กิจกรรม Batik Workshop นำผ้าบาติกให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่ในกลุ่มคนเวียดนามรุ่นใหม่
Phuong Thao - Nguyen Ha -  
(VOVWORLD) - ผ้าบาติกถือเป็นผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมที่ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงระดับโลก สำหรับชาวอินโดนีเซีย ผ้าบาติกไม่ได้เป็นเพียงแค่ศิลปะเท่านั้น หากยังเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของประเทศอีกด้วยเนื่องจากมีความเป็นเอกลักษณ์ ส่วนสำหรับความพยายามประชาสัมพันธ์ผ้าบาติกให้แก่ประชาชนเวียดนาม รวมทั้งคนรุ่นใหม่ สถานกงสุลใหญ่อินโดนีเซียในนครโฮจิมินห์ได้จัดกิจกรรมต่างๆเพื่อแนะนำผ้าบาติก โดย “Batik Workshop” เป็นหนึ่งในกิจกรรมเหล่านั้น
นาง Venny Afwanny Akamsyah ช่างศิลป์จากสถาบัน Batik House Indonesia ในกิจกรรม “Batik Workshop” (https://tuoitre.vn/) |
“ผ้าบาติกในอินโดนีเซียเป็นที่นิยมมาก ผ้าบาติก 2 มีชนิดคือ ผ้าบาติกจากชวาตะวันตกและผ้าบาติกจากเมืองริมฝั่งทะเล โดยผ้าบาติกในชวาได้รับอิทธิพลจากชนชั้นสูงซึ่งจะเน้นสีเข้ม เช่น สีน้ำตาล ส่วนผ้าบาติกที่ผลิตจากเมืองริมฝั่งทะเลจะมีลวดลายและสีสันที่หลากหลาย นอกจากนี้ก็ยังมีผ้าบาติกบางชนิดที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมของจีนและญี่ปุ่นและบางประเทศตะวันออก หวังว่า ในอนาคตดิฉันจะได้มีโอกาสเห็นผ้าบาติกที่มีเอกลักษณ์วัฒนธรรมของเวียดนาม”
นั่นคือความเห็นของนาง Venny Afwanny Akamsyah ช่างศิลป์จากสถาบัน Batik House Indonesia ในกิจกรรม “Batik Workshop” ที่จัดโดยสถานกงสุลใหญ่อินโดนีเซียในนครโฮจิมินห์และคณะตะวันออกศึกษาของมหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนามในนครโฮจิมินห์ งานนี้อยู่ในกรอบของ "สัปดาห์ผ้าบาติก" ซึ่งมีขึ้นในระหว่างวันที่ 3 ถึง 7 เมษายน ณ นครโฮจิมินห์ ด้วยประสบการณ์เป็นเวลากว่า 20 ปีในการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับผ้าบาติกและผลิตภัณฑ์สิ่งทอแบบดั้งเดิมของอินโดนีเซียไปยังกว่า 112 ประเทศและดินแดน นาง Venny Afwanny Akamsyah ได้ทุ่มเทแนะนำให้คนหนุ่มสาวที่เข้าร่วมงานมีความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการวาดภาพบนผ้าบาติก เธอกล่าวว่า การทำผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกให้เสร็จสมบูรณ์นั้นต้องใช้ความอดทนและความพิถีพิถันในทุกๆขั้นตอน
“ขั้นตอนแรกคือต้องใช้ดินสอร่างลวดลายบนผ้า แล้วใช้จันติงเขียนขี้ผึ้งทับบนลวดลายที่ร่างไว้ และเราก็ต้องพลิกผ้าดูด้วยว่าขี้ผึ้งซึมเข้าเนื้อผ้าเท่ากันหรือไม่ ขั้นตอนต่อไปคือการย้อมผ้า หลังจากย้อมผ้าเสร็จแล้ว ก็นำไปต้มเพื่อแยกขี้ผึ้งออกจากผ้าก็ถือว่าเสร็จสิ้นขั้นตอน”
งานดึงดูดคนรุ่นใหม่เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก (https://tuoitre.vn/) |
ด้วยการชี้นำโดยตรงจากนาง Venny Afwanny Alamsyah นักศึกษามหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนามในนครโฮจิมินห์เกือบ 60 คนและผู้สนใจได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์อย่างมาก พร้อมทั้งมีประสบการณ์อันน่าจดจำเมื่อได้เข้าร่วมการทำผ้าบาติก โดยเฉพาะ สำหรับนักศึกษาที่เคยสวมใส่ผ้าบาติก นี่เป็นโอกาสที่ดีเพื่อมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับกระบวนการทำผ้าบาติกที่มีเอกลักษณ์นี้ คนหนุ่มสาวตั้งใจฟังคำแนะนำของผู้สอนและวาดลวดลายบนผ้าด้วยขี้ผึ้งอย่างระมัดระวัง ทุกคนมีความตื่นเต้นและหลงใหลในประสบการณ์ใหม่ที่น่าสนใจ นอกจากลวดลายดั้งเดิมของผ้าบาติกแล้ว นักศึกษาหลายคนยังสร้างลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ซึ่งแสดงถึงการผสมผสานด้านวัฒนธรรมระหว่างสองประเทศ
CTTP: ASEAN INDO VOPOP
“ต้องรู้เทคนิค วิธีการเตรียมผ้าและการวาดลวดลาย สำหรับผู้ที่ทำครั้งแรก ถ้าหากทำผิดขั้นตอนเพียงเล็กน้อย ขี้ผึ้งจะล้นทำให้ลายหมดสวย แต่นั่นก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจของการวาดลายบนผ้าบาติก”
“ดิฉันเห็นว่า ลวดลายบนผ้าบาติกมีความคล้ายคลึงกับผ้าพื้นเมืองเวียดนามมาก สีสันสดใส และสามารถใช้งานได้หลากหลายในชีวิตประจำวัน เช่น ทำเสื้อผ้า ทำกระเป๋าใส่ของ ทำกระเป๋าสตางค์ ผ้าปูโต๊ะ หรือของตกแต่งบ้าน การศึกษาค้นคว้าขั้นตอนการทำผ้าบาติกวันนี้น่าสนใจมาก ดิฉันทำผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกให้ตัวเอง ถึงแม้ว่าจะไม่ได้สมบูรณ์แบบ แต่ก็เป็นความทรงจำที่น่าจดจำ"
ผ้าบาติกไม่เพียงแต่แสดงให้ถึงความประณีตและฝีมือของช่างเท่านั้น หากแฝงไว้ซึ่งปรัชญาที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์อีกด้วย เมื่อวันที่ 2 ตุลาคมปี 2009 ทางยูเนสโกได้ประกาศให้ เทคนิคการย้อมผ้าบาติกแบบดั้งเดิมของอินโดนีเซียเป็นมรดกทางวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติ ผ้าบาติกของอินโดนีเซีย รวมทั้งลวดลายบาติกมีความคล้ายคลึงกับลวดลายบนผ้าไหมเวียดนาม ลวดลายเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมการทำนาของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ งาน "Batik Workshop" ได้ช่วยให้ผู้เข้าร่วมงานมีมุมมองเพื่อเปรียบเทียบวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศ ตลอดจนช่วยให้ประชาชนทั้งสองประเทศเข้าใจกันมากขึ้น ดั่งเช่นความเห็นของคุณAgustaviano Sofjan ตัวแทนสถานกงสุลใหญ่อินโดนีเซียในนครโฮจิมินห์
CTTP: ASEAN INDO AGUSTAVIANO
“อินโดนีเซียและเวียดนามเป็นเพื่อน ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันมาช้านานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเรายังคงรักษาและให้ความร่วมมืออย่างต่อเนื่องในด้านต่างๆ รวมถึงความร่วมมือทางวัฒนธรรม การเข้าร่วมของผมในนครโฮจิมินห์มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือมิตรภาพระหว่างอินโดนีเซียกับเวียดนาม ไม่เพียงแต่ระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล และระหว่างสถานประกอบการเท่านั้น หากยังรวมถึงการทูตระดับประชาชนอีกด้วย งานวันนี้เป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงความร่วมมือและมิตรภาพที่แน่นแฟ้นและยั่งยืนซึ่งเราต้องพยายามเพื่อกระชับและทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองประชาชาติมีความหลากหลายมากขึ้น."
Phuong Thao - Nguyen Ha