การเลี้ยงปลาในนาข้าวช่วงฤดูน้ำหลากที่จังหวัดเหิวยาง
(VOVWORLD) -ในหลายปีที่ผ่านมา ควบคู่กับการพัฒนาการปลูกข้าว เกษตรกรในอำเภอฝุงเหียบ จังหวัดเหิ่วยางได้ปรับเปลี่ยนเป็นการเลี้ยงปลาในนาข้าวในช่วงฤดูน้ำหลาก ซึ่งรูปแบบนี้ไม่เพียงแต่สร้างประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจเท่านั้นหากยังมีส่วนช่วยทำให้ดินมีคุณภาพดีเพื่อเตรียมพร้อมให้แก่ฤดูข้าวนาปี ซึ่งในช่วงเวลานี้ ชาวบ้านเริ่มปล่อยปลาลงนาเช่นกัน
เมื่อเห็นน้ำไหลเข้านาข้าว ชาวบ้านก็ปล่อยปลาลงนา |
เมื่อหนึ่งเดือนก่อน นาย เจิ่นวันบิ่ง หมู่บ้านหมีแช้ง ตำบลเหียบฮึง อำเภอฝุงเหียบ จังหวัดเหิ่วยางได้ซื้อปลาพันธุ์กว่า 20 กิโลกรัมเพื่อเลี้ยง หลังจากที่เสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยวข้าวในฤดูนาปรัง เมื่อเห็นน้ำไหลเข้านาข้าว นายบิ่งก็ปล่อยปลาลงนา นาย บิ่งเผยว่า ในหลายปีที่ผ่านมา ชาวบ้านที่นี่ไม่ปลูกข้าวในฤดูปลูกข้าวครั้งที่ 3 เพื่อเลี้ยงปลาในนาข้าว จนถึงปลายเดือน 10 ตามจันทรคติ เมื่อน้ำลด ชาวบ้านจะจับปลาที่เลี้ยงไว้และเตรียมให้แก่การปลูกข้าวนาปี ภายหลังหลายเดือน การเลี้ยงปลาในพื้นที่นา 1 เฮกตาร์ได้สร้างรายได้ให้แก่นายบิ่งกว่า 10 ล้านด่ง
“การปลูกข้าวในฤดูปลูกข้าวครั้งที่ 3 มีผลผลิตต่ำ ดังนั้นพวกเราจึงปรับเปลี่ยนเป็นการเลี้ยงปลา การเลี้ยงปลาพันธุ์ 25 กิโลกรัมจะสร้างรายได้ 13 -14 ล้านด่ง ส่วนการเลี้ยงปลา 20 กิโลกรัมสร้างรายได้ 10 ล้านด่ง ปลาส่วนใหญ่มีขนาดน้ำหนัก 1 กิโลกรัมขึ้นไป ปลาตะเพียนมีน้ำหนัก 1.2 -1.3 กิโลกรัม”
ทุกปี ที่อำเภอฝุงเหียบ จังหวัดเหิ่วยาง น้ำในฤดูน้ำหลากจะมาเร็วและลดช้ากว่าท้องถิ่นอื่นๆ ดังนั้น เมื่อก่อนนี้ การปลูกข้าวในฤดูปลูกข้าวครั้งที่ 3 จึงไม่ค่อยประสบความสำเร็จเนื่องจากนาข้าวถูกน้ำท่วม แต่หลังจากที่ปรับเปลี่ยนมาเป็นการเลี้ยงปลา ซึ่งให้ผลผลิตดี มีต้นทุนต่ำและมีความเสี่ยงน้อย โดยชาวบ้านซื้อปลาพันธุ์และทำการล้อมตาในทุ่งนาเท่านั้น ไม่ต้องซื้ออาหารปลาเนื่องจากปลาสามารถกินอาหารในน้ำและฟางข้าวได้ นาย เหงวียนวันมิง ชาวบ้านเฟืองหว่า ตำบลเฟืองบิ่ง อำเภอฝุงเหียบได้เผยว่า
“ปีนี้ ผมเลี้ยงปลาในทุ่งนา 2 เฮกตาร์ ซึ่งปลาโตเร็ว ในวันที่ 30 เดือน 10 ตามจันทรคติ พ่อค้าจะมาซื้อปลา ส่วนวันที่ 10 เดือน 11 ตามจันทรคติ พวกเราจะเริ่มปลูกข้าวนาปี”
ชาวบ้านซื้อปลาพันธุ์และทำการล้อมตาในทุ่งนาเท่านั้น ไม่ต้องซื้ออาหารปลาเนื่องจากปลาสามารถกินอาหารในน้ำและฟางข้าวได้ |
เมื่อ 5 ปีก่อน อำเภอฝุงเหียบมีพื้นที่เลี้ยงปลาในนาข้าวเกือบ 300 เฮกตาร์ในฤดูน้ำหลากเท่านั้นแต่ตอนนี้พื้นที่เลี้ยงปลาได้เพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่า นาย เจิ่นวันต๊วน หัวหน้าฝ่ายการเกษตรและพัฒนาชนบทอำเภอฝุงเหียบได้เผยว่า นอกจากการสร้างประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจแล้ว การเลี้ยงปลาในทุ่งนายังทำให้ดินดี อุดมสมบูรณ์ ไถง่ายและปลายังช่วยกำจัดวัชพืชในช่วงฤดูน้ำหลาก ลดต้นทุนให้แก่การปลูกข้าวฤดูต่อไป
“ทุกปี อำเภอฝุงเหียบเลี้ยงปลาในพื้นที่ขนาดใหญ่ โดยเฉพาะปีนี้ พื้นที่นาเพื่อเลี้ยงปลาเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 4 พันเฮกตาร์ ชาวบ้านเตรียมปลาพันธุ์เพื่อปล่อยลงนา การเลี้ยงปลาในนาข้าทำให้ดินดี อุดมสมบูรณ์และ ไถง่าย ดังนั้น ปริมาณการใส่ปุ๋ยในฤดูข้าวนาปีจึงลดลง”
การผลิตตามแนวทางที่สอดคล้องกับสภาพธรรมชาติกำลังเป็นแนวโน้มการผลิตของประชาชนในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง โดยชาวบ้านในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงจะประยุกต์ใช้รูปแบบการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพธรรมชาติในท้องถิ่น ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายในการผลิตและเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวบ้าน จากประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ การปรับปรุงที่ดินและการลดภัยคุกคามจากภัยธรรมชาติ การเลี้ยงปลาในนาข้าวที่อำเภอฝุงเหียบ จังหวัดเหิ่วยางกลายเป็นรูปแบบการผลิตที่ดีที่ใช้เงื่อนไขธรรมชาติเพื่อสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่ชาวบ้าน.