การเคลื่อนไหวของจีนในทะเลตะวันออกเป็นการละเมิดกฎหมายสากล

(VOVWORLD) - หลังจากอนุมัติกฎหมายตำรวจทะเลที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา การเคลื่อนไหวต่างๆของจีนในทะเลตะวันออกในช่วงหลายวันที่ผ่านมาได้สร้างความวิตกกังวลให้แก่ประชามติโลก
การเคลื่อนไหวของจีนในทะเลตะวันออกเป็นการละเมิดกฎหมายสากล - ảnh 1ทหารเวียดนามปฏิบัติหน้าที่บนเกาะซิงโต่นดง (VNA)

การที่จีนส่งเรือกว่า 200 ลำเข้ามาทำการเคลื่อนไหวในบริเวณเกาะซิงโต่นในหมู่เกาะเจื่องซาของเวียดนามทำให้สถานการณ์ในทะเลตะวันออกซับซ้อนมากขึ้น โดยหลายประเทศได้แสดงความวิตกกังวลต่อการกระทำดังกล่าวและเรียกร้องให้จีนยุติการกระทำที่ยั่วยุและถอนเรือทั้งหมดออกจากเขตทะเลดังกล่าว

โฆษกกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามเลถิทูหั่งได้ยืนยันว่า การเคลื่อนไหวของจีนในบริเวณเกาะซิงโต่นในหมู่เกาะเจื่องซาของเวียดนามเป็นการละเมิดอธิปไตยของเวียดนาม ละเมิดอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 เกี่ยวกับการเดินเรือของต่างชาติในเขตน่านน้ำของประเทศริมฝั่งทะเล ขัดกับเจตนารมณ์และเนื้อหาของดีโอซี ทำให้สถานการณ์มีความซับซ้อน ไม่เป็นประโยชน์ต่อการเจรจาในการร่างระเบียบการปฏิบัติต่อกันในทะเลตะวันออกหรือซีโอซี

ส่วนกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ได้ยื่นหนังสือประท้วงการกระทำของจีน โดยย้ำว่า การที่จีนส่งกองเรือใหญ่เข้ามาทำการเคลื่อนไหวในบริเวณเกาะซิงโต่นได้สร้างความไร้เสถียรภาพและแสดงให้เห็นว่า จีนกำลังเพิกเฉยต่อคำมั่นที่ให้ไว้ในการรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค

ส่วนในการให้การต้อนรับนาย Prabowo Subianto รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียและนาง Retno Marsudi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียที่กำลังอยู่ระหว่างการเยือนญี่ปุ่นและเข้าร่วมการสนทนายุทธศาสตร์ด้านการทูตและกลาโหมระหว่างญี่ปุ่นกับอินโดนีเซียเมื่อวันที่ 30 มีนาคม  นาย ซูงะ โยชิฮิเดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้แสดงความวิตกกังวลต่อการเคลื่อนไหวของจีนในทะเลหัวตุ้งและทะเลตะวันออกเมื่อเร็วๆนี้ รวมถึงการอนุมัติกฎหมายตำรวจทะเล พร้อมทั้งย้ำถึงความสำคัญของการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการเดินเรืออย่างเสรีบนพื้นฐานของกฎหมายสากล

ส่วนเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำฟิลิปปินส์ได้แสดงความเห็นผ่านทวิตเตอร์ว่า “ปัญหาในทะเลตะวันออกมีความเกี่ยวข้องโดยตรงถึงสันติภาพ เสถียรภาพและเป็นประเด็นที่ฝ่ายต่างๆให้ความสนใจ ญี่ปุ่นประท้วงทุกปฏิบัติการที่ทำให้สถานการณ์ตึงเครียดมากขึ้น อีกทั้งสนับสนุนการปฏิบัติตามกฎหมายทางทะเลและความร่วมมือกับประชาคมโลกเพื่อปกป้องเขตทะเลที่เสรี เปิดกว้างและสันติ”

ส่วนทางการออสเตรเลียและนาย Gregory B.Poling ผู้อำนวยการโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และความคิดริเริ่มเกี่ยวกับการเดินเรือในเอเชียสังกัดศูนย์วิจัยทางยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศ หรือ CSIS ได้ให้ข้อสังเกตว่า การกระทำของจีน “อาจมีเป้าหมายทางทหาร” มิใช่เพื่อการประมง ส่วนนาย Peter Duttor อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยการเดินเรือของจีนสังกัดวิทยาลัยกองทัพเรือสหรัฐได้ให้ข้อสังเกตว่า จีนกำลังสร้างแรงกดดันต่อประเทศต่างๆในทะเลตะวันออก.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด