ปฏิกิริยาของประชามติโลกเกี่ยวกับความตึงเครียดในอิหร่าน

(VOVWORLD) -หลังจากที่อิหร่านยิงขีปนาวุธโจมตีใส่ฐานทัพของสหรัฐในประเทศอิรัก เมื่อวันที่ 7 มกราคม กองกำลังของสหรัฐในภาคตะวันออกของซีเรียที่ติดกับชายแดนของอิรักได้ตั้งอยู่ภาวะเตรียมพร้อมมากขึ้น

ปฏิกิริยาของประชามติโลกเกี่ยวกับความตึงเครียดในอิหร่าน - ảnh 1 อิหร่านได้ยิงขีปนาวุธนับสิบลูกใส่ฐานทัพของสหรัฐในประเทศอิรัก (Photo: AP)

ส่วนองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือหรือนาโต้และสหภาพยุโรปได้ออกประกาศเรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายลดความตึงเครียด  ในวันเดียวกัน   เลขาธิการนาโต้ได้เผยว่า กำลังเฝ้าติดตามสถานการณ์ในภูมิภาคตะวันออกกลางอย่างใกล้ชิดและอยากป้องกันไม่ให้อิหร่านทำการตอบโต้  ส่วนนาง Ursula von der Leyen ประธานคณะกรรมการยุโรปได้เผยว่า ความตึงเครียดจะส่งผลดีต่ออิหร่าน

ในขณะที่ในวันที่ 10 มกราคมนี้ บรรดารัฐมนตรีต่างประเทศของอียูจะทำการประชุมวิสามัญ ซึ่งวิกฤตดังกล่าวและอนาคตของข้อตกลงนิวเคลียร์ JCPOA จะเป็นเนื้อหาหลักในการประชุม  ในการนี้ บรรดารัฐมนตรีต่างประเทศอียูมีความประสงค์ที่จะหาทางลดความตึงเครียดระหว่างสหรัฐกับอิหร่าน

วันที่ 8 มกราคม ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกได้เพิ่มสูงขึ้น โดยราคาน้ำมัน WTI ของสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.53 อยู่ที่ 65.54 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล

นาย สก็อตต์ มอร์ริสัน นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียได้เผยว่า จะเกาะติดสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยกำชับให้รัฐมนตรีกลาโหมปฏิบัติทุกมาตรการเพื่อปกป้องความปลอดภัยของทหาร นักการทูตและพลเมืองออสเตรเลียในอิรัก

ส่วนรัฐมนตรีต่างประเทศนิวซีแลนด์ วินสตัน ปีเตอร์สได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดระหว่างสหรัฐกับอิหร่านที่เพิ่มขึ้นและย้ำว่า ถึงเวลาแล้วที่ทุกฝ่ายต้องใช้ความอดกลั้นเพื่อเปิดโอกาสการแก้ปัญหาผ่านมาตรการการทูต

รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้สั่งอพยพพลเมืองของตนในอิรัก โดยกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ได้ยกระดับคำเตือนด้านความมั่นคงเป็นระดับที่ 4

ส่วนในการประชุมของสภาความมั่นคงแห่งชาติหรือเอ็นเอสซีที่หารือเกี่ยวกับสถานการณ์ในตะวันออกกลาง นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น อาเบะ ชินโซได้เผยว่า จะประสานงานกับประเทศที่เกี่ยวข้องและมีปฏิบัติการทางการทูตเพื่อลดความตึงเครียดระหว่างสองฝ่าย

ในขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็ม มานูเอล มาครง ได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีอิหร่าน ฮัสซัน โรฮานี เกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉินในภูมิภาค ส่วนนายกรัฐมนตรีเยอรมนี อังเกลา แมร์เคิล ก็ธำรงการติดต่อกับประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ ส่วนนาย อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติได้เรียกร้องอย่างต่อเนื่องให้ทุกฝ่ายใช้ความอดกลั้น.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด