จังหวัดยาลายอนุรักษ์บรรยากาศวัฒนธรรมฆ้อง
Nguyễn Thảo -  
(VOVWORLD) - ฆ้องคือเครื่องดนตรีพื้นเมืองที่สะท้อนเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆในเขตที่ราบสูงเตยเงวียน โดยบรรยากาศวัฒนธรรมฆ้องเตยเงวียนได้รับการรับรองให้เป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติ ในเวลาที่ผ่านมา จังหวัดยาลายได้มีมาตรการอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกบรรยากาศวัฒนธรรมฆ้องเตยเงวียนอย่างมีประสิทธิภาพ
การแสดงฆ้องในพิธีรำลึกครบรอบ 15ปีที่บรรยากาศวัฒนธรรมฆ้องเตยเงวียนได้รับการรับรองให้เป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายนปี 2020 |
ทีมฆ้องเด็ก Pleiku Roh ที่เขตเอียนโด๋ะ เมือง Pleiku กำลังฝึกตีฆ้องเพื่อแสดงในกิจกรรมต้อนรับปีใหม่ 2021ตามประเพณี ทีมฆ้องเด็ก Pleiku Roh มีสมาชิก 17คน โดยศิลปินรุ่นใหม่ ซิวทึม เป็นครูสอนและสร้างแรงบันดาลใจให้แก่สมาชิกทีม Pleiku Roh ศิลปินซิวทึมเผยว่า หลังจากแต่งงานและย้ายไปอยู่อาศัยที่เมือง Pleiku Roh เมื่อปี 2008 เขาได้เห็นว่า ในพื้นที่มีแค่ทีมฆ้องของผู้สูงวัยเพียงทีมเดียว จึงตั้งใจเปิดชั้นเรียนสอนการตีฆ้องให้แก่เยาวชนและเด็กในช่วงค่ำ ต่อมา มีการจัดตั้งทีมฆ้องอีก 2ทีมสำหรับยุวชนและเยาวชน ซึ่งทำให้การแสดงฆ้องได้ปรากฎในทุกกิจกรรมของชุมชน เช่น งานแต่งงาน พิธีไหว้เจ้าขอพรให้ทารกครบเดือนและงานขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น
“คนรุ่นใหม่ในปัจจุบันติดอินเตอร์เน็ตและให้ความสนใจวัฒนธรรมจากต่างประเทศ โดยไม่สนใจวัฒนธรรมฆ้องมากนัก ผมเป็นศิลปินตีฆ้องและอยากสืบทอดศิลปะการตีฆ้องของบรรพบุรุษให้แก่คนรุ่นใหม่ ถ้าทำให้เข้าใจศิลปะแขนงนี้อย่างถ่องแท้ พวกเขาก็ชื่นชอบและเรียนการตีฆ้องได้เร็วมาก”
นาย Siu Rên กำนันผู้ใหญ่ของหมู่บ้าน O ตำบล Ia O อำเภอ Ia Grai ได้เผยว่า ชนเผ่า Jrai ถือฆ้องเป็นมรดกของครอบครัวเนื่องจากไม่เพียงแต่เป็นเครื่องดนตรีเพื่อสร้างความสุข และผ่อนคลายความเหงาเท่านั้น หากยังแสดงให้เห็นถึงความอิ่มหนำของครอบครัวอีกด้วย ซึ่งแต่ละครอบครัวในหมู่บ้านต่างพยายามซื้อฆ้องอย่างน้อย 1 ชุดเพื่อแสดงในงานสำคัญๆ โดยไม่ต้องยืมจากเพื่อน พร้อมทั้งเผยว่า ครอบครัวเขามีฆ้อง 2ชุด โดยเฉพาะมี 1ชุดสำหรับผู้อาวุโสใช้แสดงในงานที่สำคัญๆ เช่น งานศพ งานเปอร์ทีหรืองานส่งดวงวิญญาณของผู้ตายไปสู่สุคติ ซึ่งเป็นโลกของหย่าง หรือก็คือโลกแห่งเทพเจ้าและพิธีแทงกระบือ เป็นต้น
“ผมได้ซื้อฆ้องชุดที่มีค่านี้หลังจากการเก็บเกี่ยวได้ผลดีเพื่อมอบให้ลูกหลานใช้แสดงในงานที่สำคัญๆ เช่น งานศพ งานเปอร์ที พิธีกรรมแทงกระบือและงานขึ้นบ้านใหม่ อีกทั้งเพื่ออนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีของชนเผ่า ซึ่งต้องเก็บรักษาฆ้องชุดนี้เป็นอย่างดีและห้ามขายให้แก่คนอื่น”
นาย Siu Rên กำนันผู้ใหญ่ของหมู่บ้าน O ตำบล Ia O อำเภอ Ia Grai |
จังหวัดยาลายเป็นท้องถิ่นที่เก็บรักษาฆ้องมากที่สุดในเขตที่ราบสูงเตยเงวียนคือรวมกว่า 5,600 ชุด นับจนถึงปี 2020 โดยเป็นฆ้องชุดโบราณที่มีค่า 930ชุด หน่วยงานวัฒนธรรมระดับอำเภอและเมืองในจังหวัดฯได้จัดการประกวดบรรเลงฆ้องประจำปีและการมอบฆ้องให้แก่หมู่บ้านต่างๆ ซึ่งช่วยสร้างบรรยากาศวัฒนธรรมฆ้องและส่งเสริมการอนุรักษ์ฆ้องของประชาชนชนกล่มน้อยเผ่าต่างๆ นาย เหงวียนซวนห่า หัวหน้าแผนกวัฒนธรรมและการสื่อสารเมือง Pleiku ได้เผยว่า“ทุกปี ทางการท้องถิ่นได้ซื้อฆ้องเพื่อมอบให้หมู่บ้านต่างๆไว้ใช้ฝึกตีฆ้อง ส่วนแผนกชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆได้เปิดชั้นเรียนสอนการตีฆ้องให้แก่คนรุ่นใหม่ โดยศิลปินอาวุโสเป็นครูสอน ซึ่งเด็กๆก็มีความชื่นชอบและเรียนตีฆ้องเก่งมาก”
หลังจากบรรยากาศวัฒนธรรมฆ้องได้รับการรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติจากองค์การยูเนสโก้ ในตลอด 15ปีที่ผ่านมา จังหวัดยาลายได้ปฏิบัติตามคำมั่นต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การจัดงานเทศกาลฆ้องครั้งใหญ่และการยกย่องศิลปินตีฆ้อง เป็นต้น นาย เหงวียนดึ๊กหว่าง รองผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยวจังหวัดยาลายได้เผยว่า“จังหวัดยายได้จัดงานเฟสติวัลฆ้องนานาชาติเมื่อปี 2009 งานเฟสติวัลฆ้องเตยเงวียนปี 2018และเสนอให้ท้องถิ่นต่างๆสอดแทรกการสอนการตีฆ้องในหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนต่างๆ”
จังหวัดยาลายเน้นใช้ประโยชน์จากบรรยากาศวัฒนธรรมฆ้องเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว เช่น พัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน ผสานระหว่างงานเทศกาลกับมรดกทางธรรมชาติ เช่น งานเทศกาลดอกบัวตอง-ภูเขาไฟ Chư Đang Ya งานเทศกาลหญ้ามูลี่และงานวันวัฒนธรรมและกีฬาของชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ การแข่งเรือบนแม่น้ำ Pô Cô และงานมหกรรมวัฒนธรรมฆ้อง เป็นต้น ซึ่งทำให้จังหวัดยาลายเป็นจุดเด่นในการอนุรักษ์บรรยากาศวัฒนธรรมฆ้องของชนกลุ่มน้อยแห่งเขตที่ราบสูงเตยเงวียน.
Nguyễn Thảo