ผลิตภัณฑ์ OCOP ผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจในเขตชนบทที่จังหวัด เห่ายาง

(VOVWORLD) - ในเวลาที่ผ่านมา  จังหวัดเห่ายาง ได้เน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ OCOP ซึ่งเป็นโครงการ “หนึ่งผลิตภัณฑ์ – หนึ่งตำบล” ควบคู่กับการปฎิบัติโครงการเป้าหมายแห่งชาติเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ ซึ่งช่วยให้จังหวัดฯ กลายเป็นท้องถิ่นเดินหน้าในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดี มีส่วนร่วมยกระดับมูลค่าของสินค้าเกษตรเฉพาะถิ่นและปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในเขตชนบทให้ดีขึ้น
 
 
ผลิตภัณฑ์ OCOP ผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจในเขตชนบทที่จังหวัด เห่ายาง - ảnh 1ผู้บริหารสหกรณ์ตำบล กี่ญือ อำเภอ ฝุ่งเหียบ เสนอผลิตภัณฑ์ OCOP

ธุรกิจครัวเรือนที่ประกอบอาชีพผลิตลูกอมของนาง ตื่อถิเงวียนมาย ในหมู่บ้านเจื่องแค้ง 1 ตำบลลองแถง อำเภอฝุงเหียบ จังหวัดเห่ายาง มีประสบการณ์ในการผลิตลูกอมมาเป็นเวลา 25 ปี โดยแต่ละปีได้จัดสรรขนม “เปี๊ย” 10,000 ถึง 15,000 ชิ้นและลูกอมชนิดต่างๆ ให้แก่ตลาดในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง แต่เพื่อสามารถนำผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายในตลาดที่กว้างใหญ่มากขึ้น เมื่อปีที่แล้ว นาง มาย ได้ตัดสินใจนำขนม “เปี๊ย” เข้าร่วมโครงการ OCOP และหลังจากที่ได้รับใบรับรองเป็นผลิตภัณฑ์ OCOP ระดับ 3 ดาว ขนม “เปี๊ย” ของเธอก็ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากขึ้น

“การเข้าร่วมโครงการ OCOP ได้ช่วยให้เครื่องหมายการค้าของเราเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้ผลิตภัณฑ์ของเราสามารถจำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ตและส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศด้วย”

ควบคู่กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ในเวลาที่ผ่านมา อำเภอฝุ่งเหียบ จังหวัด เห่ายาง ยังประสานงานกับสำนักงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนสถานประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์ตามแนวทางยกระดับคุณภาพ บรรจุภัณฑ์ และปรับปรุงขั้นตอนการผลิตต่างๆ ให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น ส่งเสริมการค้า พัฒนาตลาด ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ จำหน่ายสินค้าผ่านระบบอี – คอมเมิร์ซต่างๆ เช่น Voso, Postmart, Shopee, Lazada เป็นต้น ตลอดจนเน้นให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆ ในการค้ำประกันลิขสิทธิ์ทางปัญญาให้แก่ผลิตภัณฑ์ของเรา โดยถึงขณะนี้ มีผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ OCOP ของอำเภอฝุ่งเหี่ยบได้รับใบสั่งซื้อจากสถานประกอบการและซุปเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ๆ จำนวนมาก ซึ่งช่วยให้ห่วงโซ่มูลค่า OCOP  ของจังหวัดได้รับการจัดตั้งและใช้วัตถุดิบจากการเกษตรและสัตว์น้ำของท้องถิ่นได้อย่างเต็มที่

นาง หวอถิเฟืองจาง  เจ้าของธุรกิจครัวเรือนที่ผลิตเหล้าแบบดั้งเดิม อู๊ดไตย ในหมู่บ้านเตินลองเอ ตำบลเตินบิ่ง อำเภอฝุงเหียบ จังหวัดเห่ายางเผยว่า ปัจจุบัน ธุรกิจครัวเรือนของเธอมีผลิตภัณฑ์ที่บรรลุมาตรฐาน OCOP ระดับ 4 ดาวของจังหวัดฯ รวม 4 รายการ ซึ่งล้วนเป็นผลิตภัณฑ์ OCOP ดีเด่นของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงด้วย เธอบอกว่า

“แหล่งวัตถุดิบที่ใช้สำหรับการผลิตเหล้า อุ๊ดไตย คือข้าว ดังนั้น ทางธุรกิจครัวเรือนได้มีส่วนร่วมยกระดับคุณภาพของข้าวและเสริมสร้างห่วงโซ่การผลิตแบบครบวงจรและมุ่งสู่เศรษฐกิจแห่งสีเขียว  หวังว่า ผลิตภัณฑ์การเกษตรต่างๆของจังหวัดเห่ายางจะมีก้าวพัฒนาใหม่และสามารถเพิ่มมูลค่าได้”

จากความได้เปรียบในด้านสภาพอากาศและที่ดิน ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์การเกษตรควบคู่กับการดูแลเอาใจใส่และการสนับสนุนจากทางการปกครองท้องถิ่น โครงการ OCOP ได้กลายเป็นพลังขับเคลื่อนให้แก่การพัฒนาของสถานประกอบ สหกรณ์และธุรกิจครัวเรือนต่างๆ โดยผลิตภัณฑ์เฉพาะถิ่นก็สามารถยืนยันสถานะตลาดโลกอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพราะมีคุณภาพดีและสามารถตอบสนองเงื่อนไขที่นับวันเข้มงวดมากขึ้นของผู้บริโภค

ผลิตภัณฑ์ OCOP ผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจในเขตชนบทที่จังหวัด เห่ายาง - ảnh 2นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง ในครั้งหนึ่งที่ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงาน ณ จังหวัดเห่ายางได้ไปชมบูธแสดงสินค้า OCOP ของธุรกิจครัวเรือนที่ผลิตเหล้าแบบดั้งเดิม อู๊ดไตย

ถึงขนาดนี้ จังหวัดเห่ายางได้รับรองผลิตภัณฑ์สินค้า OCOP 278 รายการ ซึ่งในนั้นมี 92 รายการสามารถบรรลุมาตรฐานระดับ 4 ดาว และ 186 รายการที่บรรลุมาตรฐานระดับ 3 ดาว ควบคู่กันนั้น การเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ก็ได้รับการยกระดับให้ดีขึ้น ซึ่งเป็นก้าวพัฒนาที่สำคัญ เป็นการยืนยันเครื่องหมายการค้าและชื่อเสียงของผลิตภัณฑ์ OCOP จังหวัดเห่ายางด้วย ช่วยให้ผลิตภัณฑ์ OCOP ของเห่ายาง ได้รับการจำหน่ายในจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะผ่านช่องทางการจำหน่ายใหญ่ๆ เช่น ซุปเปอร์มาร์เก็ตและร้านขายสินค้าเกษตรสะอาด เป็นต้น โดยเฉพาะผลไม้ต่างๆ ของเห่ายางได้ถูกส่งออกไปยังตลาดตะวันออกกลาง อเมริกาเหนือและยุโรปด้วย

แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อพัฒนาได้อย่างยั่งยืน  การผลิตผลิตภัณฑ์ OCOP ของจังหวัดฯ กำลังได้รับการปฏิบัติตามมาตรฐานคุณภาพที่กำหนดไว้ มีเสถียรภาพในด้านคุณภาพ มีการออกแบบที่สวยงามและมีขั้นตอนการผลิตที่ตอบสนองมาตรฐานสูงสุด เช่น  GlobalGAP, HACCP และ ISO 22000 เพื่อปรับปรุง ขยายขอบเขตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกมากขึ้น นาง ลี้เหละฮวา รองหัวหน้าแผนกเศรษศาสตร์ของตำบล ลองหมี จังหวัดเห่ายาง เผยว่า

“เรากำลังมุ่งสู่การปฎิบัติโครงการต่างๆ ที่เชื่อมโยงระหว่างบริษัท สถานประกอบการและธุรกิจครัวเรือนเพื่อช่วยให้สหกรณ์และโรงงานผลิตมีแหล่งวัตถุดิบอย่างเพียงพอเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ในจำนวนมากและมีมาตรฐานคุณภาพ รักษาความมีเสถียรภาพของแหล่งวัตถุดิบเพื่อช่วยให้สถานประกอบการเป็นฝ่ายรุกในด้านนี้ มีส่วนร่วมยกระดับประสิทธิภาพและมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ และช่วยสร้างงานทำให้แก่แรงงานท้องถิ่นอีกด้วย”

ในเวลาที่จะถึง ทางการจังหวัดเห่ายางจะผลักดันการดึงดูดการลงทุนในการพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตร ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการผลิตและแปรรูป ปรับปรุงขั้นตอนการผลิตให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น แสวงหาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จากแหล่งวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น พร้อมทั้งขยายความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศและผู้เชี่ยวชาญชั้นนำในด้านการเกษตรและเทคโนโลยีการแปรรูปเพื่อรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด ซึ่งก้าวกระโดดในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมถือเป็นจุดเด่นของโครงการ OCOP จังหวัดเห่ายาง นำเศรษฐกิจของจังหวัดพัฒนาอย่างยั่งยืนมากขึ้น.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด