ผู้เชียวชาญกัมพูชา: โรคโควิด - 19 ทดสอบบทบาทการเป็นแกนนำของอาเซียนในโครงสร้างภูมิภาค
ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุเวียดนามประจำกัมพูชา -  
(VOVWORLD) -การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ได้สร้างความท้าทายที่ไม่เคยมีมาก่อนต่อภูมิภาคและประเทศต่างๆทั่วโลก รวมทั้งกลุ่มอาเซียน ในสภาวการณ์ดังกล่าว เมื่อกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา ตามความคิดริเริ่มของเวียดนาม ซึ่งเป็นประธานอาเซียน 2020 อาเซียนได้จัดการประชุมวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ระดับสูงพิเศษอาเซียนและอาเซียน + 3 เพื่อหารือมาตรการรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19
ดร. ChheangVannarith |
ต่อไปนี้ ขอเชิญท่านดูสาระสำคัญในบทสัมภาษณ์ดร. ChheangVannarith สมาชิกคณะกรรมการฝ่ายบริหารของสถาบันวิสัยทัศน์เอเชียหรือเอวีไอ สังกัดองค์กร think - tank ที่วิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของกัมพูชาเกี่ยวกับผลงาน ความหมายและบทบาทของแต่ละประเทศในการประชุมเหล่านี้
สำหรับคำถามเกี่ยวกับผลงานของการประชุมวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ระดับสูงอาเซียนและอาเซียน +3 ดร. ChheangVannarith เผยว่า “การประชุมเหล่านี้ได้ส่งสาส์นสำคัญ 3 ข้อ คือ ยกย่องคำมั่นทางการเมืองของผู้บริหารของภูมิภาคเกี่ยวกับการรับมือผลกระทบจากโรคระบาดในทุกด้าน โดยในแถลงการณ์ร่วมของการประชุมอาเซียนได้มีการย้ำถึงวิธีการเข้าถึงของอาเซียน 2 คือส่งเสริมการประสานงานด้านนโยบายในระดับภูมิภาคโดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลข่าวสาร ค้ำประกันและธำรงค์ห่วงโซ่อุปทานระหว่างประเทศโดยเฉพาะในด้านยารักษาโรคและอาหาร 3 คือคำมั่นเกี่ยวกับการเงิน การสมทบเข้ากองทุนรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ของอาเซียน ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมากเพื่อช่วยให้ประเทศต่างๆฟันฝ่าวิกฤต ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นระหว่างกันและความมั่นใจของบรรดาประเทศอาเซียนในการรับมือความท้าทายต่างๆ”
เมื่อกล่าวถึงบทบาทของเวียดนาม ซึ่งเป็นประธานอาเซียน 2020 ในการประชุมสองนัดดังกล่าว ดร. ChheangVannarith ได้ให้ข้อสังเกตว่าการที่อาเซียนอยู่ฝ่ายเดียวกันและมีเสียงพูดเดียวกันในปัญหาใหญ่ๆระดับภูมิภาค เช่น วิกฤต ภัยพิบัติและโรคระบาด มีความหมายสำคัญเป็นอย่างยิ่ง "อาจกล่าวได้ว่า ในฐานะประธานอาเซียน 2020 เวียดนามทำดีมากโดยเสนอจัดประชุมเหล่านี้ นี่เป็นครั้งแรกที่อาเซียนจัดการประชุมวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ระหว่างผู้นำระดับสูงภายในอาเซียนและระหว่างอาเซียนกับหุ้นส่วน ในขณะที่ต้องรับมือความยากลำบากต่างๆ จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 การประชุมเหล่านี้ได้มีส่วนร่วมสำคัญในการขยายความร่วมมือด้านนโยบาย การแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลและประสบการณ์ ตามเจตนารมณ์ของหัวข้อปีอาเซียน 2020 เวียดนามได้พยายามผลักดันการเชื่อมโยงและการเป็นฝ่ายรุกของอาเซียนให้มากที่สุด ส่วนในเวลาข้างหน้า ในฐานะประธานอาเซียน เวียดนามจะส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลต่อไปเพื่อขยายปฏิสัมพันธ์ภายในกลุ่มและประสานงานกับคณะเลขาธิการอาเซียนในการรับมือผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19”
เกี่ยวกับบทบาทของอาเซียนในการรับมือปัญหาระดับภูมิภาค โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ดร. ChheangVannarith แสดงความคิดเห็นว่า "การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 คือบททดสอบบทบาทการนำภูมิภาคของอาเซียนเพื่อรับมือวิกฤตการณ์ต่างๆ ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดอย่างมีประสิทธิภาพและลดผลเสียหายให้เหลือน้อยที่สุด จำเป็นต้องมีการเข้าร่วมของทุกประเทศสมาชิกและต้องมีความเชื่อมั่นระหว่างกันทั้งภายในกลุ่มและระหว่างอาเซียนกับบรรดาประเทศหุ้นส่วนในกรอบอาเซียน +3 จีน ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลีมีศักยภาพสูงและมีประสบการณ์ในการแก้ไขวิกฤตมาก ดังนั้นต้องทำอย่างไรเพื่อรณรงค์ให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมและให้การช่วยเหลืออาเซียน โดยเฉพาะสมทบเงินทุนให้แก่กองทุนรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ของอาเซียน ขอย้ำอีกครั้งว่า เวียดนามปฏิบัติหน้าที่การเชื่อมโยงอาเซียนกับ 3 ประเทศหุ้นส่วนนี้ได้เป็นอย่างดีแล้ว”
สำหรับส่วนร่วมของประเทศกัมพูชา ดร. ChheangVannarith เผยว่า “อาเซียนเป็นเสาหลักสำคัญในนโยบายการต่างประเทศของกัมพูชา การปรับปรุงโครงสร้างภูมิภาคอาเซียนคือประเด็นที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆของกัมพูชา ดังนั้น กัมพูชาพยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อมีส่วนร่วมต่อการสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ถึงแม้แหล่งพลังภายในประเทศมีจำกัด แต่ในการประชุม 2 นัดดังกล่าว สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาได้เสนอความคิดริเริ่มต่างๆ เช่น กลไกการช่วยเหลือเศรษฐกิจให้แก่ประเทศต่างๆในภูมิภาค โดยเฉพาะ ประชาชนในกลุ่มเสี่ยง สถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมและกลุ่มเป้าหมายที่รับผลกระทบหนักที่สุดจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19”.
ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุเวียดนามประจำกัมพูชา