ยืนยันเอกลักษณ์วัฒนธรรมเวียดนามในกระแสวัฒนธรรมของมนุษยชาติ
Lan Anh/VOV5 -  
(VOVworld)- เอกลักษณ์วัฒนธรรมเวียดนามส่วนหนึ่งได้สะท้อนผ่านมรดกวัฒนธรรมที่ยูเนสโก้ได้รับรองเป็นมรดกโลก อันเป็นการช่วยเผยแพร่คุณค่าวัฒนธรรมเวียดนามไปทั่วโลกในกระบวนการผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจโลกของเวียดนาม
(VOVworld)- เอกลักษณ์วัฒนธรรมเวียดนามส่วนหนึ่งได้สะท้อนผ่านมรดกวัฒนธรรมที่ยูเนสโก้ได้รับรองเป็นมรดกโลก อันเป็นการช่วยเผยแพร่คุณค่าวัฒนธรรมเวียดนามไปทั่วโลกในกระบวนการผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจโลกของเวียดนาม
อ่าวฮาลอง
|
วันที่1ธันวาคมปี2016 ในการประชุมคณะกรรมการร่วมรัฐบาลว่าด้วยการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมนามธรรมครั้งที่11ของยูเนสโก้ที่มีขึ้น ณ เมือง อาดดิส อาบาบา ประเทศเอธิโอเปีย มรดกวัฒนธรรมการปฏิบัติความเลื่อมใสในการบูชาเจ้าแม่ของเวียดนามได้รับการรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมที่เป็นตัวแทนของมนุษยชาติ ซึ่งมรดกนี้เปรียบเสมือนเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งชีวิตที่เก็บรักษาประวัติศาสตร์ มรดกและเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชาวเวียดนาม โดยความเลื่อมใสในการบูชาเจ้าแม่เป็นประเพณีที่รวมคุณค่าแห่งคุณธรรมและความเป็นมนุษยศาสตร์ที่ลึกซึ้งนั่นคือความสำนึกในการ “ดื่มน้ำต้องนึกถึงแหล่งที่มาของน้ำ” โดยผู้เป็นแม่มีบทบาทเป็นศูนย์กลาง นักประพันธ์และกำกับละครเหงวียนมิงห์ตวน ซึ่งเป็นเจ้าของสารคดีโทรทัศน์100ตอนเรื่อง “เวียดนามและวัฒนธรรมในการบูชาเจ้าแม่”ได้วิเคราะห์ว่า“ความหมายที่โดดเด่นของการบูชาเจ้าแม่คือการเชิดชูจิตใจแห่งความสามัคคีประชาชาติที่สะท้อนให้เห็นผ่านพิธีกรรมการบูชาการทรงเจ้าชุดต่างๆ การเชิดชูวัฒนธรรมของชนเผ่าน้อยเย้า ม้ง หนุ่ง เป็นต้น ตลอดจนการเชิดชูยกย่องลัทธิวีรภาพแห่งประชาชาติเพราะบุคคลหลายคนที่ถูกพูดถึงในการทรงเจ้ารวม36ชุดนั้นคือวีรชนแห่งชาติ ยกตัวอย่างคือ ขุนพล เจิ่นฮึงด๋าว หรือ ขุนพลเจี๋ยวเตื่องที่ช่วยกษัตริย์ขับไล่ศัตรูปกป้องประเทศ”
ความเลื่อมใสในการบูชาเจ้าแม่
|
นับตั้งแต่ที่มรดกพระราชวังเว้ได้รับการรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมโลกเมื่อปี1993จนถึงปัจจุบัน เวียดนามมีมรดกวัฒนธรรม22รายการใน3ประเภทคือมรดกธรรมชาติ มรดกวัฒนธรรมและมรดกแบบผสมระหว่างธรรมชาติกับวัฒนธรรมที่ได้รับการรับรองเป็นมรดกโลก นั่นคือ อ่าวฮาลอง โบราณสถานหมีเซิน เมืองเก่าฮอยอาน ถ้ำฟองญาแก๋บ่าง พระราชวังหว่างแถ่งทังลอง กำแพงราชวงศ์โห่ ทัศนียภาพจ่างอาน วัฒนธรรมการแสดงฆ้องเตยเงวียน การบูชาบรรพกษัตริย์หุ่ง เทศกาลเทพย้อง การบูชาเจ้าแม่ เป็นต้น ซึ่งมรดกเหล่านี้ได้กลายเป็นสัญลักษณ์วัฒนธรรมเวียดนามบนเวทีโลก นายฝามแซงโจว์ ทูตพิเศษด้านยูเนสโก้ของนายกฯเวียดนาม เลขาธิการคณะกรรมการยูเนสโห้เวียดนามเผยว่า“มีมรดกหลายอย่างที่เราจะตื่นตัวทำความรู้จักเพื่อเข้าใจคุณค่าของมันมากขึ้นหลังจากที่ได้รับการรับรองเป็นมรดกโลกและยิ่งผสมผสานมากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งตระหนักได้ดีว่าประเทศเรานั้นมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์มากมาย ซึ่งเรากำลังพัฒนาในบรรยากาศที่มีเสถียรภาพทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจดังนั้นเอกลักษณ์วัฒนธรรมของเราก็นับวันได้รับการยอมรับมากขึ้นในฐานะของประเทศที่มีเศรษฐกิจพัฒนา ประชาชาติรักและหวงแหนวัฒนธรรม ใฝ่การศึกษาและมีวัฒนธรรมที่หลากหลาย นั่นคือสิ่งที่เราภูมิใจ”
แหล่งทัศนียภาพจ่างอานจังหวัดนิงบิ่งห์
|
นับตั้งแต่ช่วงที่เวียดนามมีมรดกโลกรายการแรกเวียดนามก็ได้เข้าร่วมอนุสัญญาระหว่างประเทศด้านวัฒนธรรม3ฉบับของยูเนสโก้ อันเป็นการแสดงความรับผิดชอบของเวียดนามต่อคุณค่าวัฒนธรรมแห่งมนุษยชาติและเวียดนามได้ร่วมกับยูเนสโก้ส่งเสริมให้คุณค่านี้ได้รับการเผยแพร่ในประชาคมระหว่างประเทศ นาง ซูซาน ไวน์ รักษาการหัวหน้าสำนักงานยูเนสโก้ประจำเวียดนามเผยว่า“ความร่วมมือที่เข้มแข็งระหว่างยูเนสโก้กับเวียดนามคือแบบอย่างของโลกที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของความร่วมมือและนำวัฒนธรรมกลายเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงของประเทศ ซึ่งเวียดนามคือชาติที่มีความพยายามเป็นอย่างมากในด้านนี้เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ”
ทั้งนี้ การรับรองมรดกต่างๆของเวียดนามเป็นมรดกโลกนอกจากช่วยให้ประเทศต่างๆมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับคุณค่าวัฒนธรรมเวียดนามแล้วยังช่วยให้ชาวเวียดนามตระหนักถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของตนในการอนุรักษ์คุณค่าวัฒนธรรมเหล่านี้ด้วยการรับและกลั่นกรองความก้าวหน้าของวัฒนธรรมโลก ยกเลิกปัจจัยวัฒนธรรมที่ล้าหลังและขัดขวางการพัฒนาของประเทศเพื่อสร้างโฉมใหม่ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของวัฒนธรรมเวียดนาม.
Lan Anh/VOV5