การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนวัฒนธรรมและภาษาไทยในมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอย

(VOVWORLD) - มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอย หรือ ULIS เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัย 5 แห่งที่มีชื่อเสียงในด้านการสอนภาษาต่างประเทศในกรุงฮานอย โดยเมื่อ 19ปีก่อน มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอยได้เปิดสอนวิชาโทภาษาไทยให้แก่นักศึกษา จนถึงปัจจุบัน นอกจากสอนวิชาเอก รวม 9 ภาษาแล้ว ทางมหาวิทยาลัยฯยังได้จัดตั้งภาควิชาภาษาและวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สอนวิชาโทภาษาไทยและภาษาลาว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเผยแพร่วัฒนธรรมและภาษาไทยให้แก่ประชาชนเวียดนาม
การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนวัฒนธรรมและภาษาไทยในมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอย - ảnh 1คุณทูห่า นักศึกษาชั้นปีที่ 3 วิชาเอกภาษาอังกฤษจากมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอยกล่าวสุนทรพจน์ภาษาไทยเกี่ยวกับตลาดน้ำ

คุณผู้ฟังกำลังฟังการกล่าวสุนทรพจน์ภาษาไทยเกี่ยวกับ ตลาดน้ำของคุณทูห่า นักศึกษาชั้นปีที่ 3 วิชาเอกภาษาอังกฤษจากมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอยในกรอบงานวัน ULIS Thailand Day ปี2020 โดยมีนักนักศึกษาเวียดนามที่กำลังเรียนวิชาโทภาษาไทยและนักศึกษาไทยในมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอยเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

วันนี้ นอกจากเข้าร่วมการประกวดกล่าวสุนทรพจน์ภาษาไทยแล้ว ดิฉันยังร้องเพลงภาษาไทยและเข้าร่วมการแสดงต่างๆ ดิฉันชอบดูหนังไทย รวมทั้งชุดแต่งกายและวัฒนธรรมของไทยมากจึงได้เลือกเรียนวิชาโทภาษาไทย ดิฉันมีความประสงค์ว่า หลังจบการศึกษาที่มหาวิทยาลัยฯจะหางานทำที่สามารถใช้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทยได้”

จุดเด่นของการเรียนวิชาโทภาษาไทยคือการได้พบปะพูดคุยกับคนไทยและมีการจัดกิจกรรมที่น่าสนใจต่างๆ เช่น เทศกาลสงกรานต์ ส่วนการเรียนวิชาโทภาษาอื่นๆ จะมีครูคนเวียดนามสอน นอกจากนี้ พวกเรายังชวนพี่ๆคนไทยไปกินอาหารและไปเที่ยวกันอย่างสนุกสนาน”

“กิจกรรมนี้ก็มีทั้งภาควิชาภาษาตะวันออกเฉียงใต้แล้วก็ได้ร่วมกับนักศึกษาวิชาโทภาษาไทย ทุกคนก็ได้มาออกบูธ จัดบูธ แล้วก็ มีการประกวด การแข่งขันกล่าวสุนทรพจน์ทำให้เด็กได้ใช้ทักษะทางภาษาไทยมากขึ้น รวมไปถึงได้เรียนรู้วัฒนธรรม จากการเข้ามาชมบูธ เช่น บูธนี้ก็คือบูธลอยกระทง ก็จะได้มาดูว่า การลอยกระทงแบบไทย ต้องทำยังไง มีอาหารไทย มีขนมไทย เช่น กระทงทอง ก็จะได้มาชิมว่า ขนมไทย รสชาติเป็นยังไงบ้าง จะได้คุ้นเคยกับประเทศไทยมากขึ้น”

การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนวัฒนธรรมและภาษาไทยในมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอย - ảnh 2นางสาวมรกต เจนมธุกร อัครราชทูตสถานทูตไทย ณ กรุงฮานอยมอบรางวัลที่หนึ่งให้แก่คุณหายเอียน นักศึกษาของมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอย

มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอยได้เริ่มสอนวิชาโทภาษาไทยให้แก่นักศึกษาเมื่อปี 2001 โดยมีนักศึกษา 30คนลงทะเบียนเรียน ในหลายปีมานี้ จำนวนนักศึกษาที่เลือกเรียนวิชาโทภาษาไทยได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 100คนต่อปีการศึกษา โดยทางมหาวิทยาลัยฯกำลังหารือและมุ่งสู่การลงนามเอกสารความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆของไทย เช่น มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ปัจจุบัน มีนักศึกษาไทยจากมหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยขอนแก่นมาฝึกงานที่มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอยเป็นเวลา 4เดือน สำหรับนักศึกษาเวียดนามที่เรียนวิชาโทภาษาไทยของมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอยก็มีโอกาสได้รับทุนการศึกษาของกระทรวงการต่างประเทศไทยเพื่อไปเรียนภาษาไทยที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเป็นเวลา 1เดือน มหาบัณฑิตเหงวียนถิเวินจี หัวหน้าภาควิชาภาษาและวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดูแลวิชาภาษาไทยของมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอยได้เผยว่า แม้จะเรียนภาษาไทยได้เพียง15 สัปดาห์ แต่บรรดานักศึกษาสามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างคล่องแคล่ว มีนักศึกษาจำนวนหนึ่งได้รับเลือกเป็นอาจารย์สอนภาษาเวียดนามที่มหาวิทยาลัยต่างๆในประเทศไทย และอีกจำนวนหนึ่งทำงานในสถานทูตไทย ณ กรุงฮานอย สถานกงสุลไทย ณ นครโฮจิมินห์ รวมทั้งบริษัทต่างๆของไทยในเวียดนาม 

“ทางมหาวิทยาลัยฯได้จัดตั้งภาควิชาภาษาและวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สอนภาษาไทยและภาษาลาวเพื่อส่งเสริมการเผยแพร่วัฒนธรรมและภาษาไทยในเวียดนาม ส่วนสถานทูตไทย ณ กรุงฮานอยได้ช่วยเหลือกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยของมหาวิทยาลัยเป็นอย่างมาก สำหรับนักศึกษาวิชาโทภาษาไทยได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆที่สถานทูตไทยจัดขึ้น เช่น การประกวดกล่าวสุนทรพจน์ภาษาไทยและงาน Thailand festival”

การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนวัฒนธรรมและภาษาไทยในมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอย - ảnh 3นักศึกษาไทยแนะนำการทำกระทงให้แก่นักศึกษาเวียดนาม 

ส่วนนางสาวมรกต เจนมธุกร อัครราชทูตสถานทูตไทย ณ กรุงฮานอยได้ประเมินว่า“อันนี้ต้องบอกว่า เป็นความประทับใจอย่างยิ่งนะคะ เพราะถ้าประเทศเวียดนามไม่ได้ให้ความสำคัญกับภาษาไทยและประเทศไทยก็คงไม่จัดการเรียนการสอนมาอย่างยาวนานถึง 19 ปี ในขณะเดียวกัน ก็จะเห็นว่า ที่เมืองไทย โดยเฉพาะในทางภาคอีสาน เราก็มีการสอนภาษาเวียดนาม ซึ่งปัจจุบัน ก็ผลิดอกออกผล ก็คือเราจะเห็นทั้งคนไทยและคนเวียดนามทำงานอยู่ในทั้งสถานที่ราชการและบริษัทเอกชน หรือสถาบันการศึกษาของทั้งสองประเทศ สิ่งนี้คือความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชนที่เห็นอย่างเป็นรูปธรรมและเป็นสิ่งที่ทำให้ความสัมพันธ์ของเรายั่งยืนไปเรื่อยๆ”

การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนวัฒนธรรมและภาษาไทยในมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอย - ảnh 4 การปรุงอาหารไทย

ส่วนรองศร.ดร.เลิมกวางดง รองผู้อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอยได้เผยว่า ประเทศไทยคือประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดของเวียดนามในอาเซียน โดยมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นและมีประสบการณ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและด้านต่างๆที่เวียดนามควรเรียนรู้ ดังนั้น ทางมหาวิทยาลัยจึงมีแผนการยกระดับการเรียนภาษาไทยให้เป็นวิชาเอกในอีก 5ปีข้างหน้า.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด