สหกรณ์แบบใหม่ในจังหวัดเซินลาสร้างห่วงโซ่เชื่อมโยงแบบครบวงจร

(VOVWORLD) -ไม่เพียงแต่เปลี่ยนแปลงด้านความคิดเท่านั้น แต่เกษตรกรในจังหวัดเซินลายังได้ปฏิบัติสหกรณ์ในรูปแบบใหม่ๆที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยขยายขอบเขต ยกระดับประสิทธิภาพในการผลิต การประกอบธุรกิจและการเชื่อมโยงกับสถานประกอบการต่างๆ ผลักดันการจำหน่ายสินค้าและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร
สหกรณ์แบบใหม่ในจังหวัดเซินลาสร้างห่วงโซ่เชื่อมโยงแบบครบวงจร - ảnh 1พื้นที่ปลูกน้อยหน่ากว่า 150 เฮกตาร์ของสหกรณ์ตำบลแม้เล็กและก่อหน่อยในอำเภอมายเซิน จังหวัดเซินลา

สหกรณ์ตำบลแม้เล็กและตำบลก่อหน่อยในอำเภอมายเซิน จังหวัดเซินลามีสมาชิกรวม 20 ครอบครัวที่ปลูกน้อยหน่าหลากหลายพันธุ์ในพื้นที่กว่า 150 เฮกตาร์  เช่น น้อยหน่าพันธุ์พื้นเมือง น้อยหน่าพันธุ์ไทยและน้อยหน่าพันธุ์ไต้หวันเป็นต้น น้อยหน่าเป็นพืชที่มักเผชิญปัญหาแมลงรบกวน ดังนั้น ทางสมาชิกสหกรณ์จึงได้ใช้ยาฆ่าแมลงชีวภาพเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค เพื่อค้ำประกันความปลอดภัยของผู้บริโภค นาย เหงียนหิวตื้อ ผู้อำนวยการของสหกรณ์ฯ เผยว่า น้อยหน่าพันธุ์ไต้หวันเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ทางสหกรณ์ได้ร่วมมือกับสถาบันผักและผลไม้เวียดนามทำการทดลองปลูก ซึ่งพบว่ามีศักยภาพสูงและขายได้ราคาดี โดยในฤดูที่ผ่านมา สามารถขายได้ 450,000 – 500,000 ด่งต่อกิโลกรัม บางลูกมีน้ำหนักถึง 2 กิโลกรัมและคาดว่า ในฤดูนี้ จะได้ผลผลิตน้อยหน่าไต้หวันประมาณ 20-25 ตันต่อเฮกตาร์

“ การดูแลน้อยหน่ายากกว่าผลไม้ชนิดอื่นๆ ซึ่งทางสหกรณ์ได้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง โดยเฉพาะการปลูกแบบอินทรีย์ โดยใช้ระบบรดน้ำต้นไม้ที่ใช้เงินลงทุนถึง 120 ล้านด่งต่อเฮกตาร์ ควบคู่กันนั้น ทางสหกรณ์ยังติดต่อกับบริษัทและศูนย์การค้าต่างๆ เพื่อหาช่องทางจำหน่ายผลิตภัณฑ์”

ในหลายปีที่ผ่านมา สมาชิกของสหกรณ์ยังได้ทำการปลูกมะม่วงตามมาตรฐาน VietGap โดยมีการห่อผลมะม่วง ให้ปุ๋ยและน้ำโดยคำนึงถึงการเติบโตของต้นมะม่วงที่สามารถให้ผลผลิตที่ได้คุณภาพสำหรับการส่งออก นาย ห่าวันกวน สมาชิกของสหกรณ์ฯ แสดงความคิดเห็นว่า

“ พวกเราปลูกมะม่วงตามมาตรฐาน VietGap ส่วนความสูงของต้นมะม่วงก็ลดลงช่วยให้การเก็บผลผลิตและการดูแลสะดวกมากขึ้น และได้คุณภาพตามความต้องการของตลาด”

นาย ห่าวันเซิน ผู้อำนวยการสหกรณ์การเกษตรปลอดสารพิษเจี่ยงหัก อำเภอเอียนโจว กล่าวว่า ปัจจุบัน ในตำบล มีพื้นที่ปลูกมะม่วงงาช้างเขียวตามมาตรฐาน VietGap ประมาณ 14.5 เฮกตาร์ โดยมีกว่า 7 เฮกตาร์ได้รับการรับรองรหัสการปลูกเพื่อการส่งออก เมื่อปี 2021 ทางสหกรณ์ฯ ได้ส่งออกมะม่วงกว่า 500 ตันไปยังตลาดจีนและประเทศตะวันออกกลาง ส่วนในการเตรียมความพร้อมให้แก่การส่งออกในปีนี้ ทางสหกรณ์ได้ตรวจสอบขั้นตอนการปลูกอย่างเข้มงวดตามมาตรฐาน VietGap โดยนอกจากส่งออกไปยังตลาดเก่า เช่น จีน แล้ว ตั้งแต่ต้นฤดู ทางสหกรณ์ได้เป็นฝ่ายรุกในการติดต่อและผลักดันการจำหน่ายภายในประเทศ โดยเฉพาะในศูนย์การค้าต่างๆ ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ ทางสหกรณ์ฯ ได้ลงนามสัญญากับบริษัทบางแห่งเพื่อส่งออกผลผลิตกว่า 500 ตันไปยังตลาดสาธารณรัฐเกาหลีและญี่ปุ่น

“เราหารือกับสมาชิกของสหกรณ์ฯ อยู่เสมอเพื่อพยายามเพิ่มมูลค่าและพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น ถ้าหากได้มาตรฐานผลไม้เกรด 1 เราจะสามารถขายมะม่วงได้ในราคาสูงกว่ามะม่วงธรรมดา 2 ถึง 3 เท่า”

ปัจจุบันนี้ ที่จังหวัดเซินลามีสหกรณ์การเกษตร ป่าไม้และสัตว์น้ำกว่า 700 แห่ง ซึ่งการจัดตั้งและพัฒนาสหกรณ์แบบใหม่ได้แสดงให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของสหกรณ์ ในกระบวนการปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานของเศรษฐกิจในท้องถิ่นและการสร้างสรรค์ห่วงโซ่การเชื่อมโยงแบบครบวงจรตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการจำหน่าย นอกจากนั้น ทางสหกรณ์ฯ ยังได้สนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้ธุรกิจครัวเรือนพัฒนาการผลิต การจำหน่าย การบริการและการเจาะตลาด ซึ่งเป็นสะพานเชื่อมให้แก่การแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างภาคอุตสาหกรรมกับภาคการเกษตร ระหว่างตัวเมืองกับเขตชนบทและผลักดันกระบวนการโยกย้ายและปรับเปลี่ยนของแรงงานในท้องถิ่น.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด