จังหวัดเลิมด่งเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรด้วยการเชื่อมโยงการผลิตตามห่วงโซ่
Quang Sang; Vinh Phong -  
(VOVWORLD) - จังหวัดเลิมด่งถือเป็นจังหวัดเดินหน้าของประเทศเกี่ยวกับการพัฒนาการเกษตรตามแนวทางประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง โดยสินค้าเกษตรของจังหวัดฯได้รับการจำหน่ายทั่วประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศ เพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาหน่วยงานการเกษตรอย่างยั่งยืน นอกจากการผลักดันมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรในการผลิตแล้ว หน่วยงานการเกษตรจังหวัดเลิมด่งยังส่งเสริมการดำเนินโครงการเชื่อมโยงการผลิต การแปรรูปและการบริโภคผลิตภัณฑ์การเกษตรอีกด้วย
จังหวัดเลิมด่งได้สร้างสรรค์และพัฒนาห่วงโซ่การเชื่อมโยง 182 ห่วงโซ่ โดยมีครอบครัวเกษตรกรปลูกพืชผักเกือบ 16,000 ครอบครัวและครอบครัวเพาะปลูก 2,445 ครอบครัว |
ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ หน่วยงานการเกษตรจังหวัดเลิมด่งได้สร้างสรรค์ ปฏิบัติและขยายผลรูปแบบการเชื่อมโยงที่มั่นคงตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการแปรรูปและการบริโภคผลิตภัณฑ์การเกษตรในท้องถิ่น โดยเฉพาะผักสดและผลไม้ที่จำหน่ายในตลาดต้องมีมาตรฐานที่เข้มงวด มีมูลค่าผลิตภัณฑ์สูงกว่าการผลิตแบบกระจายตั้งแต่ร้อยละ 20-25 ในฤดูปลูกผักที่ผ่านมา ครอบครัวของนาย ฟานตุ่งโจว์ และเกษตรกรอีกหลายรายในจังหวัดเลิมด่งถึงแม้จะได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น แต่เนื่องจากราคารับซื้อและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มั่นคงผ่านการเชื่อมโยงการผลิตตามใบสั่งซื้อได้ค้ำประกันรายได้ต่อพื้นที่เพาะปลูก ในพื้นที่ปลูกทุเรียนที่มีคุณภาพสูงในตำบลหลกอาน อำเภอบ๋าวเลิม จังหวัดเลิมด่ง เนื่องจากการดำเนินโครงการเชื่อมโยงการผลิต การแปรรูปและการบริโภคผลิตภัณฑ์การเกษตรตามมติที่ 98 ของรัฐบาลอย่างมีประสิทธิภาพ เกษตรกรหลายร้อยคนที่ปลูกทุเรียนที่นี่สามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้อย่างมั่นคงและมีรายได้เพิ่มขึ้น นาย หวอหิวลอง ผู้อำนวยการบริษัทหุ้นส่วนการผลิตการค้าลองถุยในหมู่บ้าน 6 ตำบลหลกอาน เผยว่า ตั้งแต่ปี 2014 จนถึงปัจจุบัน ตลาดและการจำหน่ายทุเรียนในจังหวัดเลิมด่งค่อนข้างมีเสถียรภาพ โดยเฉพาะ จากการปฏิบัติการเชื่อมโยงการผลิตที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพระหว่างสถานประกอบการกับเกษตรกร การปลูกทุเรียนที่นี่ยังมีศักยภาพอีกมากเพื่อพัฒนาต่อไปเมื่อมีการส่งออกอย่างเป็นทางการ นาย หวอหิวลอง เผยว่า
“สำหรับการส่งออกทุเรียนไม่สามารถฉีดพ่นหรือเก็บเกี่ยวที่ยังไม่สุกได้ เนื่องจากเมื่อเข้าร่วมห่วงโซ่การผลิต สหกรณ์ต้องตัดทุเรียนในระยะที่เหมาะสมตามข้อกำหนดของสถานประกอบการ เมื่อส่งออกทุเรียน มูลค่าการแข่งขันของทุเรียนเวียดนามจะเพิ่มขึ้นและสามารถแข่งขันกับทุเรียนของไทยได้ เมื่อเข้าร่วมห่วงโซ่ก็จะมีข้อกำหนด ดังนั้นจะมีมูลค่าสูง ถ้าเกษตรกรผลิตสินค้าเองและไม่มีการเชื่อมโยงกัน สุดท้ายก็จะเกิดผลเสีย ดังนั้นการเข้าร่วมห่วงโซ่เชื่อมโยงการผลิตจึงเป็นประโยชน์มากกว่าการผลิตเพียงลำพัง”
หน่วยงานการเกษตรจังหวัดเลิมด่งได้สร้างสรรค์ ปฏิบัติและขยายผลรูปแบบการเชื่อมโยง มีมูลค่าผลิตภัณฑ์สูงกว่าการผลิตแบบกระจายตั้งแต่ร้อยละ 20-25 |
ในจังหวัดเลิมด่ง โครงการเชื่อมโยงการผลิต การแปรรูป และการบริโภคสินค้าเกษตรตามมติที่ 98 ของรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายส่งเสริมการพัฒนาความร่วมมือและเชื่อมโยงในการผลิตและการบริโภคผลิตภัณฑ์ได้ดำเนินการในช่วงปี 2019-2023 ด้วยงบประมาณประมาณ 2 แสน 7 หมื่นล้านด่ง โดยงบประมาณจากแหล่งเงินทุนสร้างสรรค์ชนบทใหม่และสอดแทรกจากโครงการอื่นๆคิดเป็นกว่าร้อยละ 51 และส่วนที่เหลือคือเกือบร้อยละ 49 มาจากเงินทุนของสถานประกอบการ สหรัฐและประชาชน นาย เหงียนวันโจว์ รองผู้อำนวยการสำนักงานการเกษตรและพัฒนาชนบทจังหวัดเลิมด่งเผยว่า ขณะนี้ จังหวัดเลิมด่งได้สร้างสรรค์และพัฒนาห่วงโซ่การเชื่อมโยง 182 ห่วงโซ่ โดยมีครอบครัวเกษตรกรปลูกพืชผักเกือบ 16,000 ครอบครัวและครอบครัวเพาะปลูก 2,445 ครอบครัว มูลค่าการผลิตผ่านห่วงโซ่เชื่อมโยงในปี 2021 บรรลุเกือบ 14,000, ล้านด่ง คิดเป็นร้อยละ 20 ของยอดมูลค่าการผลิตของหน่วยงานการเกษตรในจังหวัดฯ โดยเฉพาะผักและผลไม้สดเพิ่มขึ้นตั้งแต่ร้อยละ 20-25 เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ทั่วไป ในเวลาที่จะถึง หน่วยงานเกษตรจะยังคงสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนารูปแบบการเชื่อมโยงใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการด้านการผลิตของเกษตรกรต่อไป นาย เหงียนวันโจว์ กล่าวว่า
“เกษตรกรส่วนใหญ่มีการเชื่อมโยงกับสถานประกอบการและสหกรณ์แบบครบวงจรตั้งแต่การผลิตและการแปรรูป ไปจนถึงการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มั่นคง เพิ่มมูลค่า ค้ำประกันคุณภาพ ความปลอดภัยของอาหารและสุขอนามัย แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยผลงานที่ได้บรรลุดังกล่าว แต่ผลผลิตทางการเกษตรของจังหวัดเพิ่มขึ้น ความต้องการบริโภคที่มีเสถียรภาพผ่านการเชื่อมโยงยังคงอยู่ในระดับสูงมาก ในแผนการปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานการเกษตรในช่วงปี 2022-2025 เรายังคงจัดงบบางส่วนเพื่อขยายและพัฒนาห่วงโซ่การเชื่อมโยงการผลิตใหม่ต่อไป”
เพื่อส่งเสริมความมีประสิทธิภาพของห่วงโซ่การผลิตและการบริโภคที่มั่นคงในเวลาที่จะถึง หน่วยงานการเกษตรของจังหวัดเลิมด่งยังคงปฏิบัติโครงการ "สร้างเขตวางแผนการผลิตวัตถุดิบเข้มข้นให้สอดคล้องกับความสามารถการลงทุน สภาพเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละภูมิภาค อีกทั้ง ยกระดับห่วงโซ่การเชื่อมโยงที่ได้จัดตั้งขึ้นและพัฒนาห่วงโซ่การผลิตและการบริโภคผลิตภัณฑ์การเกษตรใหม่ ๆ ควบคู่กับการค้ำประกันเงื่อนไขความปลอดภัยของอาหาร โดยอาศัยพื้นฐานการวางแผนเพื่อสร้างสรรค์เขตผลิตด้วยขอบเขตและประเภทสินค้าเกษตรที่เหมาะสม ประยุกต์ใช้วิธีการผลิตที่ปลอดภัย ค้ำประกันคุณภาพที่สม่ำเสมอ อำนวยความสะดวกให้แก่สถานประกอบการในการลงนามสัญญาการบริโภคขนาดใหญ่ ความมีเสถียรภาพของราคาในระยะยาวและขยายตลาดการบริโภคและส่งออก./.
Quang Sang; Vinh Phong