นักศึกษาในหลักสูตรไทยศึกษา มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ พบปะแลกเปลี่ยนเพื่อการพัฒนา

(VOVWORLD) -“การพบปะแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับมหาวิทยาลัยต่างๆของไทยจะช่วยให้นักศึกษาของเรามีความมั่นใจในตัวเอง ดีขึ้นในด้านภาษาและชอบภาษาไทยมากขึ้น” นี่คือคำยืนยันของรองศ.ดร.เหงียนเตืองลาย อาจารย์สอนภาษาไทยหลักสูตรไทยศึกษา ภาควิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ในการพบปะแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ซึ่งเป็นกิจกรรมประจำปีของคณะตะวันออกศึกษาเพื่อยกระดับความรู้ในด้านภาษาและวัฒนธรรมไทยให้แก่นักศึกษา
นักศึกษาในหลักสูตรไทยศึกษา มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ พบปะแลกเปลี่ยนเพื่อการพัฒนา - ảnh 1 สอนวิธีการทำอาหารไทยให้แก่นักศึกษาของหลักสูตรไทยศึกษา

เวลา 10 โมงครึ่ง ในห้องเรียนของคณะตะวันออกศึกษา นายกฤตนันท์ ไนจิต และนางสาว ภาวิณี โต๊ะอาด และนักศึกษาไทย 6 คนในชุดสูตรสีดำของมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ กำลังสอนวิธีการทำอาหารไทยให้แก่นักศึกษาของหลักสูตรไทยศึกษากว่า 40 คน “นี่ ส้มตำเป็นส้มตำไทย เพราะว่าส้มตำมันมีหลายแบบ ตำลาว เดี๋ยวนี้ตำปูม้า ตำอะไรก็มีแต่ในวันนี้เราเอาตำไทยที่คนไทยกินได้ง่ายๆและคนเวียดนามก็น่าจะทานได้ง่ายเพราะว่าจะไม่มีปลาร้าหรืออะไรที่ไม่ชอบ เดี๋ยวนี้ทำตำไทยที่จะมีรสชาติที่ ของคนไทยก็ชอบเผ็ดร้อน เปรี้ยว หวาน มีกุ้งแห้ง มีถั่วที่คนไทยชอบ ซึ่งเรียกว่า กลมกล่อมมัน นำเสนอเมนูนี้มาดูคือส้มตำไทย ชาวต่างชาติไปไทยก็ต้องทาน ถามว่าส้มตำมีไหม จริงๆแล้วส้มตำจะดังทางอีสาน แต่ที่ดีอยู่ที่ภาคกลางก็ชอบ ชอบเหมือนกัน นี่คืออาหารที่กินได้ถูกปาก อยู่ภาคไหนก็ชอบ ประเทศไทยก็ชื่นชอบส้มตำ เราเอารสเด็ดๆมาเลยวันนี้ แล้วก็มีประโยชน์ด้วยเพราะว่า มีผัก มีผลไม้ มีกุ้ง อะไรอย่างนี้ กินแล้วจะแข็งแรงด้วย

นับตั้งแต่ปี 1999 คณะตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ได้เปิดหลักสูตรไทยศึกษา โดยนอกจากสอนภาษาไทย ทางคณะฯยังให้ความรู้ขั้นพื้นฐานด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมืองและความสัมพันธ์ทางการทูต ให้แก่นักศึกษาอีกด้วย โดยแต่ละปีได้ให้การต้อนรับคณะนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆของไทยประมาณ 10 คณะ เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาราชภัฏพระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏสมเด็จเจ้าพระยา มหาวิทยาราชภัฏเลย และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เป็นต้น รองศ.ดร. เหงียนเตืองลายให้ข้อสังเกตว่า “หลังการพบปะแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมครั้งนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างสองมหาวิทยาลัยที่ใกล้ชิดในหลายปีที่ผ่านมาจะยิ่งใกล้ชิดมากขึ้น โดยทั้งสองฝ่ายจะลงนามในบันทึกช่วยจำฉบับใหม่เพื่อปฏิบัติความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยกิจกรรมแรกคือในเดือนกรกฎาคมนี้ ทางมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์จะรับนักศึกษาปีที่ 3 ของเราไปฝึกงานในประเทศไทยเป็นเวลา 10 วัน ความสัมพันธ์นี้ไม่เพียงแต่อยู่ในขอบเขตของมหาวิทยาลัยสองแห่งเท่านั้นหากขยายผลไปทั่วเพราะว่านักศึกษาจะเผยแพร่ผลการฝึกงานและกิจกรรมนี้บนเฟสบุ๊คให้แก่เพื่อนๆชาวเวียดนามและชาวไทยรับทราบ ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้มหาวิทยาลัยอื่นๆในไทยและเวียดนามปฏิบัติตาม”

นักศึกษาในหลักสูตรไทยศึกษา มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ พบปะแลกเปลี่ยนเพื่อการพัฒนา - ảnh 2 พบปะแลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์

การพบปะแลกเปลี่ยนประจำปีระหว่างคณะตะวันออกศึกษากับมหาวิทยาลัยต่างๆของไทยได้เปิดโอกาสใหม่ให้แก่นักศึกษาดั่งข้อสังเกตของนางสาวเหงียนถิเฟืองถาว นางสาวหว่างถิฮวาและนางสาวโนงถิตู้เกวียน นักศึกษาปีที่ 2 ปีที่ 3 และปีที่ 1  “หนูชอบเข้าร่วมการพบปะแลกเปลี่ยนกับคนไทยเพื่อจะมีโอกาสพูดภาษาไทยมากขึ้น การพบปะแลกเปลี่ยนแบบนี้มีประโยชน์เป็นอย่างมาก เพราะว่าในทุกวันเราได้เรียนตามหนังสือตำราเรียนเท่านั้น ไม่ได้พูดคุยมากเท่าไหร่ แต่ในการพบปะในวันนี้ หนูสามารถใช้ความรู้ที่ได้เรียนเพื่อพูดคุยกับเพื่อนๆคนไทย หากพวกหนูพูดผิด เช่น วรรณยุกต์ เพื่อนๆก็ช่วยแก้ให้”

            “เรื่องแรกคือ หนูได้มีเพื่อนใหม่ ได้ฟังเพื่อนๆพูดภาษาไทยและมีโอกาสฝึกภาษาไทยกับคนไทย จากการทำอาหาร พวกหนูรู้ศัพท์ที่ใช้ในอาหารและมีความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมของคนไทยมากขึ้น เช่น คนไทยชอบกินเผ็ดมากกว่าคนเวียดนาม คนไทยมีไข่พระอาทิตย์ ซึ่งเป็นเมนูที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงคิดขึ้นมาเพื่อปรุงให้พระโอรสและพระธิดาเสวย”

            “นี่เป็นครั้งแรกที่หนูเข้าร่วมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม สนุกมาก หนูได้ลิ้มลองอาหารที่แปลกๆและอร่อยมาก ได้พบปะและฟังเพื่อนๆคนไทยพูดภาษาไทยเป็นครั้งแรก และรู้สึกว่า ภาษาไทยไพเราะมาก แม้ไม่เข้าใจมากเท่าไหร่แต่เมื่อฟังรุ่นพี่คุยกับเพื่อนๆคนไทยก็อยากเรียนเร็วขึ้นเพื่อสามารถเข้าใจภาษาไทยมากขึ้นและได้มีโอกาสไปเรียนที่เมืองไทย”

ถึงขณะนี้ มีนักศึกษา 20 รุ่นของคณะตะวันออกศึกษาได้จบการศึกษาและเนื่องจากมีความสัมพันธ์ที่ดีกับมหาวิยาลัยต่างๆของไทย ก็มีนักศึกษาของคณะฯกว่า 40 คนได้รับทุนในการศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยต่างๆของไทยและบางคนได้กลับมาเป็นอาจารย์ในคณะฯเพื่อถ่ายทอดความรู้และความหลงไหลด้านภาษาและวัฒนธรรมไทยให้แก่นักศึกษารุ่นต่อๆไป ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฐิติพร พิชญกุล ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ประเมินเกี่ยวกับการเรียนปริญญาโทและปริญญาเอกของนักศึกษามหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ในมหาวิยาลัยของตนว่า “นักศึกษาเวียดนามที่ส่งไปน่ารักมาก แล้วก็สามารถที่จะใช้ภาษาได้อย่างดี แล้วก็มีบุคลิกภาพ แล้วก็ลักษณะที่เข้ากับคนไทยได้ดี ดีมาก บางครั้งเรามองดูว่าเหมือน เด็กที่นี่มีลักษณะที่มีบุขลิกภาพแล้วก็กิริยามารยาทที่มันเป็นไทย จึงบางคนดูเป็นคนไทยเลย น่ารักมากค่ะ แสดงให้เห็นถึงว่า การขัดเกลาหรือว่าการให้ความรู้ของมหาวิทยาลัยที่นี่ให้อย่างลุ่มลึกมากที่เดียว”

การพบปะแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างนักศึกษาเวียดนามและนักศึกษาไทยมักจะมีขึ้นเป็นเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ – 10 วันซึ่งได้สร้างบรรยากาศในการสื่อสาร การหางานทำและเป็นแรงบันดาลใจให้นักศึกษาเวียดนามสนใจและชื่นชอบการเรียนภาษาไทยมากขึ้น.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด