นักเขียนดว่ายหยอยกับนวนิยายเกี่ยวกับวัยไร้เดียงสา
( VOVworld )-นักเขียนดว่านหยอยเป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียงและมีผลงานมากมายเกี่ยวกับเด็กของเวียดนามท่านหนึ่งดังเช่นนักเขียนรุ่นเก๋าคือ โตหว่าย หวอกว่างและฝ่ามโห สไตล์การเขียนของท่านมีความใกล้ชิดและเข้าถึงจิตใจของผู้อ่านรุ่นแล้วรุ่นเล่าไม่เฉพาะเด็กเท่านั้น หากยังผู้ใหญ่อีกด้วยเพราะสามารถถ่ายทอดทิวทัศน์ธรรมชาติและชะตาชีวิตของคนผ่านปลายปากกาได้อย่างดีเยี่ยมและมีเอกลักษณ์ของภาคใต้ เช่นนวนิยายเรื่อง “ ไม้ไผ่ซาง ” “ ปลาบู่ ”และ “ แผ่นดินกับป่าภาคใต้ ” ที่ถือเป็นผลงานอมตะก็ว่าได้
( VOVworld )-
นักเขียนดว่านหยอยเป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียงและมีผลงานมากมายเกี่ยวกับเด็กของเวียดนามท่านหนึ่งดังเช่นนักเขียนรุ่นเก๋าคือ โตหว่าย หวอกว่างและฝ่ามโห สไตล์การเขียนของท่านมีความใกล้ชิดและเข้าถึงจิตใจของผู้อ่านรุ่นแล้วรุ่นเล่าไม่เฉพาะเด็กเท่านั้น หากยังผู้ใหญ่อีกด้วยเพราะสามารถถ่ายทอดทิวทัศน์ธรรมชาติและชะตาชีวิตของคนผ่านปลายปากกาได้อย่างดีเยี่ยมและมีเอกลักษณ์ของภาคใต้ เช่นนวนิยายเรื่อง “ ไม้ไผ่ซาง ” “ ปลาบู่ ”และ “ แผ่นดินกับป่าภาคใต้ ” ที่ถือเป็นผลงานอมตะก็ว่าได้
นักเขียนดว่านหยอย
คงมีคนไม่กี่คนที่รู้ว่า นวนิยาย “ แผ่นดินกับป่าภาคใต้ ” ที่สร้างชื่อเสียงให้แก่นักเขียนดว่านหยอยและเป็นผลงานที่ทรงคุณค่าของวรรณกรรมสำหรับเด็กเวียดนามในกว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาเป็นผลงานที่สร้างขึ้นตามใบสั่ง ปีค.ศ.๑๙๕๗ ขณะทำงานในสถานีวิทยุเวียดนาม นักเขียนดว่านหยอยได้รับใบสั่งจากนักเขียนเหงวียนฮุยเตื่องที่เป็นผู้อำนวยการสำนักพิมพ์กีมด่งให้เขียนนวนิยายเกี่ยวกับทิวทัศน์ทางธรรมชาติและคนภาคใต้ให้แก่เด็ก จากความคิดถึงแผ่นดินเกิดภาคใต้อย่างมิรู้วาย ท่านได้สร้างสรรค์นวนิยายเรื่อง “ แผ่นดินกับป่าภาคใต้ ” เสร็จภายใน ๑ เดือนเท่านั้น แม้ก่อนหน้านั้น ๓ เดือนไม่มีสมาธิเขียนแม้แต่คำเดียว นวนิยาย “ แผ่นดินกับป่าภาคใต้ ” กล่าวถึงชีวิตของเด็กชื่ออานที่พลัดพรากจากพ่อแม่เพราะสงครามและได้รับการเลี้ยงดูจากชาวบ้านในเขตภาคใต้ที่มีคูคลองหลายสาย มีลมหายใจของแม่น้ำสายต่างๆ ป่าไม้และเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติโดยแท้ของภาคใต้ที่มีทั้งความจริงและความลี้ลับ ทั้งนี้มาจากความรักของท่านต่อผืนดินภาคใต้ถิ่นเกิด การเก็บข้อมูลที่ดีและวิธีการเล่าเรื่องที่ทรงพลังที่ชวนความสนใจจากผู้อ่าน ผลงานนี้ได้ตีพิมพ์หลายครั้งและแปลเป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษาเช่น รัสเซีย โปแลนด์ เยอรมนีและสเปนเพราะเป็นหนังสือดีที่สุดเกี่ยวกับเด็กของเวียดนาม กวีหิวถิ่งกล่าวถึงเพื่อนนักเขียนว่า “
นักเขียนดว่านหยอยได้ทุ่มเทตลอดชีวิตนักเขียนให้แก่เด็ก ผลงานของท่านได้เข้าถึงใจไม่เฉพาะเด็กเท่านั้น หากยังผู้ใหญ่อีกด้วย ผลงานของท่านสามารถนำมาสร้างเป็นบทละครภาพยนตร์ได้อย่างดีเยี่ยม ท่านเขียนตามใบสั่งแต่ไม่ยึดติดกับใบสั่ง แต่กลับถ่ายทอดความรู้สึกของตนออกมาจากปลายปากกาจนดึงดูดใจผู้อ่านยิ่งนัก ”
จากผลงาน “ แผ่นดินกับป่าภาคใต้ ” เด็กเวียดนามรุ่นแล้วรุ่นเล่าสามารถรู้จักกับต้นกงกางของจังหวัดก่าเมา คูคลองและแม่น้ำสายต่างๆที่มีเสียงพายจ้วงน้ำ รู้จักแม่น้ำสายใหญ่เตี่ยนและเหิ่ว เด็กๆได้สร้างผลงานจิตรกรรม ดนตรีและภาพยนตร์มาเป็นส่วนประกอบการเรียนนวนิยาย “ แผ่นดินกับป่าภาคใต้ ” ครูเลถิ่แทงเติม สอนการเรียงความของโรงเรียนมัธยมต้นวินสคูล กรุงฮานอยเปิดเผยว่า “ นับเป็นผลงานที่มีลักษณะพื้นที่แต่เต็มเปี่ยมไปด้วยความรักต่อแผ่นดินเกิด แนวการเขียนที่เรียบง่ายและการบรรยายที่ตรงกับความจริงจึงสามารถเรียกความสนใจจากเด็กมาก คาบเรียนการเรียงความของที่นี่มีการบรรยายเนื้อเรื่องร้อยละ ๓๐ เท่านั้น ส่วนที่เหลือเป็นการทำงานเป็นทีมที่มีความคิดสร้างสรรค์โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและฉายวีดิโอ มีการฉายวีดิโอคลิปแนะนำภาพยนตร์เรื่อง แผ่นดินกับป่าภาคใต้ ”
นวนิยายแผ่นดินกับป่าภาคใต้
ต่อจากนวนิยายเรื่อง แผ่นดินกับป่าภาคใต้ นักเขียนดว่านหยอยยังสร้างผลงานเกี่ยวกับเด็กอีกมากมายเช่น การค้นหาอาวุธ ต้นกงกางก่าเมา เสียงเพรียกจากป่าเขาลำเนาไพร และลูกเรือสูงอายุที่ถูกขังบนเกาะร้าง ทั้งนี้เป็นประสบการณ์ความใกล้ชิดและความรักความหลงไหลของท่านต่อคนและธรรมชาติภาคใต้ดังที่นักเขียนท่านหนึ่งได้ชมเชยนักเขียนดว่านหยอยว่า “ เข้าใจวิญญาณของดิน ” เข้าใจภาษาและนิสัยของคนพื้นที่ นักเขียนดว่านหยอยยังรักธรรมชาติ ต้นไม้ใบหญ้าและสัตว์ต่างๆ คุณเลถิ่ท้ายห่ากล่าวถึงคุณว่าที่พ่อเลี้ยงที่รักของตนเองว่า เธอจำคำสั่งสอนของท่านเกี่ยวกับอาหาร ท็อฟฟี่ที่ท่านมอบให้แก่ลูกและสัตว์เลี้ยงในบ้านว่า “ คุณพ่อเข้านครโฮจิมินห์ไม่กี่วันก็ล้มป่วยและเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลท้งเญิ้ต ขณะรับการรักษาในโรงพยาบาลท่านยังเขียนลงในแผ่นกระดาษคำว่า ลูกอย่าลืมให้เจ้าจิ้งจกที่หน้าต่างกินข้าวนะ ดิฉันไม่รู้เรื่องเลย แต่พอกลับบ้านและมาที่หน้าต่างเจอจิ้งจกหลายตัวตากำลังมองไปที่หน้าต่าง คุณพ่อรักพวกมันและฝึกให้พวกมันจนชินกับเสียงเคาะที่หน้าต่าง เมื่อได้ยินเสียงเคาะนั้น พวกมันจะวิ่งจากข้างล่างขึ้นไปข้างบนมาอยู่ที่หน้าต่างรอกินข้าวที่พ่อให้ ”
นักเขียนดว่านหยอยทุ่มเทตลอดชีวิตต่องานเขียน ท่านไปหลายแห่งหนของประเทศเก็บข้อมูลและเขียน ดังนั้นผลงานของท่านมีความคิดสร้างสรรค์และความเป็นธรรมชาติโดยแท้ นักเขียนดว่านหยอยจากพวกเราไปอย่างไม่มีวันกลับในปีค.ศ.๑๙๘๙ ทิ้งไว้ผลงานวรรณกรรมสำหรับเด็กมากมาย สมควรได้รับการเชิดชูว่า “ ดว่านหยอยรักวัยไร้เดียงสาจึงได้โลกทั้งใบ ” ./.