(VOVWORLD) -เพื่อตอบสนองแนวโน้มการพัฒนาของสังคม ในหลายปีที่ผ่านมา ศิลปะพื้นเมืองต่างๆของเวียดนาม เช่น การแสดงต่วงหรืออุปรากร ศิลปะการแสดงแจ่ว การแสดงหุ่นกระบอกน้ำและการร้องเพลงทำนองกาจู่ไม่เพียงแต่ได้รับการแสดงในงานต่างๆของหมู่บ้านและโรงละครหลายแห่งเท่านั้น หากยังมีเปิดการแสดงในกิจกรรมวัฒนธรรมชุมชนหลายที่ เพื่อเป็นการอนุรักษ์คุณค่าของศิลปะแขนงนี้ให้สามารถพัฒนาต่อไปในยุคสมัยใหม่และเป็นที่ชื่นชอบจากผู้ชม โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ หน่วยงานวัฒนธรรมได้มีมาตรการที่คล่องตัวและพร้อมเพรียง
การแสดงศิลปะพื้นเมืองในศูนย์วัฒนธรรมศิลปะ เลขที่ 22 ถนนห่างบ่วม |
ในหลายปีที่ผ่านมา กรุงฮานอย จังหวัดและนครต่างๆทั่วประเทศได้จัดงานมหกรรมศิลปะพื้นเมืองและรายการแสดงศิลปะต่างๆ โดยดึงดูดความสนใจจากผู้ชมเป็นอย่างมาก ศิลปิน เหงวียนเท้เซิน ผู้จัดการด้านศิลปะได้เผยว่า เพื่อให้ศิลปะพื้นเมืองกลายเป็นผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมและดึงดูดผู้ชม ต้องจัดการแสดงในสถานที่มรดกวัฒนธรรมทางต่าง ๆ
“ถ้าหากศิลปะพื้นเมืองถูกแสดงในโรงละครต่างๆ ก็ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ แต่ถ้าหากศิลปะพื้นเมืองได้รับการแสดงในสถานที่ทางมรดกวัฒนธรรมต่าง ๆ ก็จะช่วยให้การแสดงมีความหมายมากขึ้น เช่น บทละครต่วงเรื่อง “เซินเหิว” ถ้าหากแสดงในบ้านชุมชนอย่าง เช่น เขตวันเจืองผสานกับการแสดงแสงสี ก็จะดึงดูดความสนใจของประชาชนในเขตนี้ได้เป็นจำนวนมาก นี่จะเป็นความคิดสร้างสรรค์และสร้างคุณค่าใหม่ ดึงดูดความสนใจของชุมชน”
ส่วนนาง ลือถิแทงเล อาจารย์คณะอุตสาหกรรมวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอย ได้เผยว่า เพื่อประชาสัมพันธ์ศิลปะพื้นเมือง ต้องมีสถานที่ที่จัดการแสดงเป็นประจำ เช่น ศูนย์วัฒนธรรมศิลปะ เลขที่ 22 ถนนห่างบ่วม เขตหว่านเกี๊ยม กรุงฮานอย ศูนย์การพบปะแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในย่านถนนโบราณ 36 สายฮานอย เลขที่ 50 ถนนด่าวยวีตื่อ กรุงฮานอย
“ดิฉันคิดว่า ควรมีการจัดรายการแสดงศิลปะต่างๆเป็นประจำทุกวัน ทุกสัปดาห์ เพื่อให้เมื่ออยากชมการแสดงศิลปะพื้นเมืองของกรุงฮานอย เราจะคิดถึงสถานที่เหล่านี้ ปัจจุบัน นักท่องเที่ยวยังขาดข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่และเวลาจัดรายการแสดงศิลปะพื้นเมือง ดังนั้น ต้องจัดสรรข้อมูลและมีแอพฯต่างๆเกี่ยวกับตารางรายการแสดงศิลปะในกรุงฮานอยให้แก่นักท่องเที่ยว”
การแสดงแจ่วที่วิหารกิมเงิน |
หนึ่งในมาตรการหลักที่บรรดาผู้เชี่ยวชาญย้ำในการส่งเสริมการเผยแพร่ศิลปะพื้นเมืองในชีวิตสมัยใหม่คือการผลักดันวิธีการศึกษาและการประชาสัมพันธ์ ในหลายปีที่ผ่านมา โรงละครบางแห่งในนครโฮจิมินห์ได้ผลักดันการเผยแพร่ศิลปะสู่นักเรียนและนักศึกษา ซึ่งช่วยให้คนรุ่นใหม่มีความเข้าใจและรักศิลปะพื้นเมืองมากขึ้นผ่านการจัดรายการแสดงศิลปะ
“ศิลปินแต่งหน้าและแต่งตัวสวยมาก หนูชอบมาก”
“รายการนี้น่าสนใจมาก มีการแสดงบทละครนิยายต่างๆที่มีหมายความมนุษยธรรม”
“ หนูได้รับชมการแสดงบทละครก๋ายเลืองและฟังนิยายต่างๆ หนูขอขอบคุณบรรดาศิลปินที่ได้แสดงรายการที่มีความหมายและน่าสนใจ”
คณะศิลปะต่างๆในนครโฮจิมินห์ไม่เพียงแต่จัดรายการแสดงศิลปะพื้นเมืองในโรงเรียนต่างๆเท่านั้นหากยังจัดรายการพบปะสังสรรค์ในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยต่างๆอีกด้วย ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการศึกษาและประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ ช่วยนำศิลปะพื้นเมืองมาใกล้ชิดกับคนรุ่นใหม่มากขึ้น ซึ่งวิธีการศึกษานี้กำลังได้รับการปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพในนครบางแห่ง เช่น นครโฮจิมินห์ กรุงฮานอย เมืองนามดิ่ง นาย เหงวียนแทงบิ่ง รองหัวหน้าแผนกการจัดแสดงละครของโรงละครการร้องเพลงทำนอง “โบ่ย” นครโฮจิมินห์และ ศิลปินหลายแทงมิง จากคณะศิลปะการแสดงแจ่วจังหวัดนามดิ่งได้เผยว่าได้เผยว่า
“ประชาชนที่ให้ความสนใจศิลปะพื้นเมือง รวมถึงเยาวชนนับวันเพิ่มขึ้น ซึ่งทางโรงละครฯ ศิลปินและทีมงานต้องปรับปรุงบทละครและการแสดง แต่ยังคงลักษณะของศิลปะพื้นเมืองเวียดนามเพื่อให้คนรุ่นใหม่เข้าใจบทละครง่ายขึ้น”
“ทางโรงเรียนมีกิจกรรมเพื่อศึกษาศิลปะพื้นเมือง รวมทั้งศิลปะการร้องเพลงทำนองแจ่ว นักเรียนศึกษาวิธีการแสดงและการร้องเพลงแจ่วเอง พวกเราแนะนำและสอนนักเรียนวิธีการแสดงซึ่งนักเรียนชอบมาก”
ในขณะที่การช่วยเหลือ การฝึกอบรมเป็นมาตรการหลักเพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าหลักของศิลปะพื้นเมือง การจัดรายการแสดงต่างๆในสถานที่ทางวัฒนธรรมเป็นประจำก็จะเป็นแนวทางเพื่อช่วยนำการแสดงศิลปะพื้นเมืองเข้าใกล้ผู้ชมมากขึ้น เป็นจุดนัดพบด้านวัฒนธรรมเป็นประจำของประชาชน ควบคู่กันนั้น วิธีการศึกษาศิลปะพื้นเมืองในโรงเรียนเป็นมาตรการหลักเพื่อช่วยให้รูปแบบการแสดงศิลปะพื้นเมืองได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาอย่างเข้มแข็งในชีวิตสมัยใหม่.