เวียดนามมีส่วนร่วมที่เป็นรูปธรรมต่อการแก้ไขปัญหาที่เร่งด่วนในโลก
(VOVWORLD) - ในการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในโอกาสที่นายกรัฐมนตรี เหงียนซวนฟุกเข้าร่วมการประชุมผู้นำจี 20 และเยือนญี่ปุ่นในระหว่างวันที่ 27 มิถุนายนถึงวันที่ 1 กรกฎาคม ตามคำเชิญของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ชินโซ อาเบะ นาย บุ่ยแทงเซิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ย้ำว่า การที่เวียดนามเข้าร่วมการประชุมจี 20 ถึง4 ครั้งในรอบ 10 ปีเป็นการยืนยันถึงแนวทางการต่างประเทศที่ถูกต้องของเวียดนาม สถานะและชื่อเสียงของเวียดนามบนเวทีโลกได้รับการยกระดับให้สูงขึ้น การพัฒนา ส่วนร่วมที่เข้มแข็งและมีความรับผิดชอบของเวียดนามต่อปัญหาทั้งในระดับภูมิภาคและโลก ซึ่งได้รับการชื่นชมจากประชาคมโลก
นายกรัฐมนตรี เหงียนซวนฟุก เข้าร่วมการประชุมนัดที่ 3 เกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนในกรอบการประชุมจี 20 (vietnamplus) |
รัฐมนตรีช่วย บุ่ยแทงเซิน ได้เผยว่า ในการประชุมจี 20 ข้อคิดริเริ่มของเวียดนามแสดงให้เห็นถึงส่วนร่วมที่มีความรับผิดชอบต่อการผลักดันความร่วมมือในระดับโลกเพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วนที่กำลังเกิดขึ้น อีกทั้งมีส่วนร่วมสำคัญต่อผลสำเร็จของคณะผู้แทนเวียดนามในการประชุมผู้นำจี 20 ในปีนี้ ส่วนในการพบปะทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรี เหงียนซวนฟุก บรรดาผู้นำประเทศและองค์การะหว่างประเทศต่างๆได้ยืนยันถึงการสนับสนุนและการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับเวียดนามในฐานะประธานอาเซียนในปี 2020 และสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติวาระปี 2020-2021
สำหรับผลงานของกิจกรรมทวิภาคีกับญี่ปุ่น รัฐมนตรีช่วย บุ่ยแทงเซิน ได้ย้ำว่า ทั้งสองฝ่ายยืนยันอีกครั้งถึงการเป็นหุ้นส่วนสำคัญในนโยบายภูมิภาค เห็นพ้องธำรงการเยือนและการพบปะระดับสูง ผลักดันความร่วมมือในด้านพลังงาน การเกษตร การใช้เทคโนโลยีขั้นสูง การประสานงานอย่างใกล้ชิดเพื่อปฏิบัติข้อตกลงหุ้นส่วนในทุกด้านและก้าวหน้าข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกหรือซีพีทีพีพี และเสร็จสิ้นการเจรจาข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจในทุกด้านในภูมิภาคหรืออาร์ซีอีพี
ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะประสานงานอย่างใกล้ชิดในฟอรั่มระหว่างประเทศเพื่อผลประโยชน์ของทั้งสองประเทศ มีส่วนร่วมต่อสันติภาพ เสถียรภาพและความร่วมมือของภูมิภาคและโลก โดยเฉพาะเมื่อเวียดนามดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนในปี 2020 และสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติวาระปี 2020-2021 เห็นพ้องเกี่ยวกับความสำคัญของการรักษาความมั่นคง ความปลอดภัยในการเดินเรือ การบิน การแก้ไขปัญหาการพิพาทผ่านมาตรการที่สันติบนพื้นฐานกฎหมายสากล โดยเฉพาะอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 หรือ UNCLOS ให้ความเคารพกระบวนการทางการทูตและนิตินัย ปฏิบัติแถลงการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือดีโอซีอย่างสมบูรณ์ และเสร็จสิ้นการจัดทำหลักปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือซีโอซีโดยเร็ว.