พบปะศิลปินเชิดหุ่นกระบอกลาว วันนะเลด เวตดาวง
Dieu Hong - VOV5 -  
(VOVWORLD) - คุณวันนะเลด เวตดาวง อายุ 48 ปีมีประสบการณ์เชิดหุ่นกระบอกในประเทศลาวมากว่า 30 ปี แม้เกิดในครอบครัวที่ไม่มีใครเป็นศิลปินแต่ตอนอายุ 17 ปี เขาก็สมัครเข้าเป็นนักแสดงหุ่นกระบอกของคณะหุ่นกระบอกแห่งชาติลาวแล้วทำงานจนถึงปัจจุบัน โดยไม่เพียงแต่เป็นนักเชิดหุ่นที่เก่งเท่านั้น แต่เขายังเป็นช่างประดิษฐ์ตัวหุ่นกระบอกและวิจัยเกี่ยวกับการแสดงหุ่นกระบอกลาวอีกด้วย โดยผลงานแห่งการสร้างสรรค์พร้อมประสบการณ์ในการเชิดหุ่นได้ทำให้เขาได้รับการเคารพนับถือจากศิลปินรุ่นใหม่ โดยยกย่องให้เป็นศิลปินอาวุโสและครูที่กระตือรือร้นและหลงไหลในการเชิดหุ่นกระบอก
ศิลปินเชิดหุ่นกระบอกลาว วันนะเลด เวตดาวง |
ที่หลังเวทีในงานมหกรรมหุ่นเชิดนานาชาติครั้งที่ 5 ณ กรุงฮานอยเมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา คุณ วันนะเลด กำลังเตรียมพร้อมให้แก่การแสดงโดยใช้คีมบิดลวดที่เชื่อมต่อส่วนต่างๆของหุ่นเข้าด้วยกันให้แน่น เช่น ข้อมือ ข้อเท้า ตัวและหัวที่ทำจากข้องใส่ปลา ส่วนมือและเท้าของหุ่นทำจากไม้แห้ง คุณ วันนะเลด เผยว่า ลวดเหล็กมีขนาดเล็กและหาง่ายและช่วยให้การแสดงของหุ่นดูคล่องแคล่ว โดยเฉพาะตัวหุ่นชาวนาที่มีความสูงประมาณ 1 เมตรและต้องใช้คนเชิดสองคนโดยคุณ วันนะเลด รับผิดชอบในการควบคุมส่วนเท้าและหัวของหุ่น จึงต้องย่อตัวในขณะทำการแสดง แม้การแสดงใช้เวลาแค่ 3 นาทีแต่ก็ต้องใช้พลังทั้งหมด ในการเชิดหุ่นกระบอกเรื่องนี้ มีหุ่นทั้งหมดเกือบ 60 ตัว “เราใช้ข้องใส่ปลาของคนลาวเพื่อทำหัวและตัวหุ่น ส่วนเส้นผมของหุ่นก็เอามาจากต้นกล้วยตากแห่ง ขาและมือทำจากกิ่งไม้แห้งขนาดเท่านิ้วแล้วเชื่อมต่อด้วยลวดเหล็ก ส่วนมือผูกด้วยเชือกที่ทำจากก้านกล้วยตากแห้ง วัสดุที่ใช้ทำหุ่นหาไม่ยากแต่เรื่องที่ยากคือ ต้องทำอย่างไรให้ตัวหุ่นสามารถเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว เชิดง่ายและมีความเป็นศิลปะ”
คุณ วันนะเลด ชอบศิลปะตั้งแต่ยังเป็นเด็ก โดยได้เรียนวิชาการฟ้อนรำพื้นบ้านในโรงเรียนศิลปะและดนตรีลาวแต่ไม่ได้เป็นศิลปินฟ้อนรำเพราะเขาชอบการเชิดหุ่นเมื่อเห็นว่าการเชิดหุ่นนั้นก็ต้องมีทักษะของศิลปินฟ้อนรำอีกด้วยและสิ่งที่ทำให้เขาสนใจหลงไหลที่จะค้นคว้าคือต้องเชิดอย่างไรเพื่อใส่อารมณ์ลงไปในตัวหุ่นให้ดูมีชีวิตชีวา
นอกจากไปแสดงเชิดหุ่นในงานมหกรรมนานาชาติและในโรงเรียนต่างๆทั่วประเทศลาวแล้ว คุณ วันนะเลด ยังทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับศิลปะการเชิดหุ่นพื้นเมืองของประชาชนลาวอีกด้วย “ผมและสมาชิกในคณะบางคนกำลังศึกษาเกี่ยวกับการเชิดหุ่น Itok ในหลวงพระบาง ซึ่งเป็นมรดกแห่งชาติของลาว การเชิดหุ่น Itok ปรากฎตั้งแต่ยุคล้านช้างแต่เดี๋ยวนี้ได้สูญหายไป นี่เป็นการเชิดหุ่นในพระราชวังเท่านั้น ซึ่งก่อนที่เชิดก็ต้องทำพิธีไหว้ครู มิฉะนั้นก็ไม่มีใครกล้าเชิด ผมกำลังวิจัยและประดิษฐ์หุ่นที่คล้ายๆกับตัวหุ่น Itok แต่ใหญ่กว่าเพื่อเชิดให้แก่ประชาชนได้ชมโดยไม่ต้องทำพิธีเหมือนบรรพบุรุษ”
ศิลปิน วันนะเลด (ซ้าย) กับศิลปินต่างๆในคณะ
|
ท่านกำลังฟังเสียงแคนในเรื่อง“เสียงบ้านฉัน” ซึ่งเป็นไอเดียร์ของคุณวันนะเลด เขาเป็น 1 ใน 17 สมาชิกของคณะเชิดหุ่นกระบอกแห่งชาติลาวและเป็นหนึ่งในศิลปินอาวุโสของคณะ จึงมีโอกาสไปแสดงในประเทศต่างๆ คุณ วันนะเลด เผยว่า นี่เป็นโอกาสเพื่อเรียนรู้ประสบการณ์และศึกษาการเชิดหุ่นในทั่วโลก พร้อมทั้งเป็นโอกาสเผยแพร่ศิลปะการเชิดหุ่นและวัฒนธรรมลาวต่อโลก
“เมื่อเดินทางไปแสดงในประเทศต่างๆ รวมทั้งบรรดาประเทศอาเซียน เอเชียและยุโรป ซึ่งบางทีมีประเทศที่ผมไม่เคยรู้จักธงชาติเลยแต่เมื่อเห็นธงชาติลาวโบกสะบัดบนท้องฟ้าประเทศนั้นผมก็รู้สึกภูมิใจและบางทีก็น้ำตาคลอเบา ส่วนผู้ชมและศิลปินในคณะเชิดหุ่นของประเทศต่างๆก็ชอบมากเพราะไม่เคยรู้จักประเทศลาว ไม่ทราบว่า ประเทศลาวอยู่ที่ไหนแต่ก็รู้สึกประทับใจต่อศิลปะการเชิดหุ่นกระบอกของลาว”
สำหรับนักแสดงหุ่นกระบอกรุ่นใหม่ คุณ วันนะเลด เสมือนเป็นทั้งครูทั้งเพื่อนร่วมงานโดยเขาได้สอนให้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายและเทคนิคการเชิดหุ่นบนเวที คุณ จันสะหมอน พมมะจัน เพื่อนร่วมงานของคุณ วันนะเลด และคุณแห่ง ผู้ชมคนหนึ่งได้เผยว่า “ก่อนการเชิดหุ่น พวกเราต้องฝึกการเคลื่อนไหวของร่างกายเพื่อให้มีความคล่องแคล่วและถ่ายทอดอารมณ์ไปสู่ตัวหุ่น คุณ วันนะเลด สอนให้พวกเราเทคนิคต่างๆในด้านนี้ โดยเฉพาะการวิธีการเชิดหุ่นให้ดีที่สุด”
“เมื่อเห็นคุณ วันนะเลด เชิดหุ่นที่ทำจากข้องใส่ปลาได้อย่างคล่องแคล่ว ฉันชอบมาก การเคลื่อนไหวต่างๆของตัวหุ่น เช่น การเกาหัว ดูมีเสน่ห์มาก”
การเชิดหุ่นอย่างมีเสน่ห์และคล่องแคล่วได้ช่วยให้คุณ วันนะเลด ได้รับรางวัลศิลปินเชิดหุ่นยอดเยี่ยมในงานมหกรรมหุ่นเชิดนานาชาติครั้งที่ 5 ณ กรุงฮานอย ซึ่งคุณ วันนะเลด บอกว่า นี่คือกำลังใจให้เขาพยายามมากขึ้นในการเชิดหุ่นกระบอกต่อไป.
Dieu Hong - VOV5