การพัฒนาศิลปะการร้อง กาจู่ ในกรุงฮานอย

(VOVworld)-ฮานอยเป็นหนึ่งในถิ่นกำเนิดของศิลปะการร้อง กาจู่โดยได้มีการจัดตั้งสโมสรกาจู่ที่มีชื่อเสียงเช่น สโมสรกาจู่ทังลอง สโมสรกาจู่ท้ายห่า สโมสรกาจู่ฮานอย เป็นต้น และได้มีการผลิตศิลปินกาจู่ที่มีความสามารถดีเด่น นับตั้งแต่ศิลปะการร้องกาจู่นี้ได้รับการรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมที่เป็นตัวแทนของมนุษยชาติที่ควรได้รับการอนุรักษ์โดยด่วนจากองค์การยูเนสโก้ จำนวนสโมสรเพลงกาจู่ของฮานอยก็ได้รับการขยายเพิ่มขึ้น


(VOVworld)-ฮานอยเป็นหนึ่งในถิ่นกำเนิดของศิลปะการร้อง กาจู่โดยได้มีการจัดตั้งสโมสรกาจู่ที่มีชื่อเสียงเช่น สโมสรกาจู่ทังลอง สโมสรกาจู่ท้ายห่า สโมสรกาจู่ฮานอย เป็นต้น และได้มีการผลิตศิลปินกาจู่ที่มีความสามารถดีเด่น นับตั้งแต่ศิลปะการร้องกาจู่นี้ได้รับการรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมที่เป็นตัวแทนของมนุษยชาติที่ควรได้รับการอนุรักษ์โดยด่วนจากองค์การยูเนสโก้ จำนวนสโมสรเพลงกาจู่ของฮานอยก็ได้รับการขยายเพิ่มขึ้น

การพัฒนาศิลปะการร้อง กาจู่ ในกรุงฮานอย - ảnh 1
สโมสรกาจู่ท้ายห่า

เมื่อเทียบกับ9สโมสรในปี2009 ปัจจุบันกรุงฮานอยมีสโมสรกาจู่14แห่งรวมศิลปินอาชีพที่สามารถถ่ายทอดศิลปะแขนงนี้50คนและศิลปินสมัครเล่นกว่า200คน โดยทุนที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆของสโมสรนั้นอาศัยการสบทบตามความสมัครใจของบรรดาศิลปินและผู้ที่รัก กาจู่ นาง โด๋ถิหาว นายกสมาคมศิลปะพื้นเมืองฮานอยเผยว่า “ได้มีการตั้งสโมสรกาจู่หลายแห่งและดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ แต่สโมสรเหล่านี้ริเริ่มจากศิลปินที่มีความรักและหลงไหลในเพลงทำนองกาจู่เป็นชีวิตจิตใจจึงได้รับการจัดตั้งขึ้นเองโดยไม่มีการกำหนดแนวทางการพัฒนาทั้งด้านวิชาชีพและศิลปะ”

อุปสรรคใหญ่ของสโมสรกาจู่ต่างๆในฮานอยคือสถานที่ตั้งและเวทีการจัดแสดงประจำ แต่สิ่งนี้ก็ไม่ทำให้ทุกคนย่อท้อ คุณหวูถิถวี่ลิงห์ สมาชิกสโมสรกาจู่ฟู้ถิ เผยว่า สโมสรของเขาได้รับการจัดตั้งบนพื้นฐานของความรักเพลงทำนองกาจู่ของสมาชิก3คนและการฝึกร้องกาจู่ต้องผลัดกันจัดที่บ้านของแต่ละคน “เราฝึกกันสัปดาห์ละหนึ่งรอบ เมื่อตอนที่คุณป้าจุ๊ก ศิลปินกาจู่อาวุโสยังมีชีวิตอยู่เราก็มาที่บ้านเขาเพื่อฝึกและเรียนรู้เพิ่มเติม เดี๋ยวนี้เหลือศิลปินกาจู่รุ่นเดอะเหงวียนฟู้แดที่จังหวัดหายเยืองที่ยังมีชีวิตอยู่แต่สุขภาพก็ไม่ค่อยดีเราจึงหาโอกาสไปเยี่ยมให้กำลังใจเขาเท่านั้น”

การพัฒนาศิลปะการร้อง กาจู่ ในกรุงฮานอย - ảnh 2

เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปะการร้องกาจู่ ไม่เพียงแต่ผู้ที่รักศิลปะแขนงนี้เท่านั้นหากหน่วยงานวัฒนธรรมและสโมสรกาจู่ของกรุงฮานอยก็ให้ความสนใจต่อการถ่ายทอดและฝึกอบรมให้แก่คนรุ่นใหม่ ดร.เหงวียนถิมิงลี้ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและส่งเสริมการพัฒนาคุณค่าของมรดกวัฒนธรรมเวียดนามเผยว่า“สิ่งแรกที่ต้องทำอย่างเร่งด่วนคือต้องถ่ายทอดกาจู่ให้คนรุ่นใหม่รับรู้และสืบต่อไปเพื่อให้พวกเขาพัฒนาและผลักดันการอนุรักษ์ นอกจากนั้นเราต้องส่งเสริมให้ทั้งชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของมรดกนี้และกลายเป็นผู้ชมเพื่อเข้ามามีส่วนร่วมอนุรักษ์การร้องกาจู่”

ควบคู่กับการถ่ายทอดศิลปะการร้องเพลงทำนองกาจู่ให้แก่คนรุ่นใหม่ การแสวงหากลุ่มผู้ชมรุ่นใหม่ให้แก่ศิลปะนี้ก็มีความสำคัญและจำเป็น ปัจจุบันทางอ.ดงแองได้ริเริ่มนำศิลปะนี้เข้าในรายการศึกษาภาคสนามของนักเรียนในต.เลียนห่า ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของกาจู่ โลเค เพราะตระหนักได้ดีว่าเมื่อยังมีผู้ชมกาจู่ก็จะมีโอกาสพัฒนาอย่างมั่นคง นาง ฝุ่งถิห่ง หัวหน้าสโมสรกาจู่สังกัดศูนย์พัฒนาศิลปะและดนตรีเวียดนามเผยว่า“การนำศิลปะการร้องกาจู่เข้าโรงเรียนก็เพื่อให้คนรุ่นใหม่รู้จักศิลปะนี้แต่เนิ่นๆ ซึ่งนี่คือความปรารถนาของเราที่อยากเสนอให้ทางการหน่วยงานทุกระดับให้ความสนใจเพื่อให้กิจกรรมนี้มีขึ้นเป็นประจำและต่อเนื่อง”

นอกจากความพยายามส่งเสริมและอนุรักษ์การร้องเพลงทำนองกาจู่โบราณกว่า30ทำนองแล้ว สโมสรกาจู่ของฮานอยยังประพันธ์ใหม่อีก18ทำนองเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ชม ส่วนในงานมหกรรมการประกวดการร้องกาจู่สำหรับคนรุ่นใหม่ฮานอยปี2016ที่ผ่านมาได้มีผู้เข้าร่วม36คนอายุตั้งแต่6-30ปี ซึ่งสิ่งนี้ได้แสดงให้เห็นว่าคนรุ่นใหม่ฮานอยก็ให้ความสนใจและตระหนักถึงคุณค่าของมรดกวัฒนธรรมนี้เพื่อมีส่วนร่วมอนุรักษ์และพัฒนากาจู่ให้คงอยู่ตลอดไป.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด