การระดมเงินทุนในหลายรูปแบบในยุคชีวิตวิถีใหม่
Thúy Hằng, Vĩnh Phong -  
(VOVWORLD) -ปัจจุบันนี้ การปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 และการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ได้ส่งผลกระทบในทั่วโลก ดังนั้นการระดมเงินทุนให้แก่การผลิตและประกอบธุรกิจคือหนึ่งในปัญหาชี้ขาดสำหรับสถานประกอบการทุกแห่ง รัฐบาลเวียดนามได้ปฏิบัตินโยบายต่างๆเพื่อสนับสนุนสถานประกอบการ ค้ำประกันตลาดทุน ลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติและธำรงสถานการณ์การเงิน
การระดมเงินทุนให้แก่การผลิตและประกอบธุรกิจคือหนึ่งในปัญหาชี้ขาดสำหรับสถานประกอบการทุกแห่ง |
บริษัท Eco Garment เวียดนามจำกัดประกอบธุรกิจในด้านสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปภายในประเทศ นาง เลห่ามิงห์ ผู้อำนวยการบริษัทฯได้เผยว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ได้ส่งผลกระทบต่อแหล่งเงินทุนของบริษัทฯ ในขณะที่ตลาดส่งออกประสบความยากลำบาก ทำให้ทางบริษัทฯ ต้องเปลี่ยนมาสนใจตลาดภายในประเทศและแสวงหาตลาดส่งออกใหม่ๆ แต่การประกอบธุรกิจที่ประสบอุปสรรคและการยังคงจ้างพนักงานได้ทำให้เงินทุนของบริษัทฯลดลงอย่างรวดเร็ว “เงินทุนของบริษัทส่วนใหญ่เป็นเงินกู้จากธนาคารหรือสถาบันการเงิน ถึงแม้เหล่งสินเชื่อของเวียดนามจะมีมาก แต่ก็ยังมีเงื่อนไขมากมาย เมื่อสถานประกอบการของเราประสบความยากลำบาก เราได้มาขอกู้เงินจากธนาคารแต่ธนาคารมีเงื่อนไขเยอะจึงไม่สามารถกู้ได้”
สำหรับสถานประกอบการหลายแห่ง โดยเฉพาะสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม แหล่งเงินทุนถือเป็นปัญหาใหญ่ แต่ในตลอด 5 ปีที่ผ่านมา การระดมเงินทุนและอุปถัมภ์รูปแบบใหม่ได้ปรากฎขึ้นในเวียดนาม เช่น เทคโนโลยีการเงิน Fintech การกู้ยืมแบบบุคคลต่อบุคคลผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์หรือ P2P การระดมทุนแบบคราวด์ฟันดิ้ง, Supply Chain Finance เป็นต้น แต่เหตุผลต่างๆทำให้สถานประกอบการส่วนใหญากู้เงินได้จากธนาคารพาณิชย์เท่านั้น โดยค่าใช้จ่ายในการกู้เงินนั้นแพงกว่าธนาคารอื่นๆและมีแรงกดดันมากกว่า ทำให้การผลิตและประกอบธุรกิจของสถานประกอบการประสบความยากลำบาก ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหานี้ บรรดาผู้เชี่ยวชาญได้เสนอว่า ความหลากหลายในการระดมแหล่งเงินทุนจะช่วยให้สถานประกอบการแก้ไขปัญหานี้ สถานประกอบการควรยกระดับคุณภาพในการบริหาร เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและประสิทธิภาพในการประกอบธุรกิจเพื่อช่วยให้สถานประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนต่างๆได้อย่างสะดวก โดยเฉพาะสามารถดึงดูดเงินทุนจากตลาดหลักทรัพย์ผ่านการขายหุ้นของสถานประกอบการด้วย
ดร. เกิ๊นวันหลึก ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและธนาคารแสดงความคิดเห็นว่า ปัจจุบันนี้ขนาดของตลาดทุนในเวียดนามยังเล็กกว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาค ดังนั้นสถานประกอบการต้องมีความโปร่งใสในการบริหารงานและประกาศรายงานการเงินอยู่เสมอ พร้อมทั้งเพิ่มความรู้เกี่ยวกับการเงิน - สินเชื่อ นโยบายสนับสนุนสถานประกอบการ เพิ่มการเชื่อมโยงและเข้าร่วมห่วงโซ่มูลค่ากับสถานประกอบการทั้งภายในและต่างประเทศ ส่วนการอำนวยความสะดวกให้แก่การดึงดูดเงินทุนจากตลาดหุ้น เวียดนามก็ต้องมีกฎหมายที่ครอบคลุมและสมบูรณ์มากขึ้นควบคู่กับการปฏิบัตินโยบายและมาตรการที่ง่ายและกระทัดรัดมากขึ้นเพื่อช่วยเหลือสถานประกอบการในด้านสินเชื่อ การเงิน การยกเว้นหรือลดภาษีและค่าธรรมเนียม “วงเงินช่วยเหลือต้องมีความเหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น วงเงินช่วยเหลือมูลค่า 16 ล้านล้านด่งที่ให้กู้เงินด้วยดอกเบี้ย 0 เปอร์เซ็นต์นั้น มีเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรค ส่งผลให้สถานประกอบการไม่สามารถเข้าถึงได้ ดังนั้น เราต้องปรับปรุงเงื่อนไขต่างๆให้เหมาะสมมากขึ้น เช่น กลไกระเบียบต้องกระทัดรัฐมากขึ้น ส่วนนโยบายต้องคล่องตัวเพื่อสามารถตอบสนองความต้องการในการขยายเวลาหรือพักการชำระภาษีของสถานประกอบการและต้องผลักดันการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น”
ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ตลาดสินเชื่อกำลังเผชิญแรงกดดันเนื่องจากต้องจัดสรรแหล่งเงินทุนระยะสั้นให้แก่สถานประกอบการ ส่วนแหล่งเงินทุนระยะกลางและระยะยาวถูกใช้เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่จากประสบการณ์ของประเทศที่ทันสมัยต่างๆทั่วโลก ตลาดหลักทรัพย์คือช่องทางระดมเงินทุนที่ดีที่สุดเพื่อค้ำประกันการพัฒนาอย่างยั่งยืนของตลาดการเงิน พร้อมทั้งแก้ไขปัญหาการขาดความสมดุลระหว่างตลาดสินเชื่อกับตลาดทุน รักษาความมีเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาคและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่สถานประกอบการ ควบคู่กันนั้นเพื่อธำรงค์การประกอบธุรกิจ สถานประกอบการต้องยกระดับคุณภาพในการบริหารและควบคุมความเสี่ยงอย่างเป็นมืออาชีพมากขึ้น.
Thúy Hằng, Vĩnh Phong