บทบาทของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงในการค้ำประกันการรักษาความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ
Phạm Hải- Thu Hoa -  
(VOVWORLD) - เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงมีพื้นที่ปลูกข้าวกว่า 3.2 ล้านเฮกตาร์ โดยมีปริมาณการผลิตข้าวมากกว่าร้อยละ 50 และปริมาณการส่งออกข้าวมากกว่าร้อยละ 90 ของประเทศ ซึ่งไม่เพียงแต่ค้ำประกันความปลอดภัยด้านอาหารเท่านั้น หากยังยืนยันถึงสถานะและการเป็นประเทศส่งออกข้าวชั้นนำของโลกของเวียดนามอีกด้วย เพื่อบรรลุผลงานนี้ ในเวลาที่ผ่านมา ทางการปกครองและเกษตรกรในท้องถิ่นต่างๆของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้เน้นปรับปรุงโครงสร้างการเกษตร ประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีในการผลิต เชื่อมโยงและสร้างเครื่องหมายการค้าข้าวของเวียดนาม
เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงมีพื้นที่ปลูกข้าวกว่า 3.2 ล้านเฮกตาร์ โดยมีปริมาณการผลิตข้าวมากกว่าร้อยละ 50 และปริมาณการส่งออกข้าวมากกว่าร้อยละ 90 ของประเทศ |
บนพื้นที่ปลูกข้าวกว่า 1.7 เฮกตาร์ นาย ฟานเถี่ยนแค้ง ในตำบล ดิ่งมน อำเภอ เถยลาย นครเกิ่นเทอได้ประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีในการผลิต นำข้าวพันธุ์ใหม่ที่มีคุณภาพสูงมาปลูกและได้เห็นถึงประสิทธิภาพด้านเศรษฐกิจผ่านฤดูเก็บเกี่ยว นาย แคง พร้อมเกษตรกรอีก 17 คนที่กำลังเข้าร่วมสหกรณ์ผลิตข้าวได้ตระหนักอย่างชัดเจนว่า ต้องธำรงการผลิตเพื่อชีวิต โดยเฉพาะการค้ำประกันความปลอดภัยด้านอาหาร รวมทั้งการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เลือกพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพสูงเพื่อปลูกเป็นสิ่งที่สำคัญ “ตามความคุ้นเคยจากฤดูเก็บเกี่ยวครั้งก่อน เกษตรกรมักจะใช้พันธุ์ข้าว IR50404 แต่ตอนนี้เกษตรกรได้เปลี่ยนไปปลูกพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพสูง มีศัตรูพืชน้อยทำให้ต้นทุนการดูแลน้อยลง ราคาขายข้าวที่มีคุณภาพสูงมีเสถียรภาพอยู่เสมอ”
ในหลายปีที่ผ่านมา หน่วยงานการเกษตรนครเกิ่นเทอได้เน้นปรับปรุงโครงสร้างการผลิต เปลี่ยนแปลงโครงสร้างพันธุ์พืชให้สอดคล้องสภาพของแต่ละพื้นที่ สำหรับเขตที่น้ำเพื่อการผลิตมีไม่มากทางการท้องถิ่นก็แนะนำให้ประชาชนเปลี่ยนมาปลูกพืชผักที่สามารถทนแล้งได้ดีกว่าพืชจำพวกข้าว ส่วนสำหรับเขตที่มีน้ำอย่างเพียงพอเพื่อผลิตก็จะปลูกข้าว หน่วยงานการเกษตรช่วยแนะนำให้ประชาชนปลูกพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพสูง ค้ำประกันผลผลิต คุณภาพและมีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ
นาย ฝ่ามเจื่องเอียน รองผู้อำนวยการสำนักงานการเกษตรนครโฮจิมินห์ได้เผยว่า พื้นที่ปลูกข้าวของท้องถิ่นอยู่ที่กว่า 200,000 เฮกตาร์ต่อปี มีปริมาณผลผลิตอยู่ที่ 1.3-1.4 ล้านตัน หน่วยงานการเกษตรเกิ่นเทอยังตระหนักได้ดีถึงบทบาทสำคัญในการค้ำประกันความมั่นคงด้านอาหารในขณะที่ยังคงธำรงพื้นที่ปลูกข้าว “เพื่อค้ำประกันพื้นที่ปลูกข้าวและปัญหาความมั่นคงด้านอาหาร สำหรับหน่วยงานการเกษตรได้ปฏิบัติตามแผนการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงโครงสร้างพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ สำหรับเขตผลิตการเกษตร โดยเฉพาะการปลูกข้าวที่ไม่มีประสิทธิภาพจะเปลี่ยนมาเป็นการเพาะปลูกพืชอื่น ๆ และเลี้ยงสัตว์น้ำ หน่วยงานการเกษตรต้องตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงอย่างเข้มงวด และพยายามบรรลุปริมาณผลผลิตข้าวที่วางไว้คือ 1.3-1.4 ล้านตันต่อปี”
เกษตรกรในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเก็บเกี่ยวข้าว |
ดร. เจิ่นหงอกแถก หัวหน้าสถาบันข้าวเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเผยว่า ทางสถาบันฯได้วิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวกว่า 180 พันธุ์ ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นและประชาชนในเขต ขณะนี้ พื้นที่ปลูกข้าวของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำอยู่ที่กว่า 3.2 ล้านเฮกตาร์ ปริมาณข้าวบรรลุตั้งแต่ 24-25 ล้านตันต่อปี ซึ่งช่วยให้เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงไม่เพียงแต่ค้ำประกันความมั่นคงด้านอาหารเท่านั้น หากยังมีส่วนร่วมที่สำคัญต่อการส่งออกข้าวของเวียดนามอีกด้วย แต่เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงก็ต้องเผชิญกับความท้าทายไม่น้อยในขณะที่การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ภัยแล้งและปัญหาน้ำทะเลซึมเกิดขึ้นอย่างรุนแรงซึ่งส่งผลกระทบต่อการผลิต ท้องถิ่นต่างๆต้องวางผังเขตผลิต เชื่อมโยงเขต อนุภูมิภาคเพื่อมีมาตรการที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน “สำหรับเขตที่ต้องเผชิญผลกระทบอย่างหนัก พวกเราเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่น หรือเลี้ยงสัตว์น้ำ สำหรับเขตที่มีศักยภาพในการปลูกข้าวต้องปลูกตามฤดูกาล และท้องถิ่นมีการย้ำเตือนอยู่เสมอเพื่อให้พวกเราใช้แหล่งน้ำสำหรับการเพาะปลูกให้สอดคล้องกับแต่ละเขต”
ในเวลาที่ผ่านมา หน่วยงานการเกษตรของท้องถิ่นต่างๆในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้เน้นปรับปรุงโครงสร้างการผลิต เปลี่ยนแปลงแนวคิดการผลิตจากขอบเขตเล็กมาเป็นการเชื่อมโยงห่วงโซ่คุณค่า อีกทั้ง พัฒนาขั้นตอนการผลิตให้มีความทันสมัย ประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุน วัตถุดิบการเกษตร จัดตั้งทุ่งนาขนาดใหญ่เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ ตอบสนองความต้องการภายในประเทศและการส่งออก
ในสภาวการณ์ปัจจุบัน การค้ำประกันความมั่นคงด้านอาหารคือปัญหาสำคัญของทุกประเทศ จากความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ภัยแล้งและปัญหาน้ำทะเลซึมที่มีขึ้นอย่างรุนแรง การค้ำประกันให้ฤดูข้าวนาปีประสบความสำเร็จทั้งด้านผลผลิตและราคาในปัจจุบันคือสัญญาณที่น่ายินดีเพื่อให้เกษตรกรในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงมีความผูกพันกับการปลูกข้าว./.
Phạm Hải- Thu Hoa