ศึกษาค้นคว้าความงามที่เป็นเอกลักษณ์ของสินค้าศิลปะหัตถกรรมไทย

(VOVworld)ความงาม ความคิดสร้างสรรค์และความหลากหลายของศิลปะและวัฒนธรรมไทยได้ถูกแนะนำในงาน นิทรรศการวัฒนธรรม ศิลปะไทยผ่านการแสดงสินค้าศิลปะหัตถกรรมจาก 4 ภาค เช่น การทำหุ่น ถุงดอกไม้แห้ง ภาพผ้าบาติก การแกะสลักผักผลไม้และการทำกระทง นี่คือหนึ่งในกิจกรรมที่มีขึ้นในกรอบงานวันวัฒนธรรมไทยในเวียดนามเมื่อเร็วๆ นี้ ณ กรุงฮานอยเพื่อฉลองครบรอบ 40 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเวียดนาม-ไทย

(
VOVworld)ความงาม ความคิดสร้างสรรค์และความหลากหลายของศิลปะและวัฒนธรรมไทยได้ถูกแนะนำในงานนิทรรศการวัฒนธรรม ศิลปะไทยผ่านการแสดงสินค้าศิลปะหัตถกรรมจาก 4 ภาค เช่น การทำหุ่น ถุงดอกไม้แห้ง ภาพผ้าบาติก การแกะสลักผักผลไม้และการทำกระทง นี่คือหนึ่งในกิจกรรมที่มีขึ้นในกรอบงานวันวัฒนธรรมไทยในเวียดนามเมื่อเร็วๆนี้ ณ กรุงฮานอยเพื่อฉลองครบรอบ 40 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเวียดนาม-ไทย

ศึกษาค้นคว้าความงามที่เป็นเอกลักษณ์ของสินค้าศิลปะหัตถกรรมไทย - ảnh 1
นาง จิราวรรณ แววสมณะ ช่างศิลป์ทำหุ่นกำลังถือหุ่น 1 ตัวและแนะนำให้ผู้ที่เข้าชมงาน

เวลา 16.00 น. ถึงแม้จะมีฝนตกในกรุงฮานอย แต่งานนิทรรศการวัฒนธรรม ศิลปะไทยยังคงได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากผู้ชม งานนี้จัดขึ้นในพื้นที่เกือบ 500 ตารางเมตร สองข้างทางเข้างานคือโต๊ะที่จัดแสดงสินค้าศิลปะหัตถกรรมจาก 4 ภาคของไทย “วัสดุ ส่วนหัวของหุ่นจะเป็นพวก plastic leis fiber wrap ส่วนกระบอกคือกระบอกไม้ไผ่ ส่วนผ้าคือผ้าไหมแท้ของประเทศไทย แล้วเราจะมีการปักด้วยดิ้นเงิน ดิ้นทอง ประดับเพชรพลอยต่างๆ เพชรพลอยเป็น Crystal สำหรับประดับตกแต่งหัวให้มีความวิจิตงดงามมากขึ้น อันนี้คือเส้นทองเอาไว้สำหรับปักทำลาย นี่คือทองผสมสำหรับดิน”
นาง จิราวรรณ แววสมณะ ช่างศิลป์ทำหุ่นกำลังถือหุ่น 1 ตัวและแนะนำให้ผู้ที่เข้าชมงาน โดยหัวของหุ่นทาสีขาว และติดกับไม้ไผ่ ยาว 50 เซนติเมตรเพื่อทำเป็นตัวหุ่น และตัวหุ่นใส่ชุดไทยที่มีสีแดงและสีเขียว ซึ่งดูสวยงามตระการตามาก คุณป้า วันหว่าง อายุ 66 ปีและคุณป้า บั่งเลิม อายุ 65 ปีรู้สึกตื่นเต้นเมื่อได้ฟังคำแนะนำเกี่ยวกับหุ่นของไทย“สิ่งที่สร้างความประทับใจในงานมากที่สุด คือวิธีการทำหุ่นของไทย เมื่อมองดูหุ่นของไทยก็จะเห็นถึงเอกลักษณ์เฉพาะ หุ่นมีท่ารำอ่อนช้อย ซึ่งช่วยให้เราทราบว่า นี่คือประเทศไทย”
“งานนิทรรศการได้ช่วยให้ผู้ชมเห็นว่า ไทยคือประชาชาติที่มีฝีมือด้านงานช่าง ทุกคนต่างนิยมผลิตภัณฑ์ของไทย”

ศึกษาค้นคว้าความงามที่เป็นเอกลักษณ์ของสินค้าศิลปะหัตถกรรมไทย - ảnh 2
โต๊ะจัดแสดงผลิตภัณฑ์ดอกไม้แห้ง

“คือจริงๆแล้ว เอกลักษณ์ของไทยส่วนใหญ่มันคืออันนี้ค่ะ มันเหมือนเป็นของชำร่วย งานแต่งงาน งานมงคล งานขึ้นบ้านใหม่ เราหาของอื่นซึ่งมีคุณค่าแบบเป็นเอกลักษณ์ของไทย และต้องใช้เหมือนพวงนี้ค่ะ เป็นของสด ดอกไม้ไทย ดอกไม้แห้ง ใช้ถุงนี้ใส่ในตู้ให้หอมๆ ไม่ให้มีกลิ่นอับ สดชื่นที่น้องนั่งอยู่ใกลๆสดชื่นนะ อันนี้ เราใช้ส่วนใหญ่กุหลาบ ก็คิดว่าที่ของเราก็มี ของเวียดนามก็มี อันนี้เป็นเหมือนกับสมัยก่อนในวัง มีดอกไม้ มีอะไรที่หอมก็ทำให้แห้ง มีกลิ่นหอมขึ้น อันนี้เป็นของโบราณสืบทอดกันมา เป็นเอกลักษณ์ของไทย”
ข้างๆโต๊ะที่จัดแสดงหุ่นคือโต๊ะจัดแสดงผลิตภัณฑ์ดอกไม้แห้ง เช่นดอบกุหลาบและดอกมะลิ ดอกเล็กๆหลากสีสันและมีกลิ่นหอมถูกเก็บในชามที่ทำจากเงิน ก็มีถุงหลายขนาดที่ยังไม่ใส่ดอกไม้แห้งวางไว้ใกล้ๆดอกไม้แห้งให้ลูกค้าเลือก นอกจากนั้น ยังมีถุงที่ใส่ดอกไม้แห้งแล้วที่มีกลิ่นหอมโชว์ให้ผู้ชมงานได้ดม

ศึกษาค้นคว้าความงามที่เป็นเอกลักษณ์ของสินค้าศิลปะหัตถกรรมไทย - ảnh 3
ช่างศิลป์ต่อศักดิ์ สุทธิสา กำลังโชว์การวาดผ้าบาติก

ส่วนโต๊ะจัดแสดงภาพผ้าบาติกเป็นจุดที่ดึงดูดผู้ชมมากที่สุด เพราะสำหรับชาวเวียดนาม ภาพผ้าบาติกถือเป็นสิ่งใหม่ โดยเฉพาะวิธีที่ช่างศิลป์สร้างภาพผ้าบาติก จากฝีมือของช่างศิลป์ต่อศักดิ์ สุทธิสา   ผ้าบาติกที่มีลวดลายที่หลากหลาย คือดอกไม้ ปลา ปะการังหรือชีวิตประจำวันของชาวท้องถิ่นก็เริ่มปรากฎให้ผู้ชมได้เห็นอย่างชัดเจน “วิธีการทำภาพบาติกมี 4 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกคือการเขียนเส้นเทียนที่ผมกำลังสาธิตอยู่ ขั้นตอนที่ 2 คือลงสี ขั้นตอนที่ 3 คือเคลือบน้ำยากันสีตก ขั้นตอนสุดท้ายก็จะขจัดเส้นเทียนออก ด้วยวิธีการต้ม ต้มเสร็จก็ได้เป็นชิ้นงานออกมา ก็คือผ้าชิ้นนี้ แหล่งกำเนิดของผ้าบาติกมาจากอินโดนีเซีย และเผยแพร่ยังภาคใต้ประเทศไทย มาสู่มาเลเซียแล้วก็มาสู่ทางตอนใต้ของไทย ปัจจุบัน ผ้าในประเทศไทยก็มีผ้าบาติกเยอะ อยู่แถวตอนภาคใต้ และลุกลามไปยังทั่วประเทศไทย ผ้าเช็ดหน้าตัวนี้พื้นละ 100 บาท ภาพพวกนั้นจะเป็นผ้าไหมของไทย แล้วนำไปลวดลายอีกที่หนึ่ง ตัวนี้ก็เป็นสัญลักษณ์ของผ้าบาติก เป็นงานชิ้นเดียวที่ทำเสร็จแล้วก็จบเลย ไม่สามารถทำได้อีก ไม่เหมือนผ้าพิมพ์ เป็นผ้าชิ้นเดียวในโลก เพราะเกิดจากการเขียนเทียนสดๆ การระบายสีสดๆ สีตัวนี้คือสีเคมี แต่เราได้ทำเลียนแบบสีธรรมชาติ ตัวนี้คือผ้า cotton ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ขั้นตอนการทำผ้าบาติกของไทยยังเหมือนเดิม แต่สิ่งที่ทำให้แตกต่างก็คือตามสภาพท้องถิ่นก็คือลวดลายจะเปลี่ยนแปลงไป อย่างเช่นลวดลายของผมคือปรับ ประยุกต์ให้เข้ากับสภาพแวดล้อม เช่นในภาคใต้ของไทย บ้านเมืองที่ติดอยู่กับทะเล ลายส่วนใหญ่ก็เป็นลายทะเล ลายปลา แต่เมื่อถึงภาคอีสานก็ปรับลวดลายปรับเกี่ยวกับธรรมชาติ”
คุณ ห่งกวน กำลังตั้งใจชมช่างศิลป์ ต่อศักดิ์ สุทธิสา  เขียนเส้นเทียนบนผ้าบาติกด้วยลวดลาย คือดอกไม้ 5 กลีบ รอบๆเส้นขอบของผ้าบาติกที่มีพื้นที่เกือบ 1 ตารางเมตร ภายหลังเกือบ 10 นาที การเขียนเส้นเพื่อสร้างลวดลายก็เสร็จ “ผมเคยเห็นผลิตภัณฑ์ทำจากผ้าบาติกหลายครั้ง แต่นี่คือครั้งแรกที่ผมเห็นขั้นตอนการเขียนเส้นเทียนเพื่อสร้างลวดลายของผ้าบาติก ช่างศิลป์ใช้หลายสีสัน แต่ผสมสีสันอย่างกลมกลืนเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ประกอบภาพต่างๆ เช่นคลื่น สัตว์และดอกไม้ ผมเห็นว่า วัฒนธรรมและชีวิตของชาวไทยมีความกลมกลืนกับธรรมชาติ ผ่านการจัดงานนี้ ผมมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับเอกลักษณ์วัฒนธรรมของไทย”

ศึกษาค้นคว้าความงามที่เป็นเอกลักษณ์ของสินค้าศิลปะหัตถกรรมไทย - ảnh 4
งานนิทรรศการวัฒนธรรม ศิลปะไทยได้สร้างความประทับใจให้แก่ผู้เข้าชมเกี่ยวกับประเทศไทยที่พัฒนา และเต็มไปด้วยเอกลักษณ์วัฒนธรรม

แม้ขอบเขตของงานนิทรรศการวัฒนธรรม ศิลปะไทยจะไม่ใหญ่มาก แต่ก็ได้สร้างความประทับใจให้แก่ผู้เข้าชมเกี่ยวกับประเทศไทยที่พัฒนา และเต็มไปด้วยเอกลักษณ์วัฒนธรรม ดั่งเช่นความปรารถนาของนาย มานพชัย วงศ์ภักดี เอกอัครราชทูตไทยประจำเวียดนามที่กล่าวในพิธีเปิดงานว่า“จากการจัดงานนิทรรศการวัฒนธรรม ศิลปะไทยผ่านการจัดแสดงสินค้าศิลปะหัตถกรรมของไทยจะช่วยให้ผู้ชมมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับวัฒนธรรมของไทย”.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด