได้ประกาศมติเกี่ยวกับการพัฒนาการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงถึงปี 2020 และประกาศนโยบายที่เป็นก้าวกระโดดเพื่อสนับสนุนสถานประกอบการและครอบครัวเกษตรกรในการลงทุนประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ตลอดจนก่อตั้งสหกรณ์แบบใหม่ พัฒนาห่วงโซ่เชื่อมโยงเพื่อผลิตสินค้าการเกษตรที่มีคุณภาพ ให้ผลผลิตและมีมูลค่าสูง พร้อมทั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อมีส่วนร่วมค้ำประกันความมั่นคงด้านอาหารของประเทศและยกระดับสวัสดิการสังคม นายเลวันเหงียะ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจภาคการเกษตรเผยว่า            “รูปแบบสหกรณ์ใหม่นี้ เราสามารถว่าจ้างหัวหน้าสหกรณ์เหมือนประเทศต่างๆหรือว่าจ้างผู้อำนวยการบริษัทมาเป็นผู้บริหาร นอกจากนี้ สหกรณ์จะมีคณะกรรมการเพื่อหารือเกี่ยวกับการจัดทำกองทุนที่ดิน การเข้าร่วมของครอบครัวในการผลิต การเพิ่มมูลค่าและสิทธิผลประโยชน์ของแต่ละครอบครัว หากใครมีที่ดินเยอะกว่าก็จะได้ผลกำไรสูงกว่า เป็นต้น ซึ่งพวกเขาจะสามารถหาตลาดจำหน่ายได้และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น ระบบรดน้ำที่ประหยัดน้ำ ระบบใช้เครื่องจักรในการผลิตและระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยอื่นๆ”

หลังการปฏิบัติรูปแบบเกษตรกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงมาเป็นเวลาเกือบ 10 ปี ขณะนี้ ในเวียดนาม มีนิคมการเกษตร 29 แห่งและสถานประกอบการเกษตรที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงกว่า 20 แห่งที่กำลังดำเนินงานอยู่ ซึ่งน่าสนใจคือรูปแบบการผลิตผักปลอดสารพิษ ผักอินทรีย์ ปลูกดอกไม้และต้นไม้ประดับในโรงเรือนกางมุ้งและเรือนกระจกที่จังหวัดบั๊กนิงห์ จังหวัดเลิมด่งและนครโฮจิมินห์ รวมทั้งฟาร์มปลูกเห็ดขนาดใหญ่ที่จังหวัดหวิงฟุ๊ก เขตปลูกชาที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศในจังหวัดท้ายเงวียน เขตปลูกพันธุ์ข้าวและข้าวที่มีคุณภาพสูงในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง เป็นต้น โดยเฉพาะมีสถานประกอบการและครอบครัวในจังหวัดภาคใต้เวียดนามได้ประสบผลสำเร็จอย่างรวดเร็วเนื่องจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและมาตรการระหว่างประเทศในการผลิตเกษตร ยกตัวอย่างเช่น บริษัทกล้วยเวียดนามในนครโฮจิมินห์ แม้เริ่มประกอบธุรกิจเมื่อปี 2015 แต่ขณะนี้ สามารถส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นและบรรดาประเทศยุโรป ซึ่งถือเป็นตลาดที่เข้มงวดในด้านคุณภาพ นายเลซวนเฟือง ผู้อำนวยการบริษัทหุ้นส่วนกล้วยเวียดนามในนครโฮจิมินห์เผยว่า            “ทางบริษัทกำลังใช้ปุ๋ยและยากำจัดวัชพืชจากยุโรป ซึ่งช่วยให้ไม่มีสารพิษตกค้างและผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษ อาจกล่าวได้ว่า ผลิตภัณฑ์ของบริษัทคือผลิตภัณฑ์ชีวภาพอย่างแท้จริง”

ตามแผนการพัฒนาการเกษตรในนครโฮจิมินห์ มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรต้องบรรลุ 300 ล้านด่งต่อเฮกตาร์ต่อปีในปี 2020 และ 500 ล้านด่งต่อเฮกตาร์ต่อปี แต่ปัจจุบันนี้ มีสถานประกอบการหลายแห่งได้บรรลุ 200-400 ล้านด่งต่อเฮกตาร์ต่อปี ซึ่งบางแห่งก็บรรลุ 500 ล้าน – 1 พันล้านด่งต่อเฮกตาร์ต่อปี ซึ่งเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า การลงทุนพัฒนาเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงกำลังเอื้อประโยชน์ต่อสถานประกอบการ แต่ในความเป็นจริง มีแค่สถานประกอบการขนาดใหญ่ที่ลงทุนอย่างรอบคอบจะมีโอกาสพัฒนามากขึ้น ส่วนในสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงยังประสบอุปสรรค โดยเฉพาะในด้านเงินทุน เพื่อแก้ไขปัญหานี้ นับตั้งแต่เดือนมีนาคมปี 2017 นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้ประกาศรณรงค์จัดทำวงเงินสินเชื่อที่ให้สิทธิพิเศษมูลค่า 100 ล้านล้านด่งเพื่อให้กู้เงินนำไปประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งขณะนี้ แหล่งเงินทุนนี้ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยบรรลุประมาณ  3 2 ล้านล้านด่ง มีส่วนร่วมแก้ไขความเดือดร้อนให้แก่สถานประกอบการ โดยเฉพาะสถานประกอบการ start-up นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังอนุมัติการวางแผนภูมิภาคและเขตการเกษตรที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงถึงปี 2020และกำหนดถึงปี 2030 พร้อมทั้งยืนยันว่า การพัฒนาเกษตรที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงคือแนวทางก้าวกระโดด ซึ่งมีส่วนร่วมพัฒนาหน่วยงานการเกษตรเวียดนามแบบบูรณาการและทันสมัย.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด