เสนอให้สหภาพยุโรปพิจารณาการสนับสนุนระบบห้องเย็นอัจฉริยะในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง

(VOVWORLD) - เป้าหมายระยะยาวของโครงการคือการสร้างห่วงโซ่การให้บริการขนส่งแบบเย็นด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะให้เสร็จสมบูรณ์และมีความเชื่อมโยงระหว่างเมืองและจังหวัดต่างๆ ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงกับบริเวณท่าเรือน้ำลึก ก๊ายแมบ – ถิหวาย ไปยังท่าเรือต่างๆ ของยุโรป
เสนอให้สหภาพยุโรปพิจารณาการสนับสนุนระบบห้องเย็นอัจฉริยะในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง - ảnh 1ระบบห้องเย็นอัจฉริยะ (ภาพจาก Phạm Hậu/TTXVN)

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ณ นครเกิ่นเทอ กระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทได้มีการจัดการประชุมทาบทามความคิดเห็นร่างโครงการ “ศึกษาการพัฒนาห่วงโซ่การขนส่งสินค้าแบบเย็นด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อรองรับการส่งออกผักและผลไม้ของเวียดนามไปยังสหภาพยุโรป (EU) และกลุ่มประเทศตลาดตะวันออกกลาง” ที่สหภาพยุโรปให้การสนับสนุนทางการเงิน ปัจจุบัน ในเขตตะวันออกภาคใต้  และเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้มีการติดตั้งระบบห้องเย็นขนาดเล็กบางแห่ง ซึ่งสามารถรองรับความต้องการของตลาดได้ประมาณร้อยละ 30 เท่านั้น โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญได้ระบุรายชื่อพื้นที่ 14 แห่งใน 6 จังหวัดของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงที่มีศักยภาพสำหรับการสร้างระบบห้องเย็นอัจฉริยะ และได้มีการเสนอให้สหภาพยุโรปสนับสนุนวงเงินเพื่อสร้างห้องเย็นอัจฉริยะ 5 แห่งในจังหวัดเกิ่นเทอ ด่งท้าป เหิ่วยาง จ่าวิงห์ และหวิงลอง โดยตั้งเป้าหมายจนถึงปี 2030 จะมีระบบห้องเย็นอัจฉริยะเพิ่มขึ้นอีก 100 ถึง 200 แห่งเพื่อตอบโจทย์การจัดเก็บผักและผลไม้ที่จะส่งออกไปยังตลาดยุโรปและตะวันออกกลาง นายเลกวางแถ่ง จากบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนด้านการก่อสร้างทางทะเล เผยว่า

“อย่างแรกคือ การสร้างระบบห้องเย็นนั้นในพื้นที่ปลูกผลไม้ขนาดใหญ่ของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อสามารถแช่เย็นผลไม้ได้เร็วที่สุดหลังการเก็บ พร้อมลดระยะทางในการขนส่ง สองคือ ให้ตั้งอยู่ใกล้เส้นทางสายหลักและท่าเรือต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดเก็บสินค้าทั้งทางบกและทางน้ำ รวมถึงท่าเรือขนาดใหญ่ระดับภูมิภาคภายในประเทศ เช่น ท่าเรือ ก๊ายกุย หรือท่าเรือขนาดใหญ่บางแห่งในแม่น้ำเหิ่ว”

ทั้งนี้ เป้าหมายระยะยาวของโครงการดังกล่าวคือการสร้างห่วงโซ่การให้บริการขนส่งแบบเย็นด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะให้เสร็จสมบูรณ์และมีความเชื่อมโยงระหว่างเมืองและจังหวัดต่างๆ ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงกับบริเวณท่าเรือน้ำลึก ก๊ายแมบ – ถิหวาย ไปยังท่าเรือต่างๆ ของยุโรป โดยมีการปรับเปลี่ยนจากวิธีการจัดเก็บทางบกที่มีต้นทุนสูงมาเป็นการจัดเก็บทางน้ำภายในประเทศ เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง พร้อมเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคาสำหรับผักและผลไม้ของเวียดนาม.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด