(VOVWORLD) - ปัจจุบัน คนรุ่นใหม่ที่ชอบและทำงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกนับวันเพิ่มขึ้น โดยเข้าร่วมกิจกรรมวัฒนธรรมชุมชนอย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะการศึกษาค้นคว้าวัฒนธรรมและการผสานศิลปะร่วมสมัย ซึ่งสร้างโอกาสให้แก่การพัฒนาอาชีพและสร้างผลงานโดดเด่นที่ได้รับความสนใจและความนิยมจากผู้ชมจำนวนมาก
กิจกรรมในกรอบโครงการวัฒนธรรมและศิลปะ “Lên Ngàn” ช่วยเชื่อมโยงมรดวัฒนธรรมกับศิลปะร่วมสมัย |
ในเวลาที่ผ่านมา เหงวียนก๊วกหว่างแอง ผู้อำนวยการและผู้ริเริ่มแพลตฟอร์มด้านวัฒนธรรมและศิลปะ “Lên ngàn” ที่ได้รับความนิยมในหมู่คนรักศิลปะ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่เนื่องจากนำเสนอผลงานที่มีความคิดสร้างสรรค์และมีการผสานศิลปะร่วมสมัย โดยได้ผสานเพลงฮิปฮอปและดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ในการแสดงต่วง หรือ อุปรากร การแสดงแจ่วและการร้องเพลงทำนองกาจู่อย่างมีความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งตอบสนองความต้องการฟังและชมการแสดงศิลปะพื้นบ้านของกลุ่มผู้สูงอายุและดึงดูดความสนใจของกลุ่มคนรุ่นใหม่ เหงวียนก๊วกหว่างแอง เผยว่า
“เพื่อให้โครงการนี้พัฒนาอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานที่มั่นคง ก็ต้องปฏิบัติมาตรการเดียวคือพัฒนาวัฒนธรรมผ่านการส่งเสริมการแสดงละครเวทีแบบดั้งเดิม ดนตรีพื้นเมือง โดยผสานกับศิลปะร่วมสมัย ซึ่งเป็นปัจจัยที่สร้างความมั่นใจให้แก่ผมในการเดินหน้าโครงการนี้ต่อไป”
ทั้งนี้ การแสดงศิลปะของกลุ่ม “Lên ngàn” ภายใต้การกำกับของเหงวียนก๊วกหว่างแองได้ดึงดูดความสนใจของผู้ชมเป็นจำนวนมาก โดยเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ณ กรุงอานอย ได้มีการเปิดม่านการแสดงละครเรื่อง “Facing Infinity” ที่มีการผสานระหว่างดนตรี การเต้นรำร่วมสมัยและการแสดงต่วง หรือ อุปรากร ซึ่งเป็นความร่วมมือในกรอบโครงการวัฒนธรรมและศิลปะ “Lên Ngàn” และโรงละครอุปรากรเวียดนามเพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้ชมรุ่นใหม่ เหงวียนก๊วกหว่างแอง เผยต่อไปว่า
“สิ่งที่น่าสนใจคือการผสานระหว่างการเต้นรำร่วมสมัยกับการแสดงอุปรากรเวียดนาม จากการเป็นผู้กำกับศิลป์และนักเขียนบท ผมอยากเชิดชูมรดกวัฒนธรรมพื้นเมืองเวียดนาม นั่นคือการแสดงอุปรากรและการเต้นรำร่วมสมัย ซึ่งเรามุ่งกลับสู่รากเหง้าเพื่อค้นคว้าและพัฒนาวัฒนธรรมเวียดนามอย่างมีความคิดสร้างสรรค์”
ในอีกวิธีการเข้าถึงด้านวัฒนธรรม การแปลงมรดกวัฒนธรรมให้อยู่ในรูปดิจิทัลนับวันมีบทบาทสำคัญและเป็นวิธีการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับแนวโน้มการพัฒนาสังคมดิจิทัลในปัจจุบัน มีส่วนร่วมบริหาร จัดสรรข้อมูลเพื่อเป็นพื้นฐานให้แก่การวิจัยทางประวัติศาสตร์และสร้างโอกาสให้แก่การศึกษาทางไกล โดยจากการส่งเสริมความคล่องตัว ความคิดสร้างสรรค์และการใฝ่เรียนรู้ของคนรุ่นใหม่ สมาชิกของโครงการ “สนทนากับศิลปะพื้นเมือง” กำลังมีส่วนร่วมอนุรักษ์และเผยแพร่คุณค่าของหมู่บ้านศิลปาชีพในกรุงฮานอยผ่านการเผยแพร่คลิปวิดีโอสั้นๆที่ชาวบ้านพูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องราวในอดีต ซึ่งล้วนเป็นเรื่องราวที่มีความหมายทางประวัติศาสตร์ของหมู่บ้าน
สมาชิกของโครงการ “สนทนากับศิลปะพื้นเมือง” |
ทั้งนี้ โครงการ “สนทนากับศิลปะพื้นเมือง” คือกิจกรรมประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับหมู่บ้านศิลปาชีพต่างๆในกรุงฮานอย เช่น หมู่บ้านวาดภาพลงรักขัดเงาหะท้าย หมู่บ้านทำแมลงปอไม้ไผ่แถกษา หมู่บ้านเชิดหุ่นกระบอกน้ำด่าวถุกและหมู่บ้านผ้าไหมหว่านฟุก ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง VICAS ART STUDIO กับสโมสรการเชื่อมโยงมรดกและได้รับการสนับสนุนจาก บริติช เคานซิล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ประชาชนทุกภาคส่วนในสังคมได้รับประโยชน์จากมรดกทางวัฒนธรรม คุณ หลีเฟืองมาย นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และนาฏศิลป์สังกัดมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอย ซึ่งดูแลงานประชาสัมพันธ์ของโครงการ“สนทนากับศิลปะพื้นเมือง” ได้เผยว่า
“โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโอกาสให้กลุ่มคนรุ่นต่างๆได้พูดคุยกัน โดยเฉพาะช่างศิลป์และชาวบ้านเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการประกอบอาชีพหัตถกรรมพื้นเมืองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งสร้างคลังข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมและหมู่บ้านศิลปาชีพ โดยพวกเราได้จัดกิจกรรมถ่ายทอดสดออนไลน์ผ่าน Live streaming ที่โรงงานและธุรกิจครัวเรือนเพื่อให้ชาวบ้านแนะนำกิจกรรมประจำวัน และตัดต่อวิดีโอให้เป็นคลิปสั้นๆสำหรับลงบนเว็บไซต์”
ทั้งนี้ การดูคลิปวิดีโอบน fanpage facebook “สนทนากับศิลปะพื้นเมือง”ช่วยให้ผู้ชมดื่มด่ำกับบรรยากาศวัฒนธรรม อีกทั้งศึกษาค้นคว้ามรดกวัฒนธรรมที่ล้ำเลิศของประชาชาติ คุณ เจิ่นมิงห่า ซึ่งดูแลงานประชาสัมพันธ์ของโครงการ“สนทนากับศิลปะพื้นเมือง” ได้เผยว่า
“พวกเราอยากสร้างผลงานด้านวัฒนธรรมเพื่อประชาสัมพันธ์และส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรมพื้นเมืองในหมู่คนรุ่นใหม่ผ่านการพูดคุยกับช่างศิลป์ ซึ่งช่วยให้ผู้ชมมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับเรื่องราวทางวัฒนธรรม”
ทั้งนี้ แพลตฟอร์มด้านวัฒนธรรมและศิลปะ “Lên ngàn” ของเหงวียนก๊วกหว่างแองและโครงการ“สนทนากับศิลปะพื้นเมือง” เป็น 2 โครงการดีเด่นของคนรุ่นใหม่เพื่อมีส่วนร่วมอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมของประชาชาติ ซึ่งแน่นอนว่า ด้วยความคิดสร้างสรรค์และความมุ่งมั่น คนรุ่นใหม่จะสามารถต่อยอดและพัฒนาศิลปะพื้นเมืองได้อย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ.