ประโยชน์จากการเลี้ยงกุ้งผสานกับการปลูกข้าวในจังหวัดซอกจัง

(VOVWORLD) - ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะปัญหาน้ำทะเลซึมที่นับวันรุนแรงมากขึ้น ทำให้รูปแบบการเพาะเลี้ยงกุ้งผสมกับการปลูกข้าวในจังหวัดซอกจังกลายเป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับสภาพธรรมชาติและมุ่งสู่การผลิตอย่างยั่งยืน สร้างเสถียรภาพให้แก่ภาคการเกษตรและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่จังหวัด
ประโยชน์จากการเลี้ยงกุ้งผสานกับการปลูกข้าวในจังหวัดซอกจัง - ảnh 1พื้นที่ปลูกข้าวผสมกับการเลี้ยงกุ้ง

ทุกๆวัน คุณเจิ่นวันเตี๊ยน จากหมู่บ้านหว่าเด ตำบลหว่าเต๊ อำเภอหมีเซวียนจังหวัดซอกจัง จะไปดูแลนาข้าวที่ปลูกข้าวพันธุ์ ST 24 และกุ้งที่เลี้ยงไว้ในนา คุณเตี๊ยนเผยว่า หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จก็จะจับกุ้งที่เลี้ยงไว้ พอถึงเดือนเมษายนก็จะสบน้ำเค็มเข้าพื้นที่เพื่อเลี้ยงกุ้งอีกรอบ ครอบครัวของคุณเตี๊ยนเป็นหนึ่งในหลายครอบครัวในพื้นที่ที่มีรายได้อย่างยั่งยืนจากการทำเกษตรรูปแบบนี้            “เราต้องปลูกข้าวหมุนเวียนกับการเพาะเลี้ยกุ้งเพราะที่นี่น้ำเค็มจะรุกเข้าพื้นที่เกษตรเป็นเวลา 6 เดือนและ 6 เดือนที่เหลือจะเป็นน้ำจืด หลังฤดูเพาะเลี้ยงกุ้ง ผมจะปล่อยน้ำจืดเข้ามาล้างน้ำเค็มให้ความเค็มหมดแล้วก็ปลูกข้าวต่อ”

เช่นเดียวกันกับครอบครัวของคุณเตี๊ยน คุณต๋ามิงห์บ๋าว ในหมู่บ้านหว่าเดเผยว่า ครอบครัวของตนกำลังปลูกข้าวและเพาะเลี้ยงกุ้งหมุนเวียนในพื้นที่เกษตร 6,000 ตารางเมตร โดยแต่ละฤดูสามารถเก็บเกี่ยวข้าวได้ 3 ตันและกุ้ง 1.5 ตัน นี่คือรูปแบบการผลิตที่มั่นคงที่สุดที่ตนเคยทำ โดยเฉพาะในสภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ดังนั้นในอนาคต ตนจะทำต่อไป            “แม้มีรายได้ไม่สูงนักแต่ก็ยั่งยืนมาก เรามีกำไรจากการเพาะเลี้ยงกุ้ง ส่วนข้าวก็เป็นอาหารเลี้ยงครอบครัว มั่นคงก็เพราะเราเพาะเลี้ยงกุ้ง แล้วก็ปลูกข้าว ซึ่งจะช่วยปรับปรุงสิ่งแวดล้อมของเราให้ดีเพราะมูลของกุ้งทำให้ดินอุดมสมบูรณ์มากขึ้น”

ประโยชน์จากการเลี้ยงกุ้งผสานกับการปลูกข้าวในจังหวัดซอกจัง - ảnh 2การเลี้ยงกุ้งผสมกับการปลูกข้าวในอำหมีเซวียนได้รับการพัฒนาในตลอดกว่า 20 ปีที่ผ่านมา 

เขตปลูกข้าวผสานกับการเพาะเลี้ยงกุ้งในอำหมีเซวียนได้รับการพัฒนาในตลอดกว่า 20 ปีที่ผ่านมา โดยในพื้นที่ประมาณ 10,000 เฮกตาร์ ชาวบ้านสามารถเพาะเลี้ยงกุ้งได้หนึ่งถึงสองฤดูและสามารถปลูกข้าวได้หนึ่งฤดู ในหลายปีที่ผ่านมา เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่การผลิตตามรูปแบบนี้ ชาวบ้านปฏิบัติตามแนวทางการผลิตที่ปลอดสารพิษและปลูกพันธุ์ข้าวที่มีมูลค่าสูง ถึงขณะนี้ ในอำเภอ มีสหกรณ์เพาะเลี้ยงกุ้งสองแห่งที่ได้มาตรฐาน VietGAP ส่วนข้าวประมาณ 60 เฮกตาร์ก็ได้รับใบรับรองเป็นข้าวอินทรีย์แล้ว นาย ตังแทงชี๊ รองหัวหน้าหอการเกษตรและพัฒนาชนบทของอำเภอหมีเซวียนเผยว่า            “รูปแบบการผลิตแบบนี้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาก เพราะว่า มูลของกุ้งจะเป็นปุ๋ยให้แก่ข้าว ส่วนข้าวจะทำให้พื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งสะอาด ซึ่งจะช่วยให้การเพาะเลี้ยงกุ้งมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ต้องกังวลเรื่องโรคต่างๆ”

ในหลายปีที่ผ่านมา จากการผลิตตามรูปแบบนี้ ปริมาณกุ้งที่เพาะเลี้ยงในอำเภอหมีเซวียนได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 30,000 ตันในปี 2015 เป็นกว่า 33,600 ตันในปี 2018 ส่วนในการปลูกข้าว เกษตรได้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการปลูกข้าวที่ให้ผลผลิตและมีมูลค่าสูง เช่น พันธุ์ข้าว ST25 ที่ได้รับรางวัลข้าวที่อร่อยที่สุดในโลกเมื่อเร็วๆนี้ ส่วนทางการจังหวัดฯ ได้ก่อสร้างถนนที่เชื่อมพื้นที่ปลูกข้าวและเพาะเลี้ยงกุ้งของอำเภอหมีเซวียนกับนครซอกจังด้วยมูลค่าประมาณ 1.2 ล้านล้านด่งเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่การขนส่งและมีส่วนร่วมพัฒนาเศรษฐกิจสังคมใน 6 ตำบลที่กำลังผลิตตามรูปแบบนี้ จังหวัดซอกจัง โดยเฉพาะอำเภอหมีเซวียนตั้งใจธำรงและส่งเสริมรูปแบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพนี้เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอกาศที่นับวันรุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด