วัฒนธรรมเวียดนามผสมผสานเข้ากับโลกจากมุมมองของนักเวียดนามศึกษา
Le Phuong – VOV5 -  
( VOV world )-การผสมผสานเข้ากับโลกเป็นคำที่คุ้นเคยในหมู่ชาวเวียดนามมาหลายปีแล้ว รวมทั้งวัฒนธรรมเวียดนามด้วย นี่คือปัญหาที่ได้หยิบยกขึ้นมาหารือ ณ การประชุมสัมมนานานาชาติเกี่ยวกับเวียดนามศึกษาครั้งที่ ๔ ณ กรุงฮานอยเมื่อเร็วๆนี้
( VOV world )-การผสมผสานเข้ากับโลกเป็นคำที่คุ้นเคยในหมู่ชาวเวียดนามมาหลายปีแล้ว รวมทั้งวัฒนธรรมเวียดนามด้วย นี่คือปัญหาที่ได้หยิบยกขึ้นมาหารือ ณ การประชุมสัมมนานานาชาติเกี่ยวกับเวียดนามศึกษาครั้งที่ ๔ ณ กรุงฮานอยเมื่อเร็วๆนี้
|
ความเลื่อมใสศรัทธาในการเซ่นไหว้บรรพกษัตริย์หุ่ง |
เมื่อหารือถึงวัฒนธรรมโดยเฉพาะวัฒนธรรมในยุคผสมผสานเข้ากับโลก ศ.ดร.ฝ่ามดึกเซือง หัวหน้าสถาบันศึกษาวัฒนธรรมตะวันออกเห็นว่า “ ตลอดระยะเวลาแห่งประวัติศาสตร์ของประเทศ วัฒนธรรมยังคงเดินหน้าและมีลักษณะชี้ขาดในการปกป้องและสร้างสรรค์ประเทศชาติ ในยุคปัจจบัน ประเทศกำลังมุ่งสู่การพัฒนาที่ทันสมัย ดังนั้น วัฒนธรรมยังคงเป็นพื้นฐานทางจิตใจให้แก่การพัฒนาดังกล่าว พวกเราต้องให้ความสนใจถึงบทบาทของวัฒนธรรมมากขึ้นในขณะสร้างสรรค์ประเทศด้วยการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามกลไกตลาด ผมคิดว่า วัฒนธรรมเป็นทั้งพลังขับเคลื่อนและเป็นกลไกให้แก่การพัฒนาของประเทศอย่างยั่งยืนและผสมผสานเข้ากับโลก นั่นก็คือการพัฒนาอย่างยั่งยืนนี่เอง ”
เวียดนามมีชนเผ่า ๕๔ เผ่าในผืนดินตัวอักษรเอสซึ่งได้สร้างความหลากหลายทางวัฒนธรรม และเป็นจุดที่ดึงดูดใจนักวิจัยต่างประเทศจำนวนมาก ดร.ลูกาส ปาร์เกอร์ อาจารย์มหาวิทยาลัยนานาชาติอาร์เอ็มไอที นครโฮจิมินห์ ซึ่งได้วิจัยวัฒนธรรมเวียดนามเห็นว่า “ ผมเลือกศึกษาเกี่ยวกับเทศกาลตรุษเต็ตตามประเพณีของเวียดนามตั้งแต่เพิ่งมาเวียดนามใหม่ๆเพราะผมเชื่อว่าจากการศึกษาเกี่ยวกับเต็ตนั้น เราสามารถเข้าใจวัฒนธรรมและสังคมเวียดนามในทุกแง่มุม จากการศึกษาเทศกาลตรุษเต็ตเราสามารถขยายการวิจัยไปยังชีวิตสังคมด้านอื่นๆของชาวเวียดนาม ซึ่งมีหัวข้อหนึ่งในโครงการศึกษาวิจัยของเราคือ การเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ที่นครโฮจิมินห์ ”
|
การร้องเพลงทำนองกวานเหาะ |
ใน ๑๐ ปีที่ผ่านมา มรดกวัฒนธรรมเวียดนามทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมจำนวนมากได้รับการรับรองเป็นมรดกโลกจากองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโกเช่น ดนตรีชาววังเว้ ฆ้องเตยเงวียน การร้องเพลงทำนองกวานเหาะและกาจู่ตลอดจนการร้องเพลงทำนองซวานที่เป็นรายการล่าสุดเมื่อปลายปี ๒๐๑๑ อาจกล่าวได้ว่า วัฒนธรรมเวียดนามและมรดกวัฒนธรรมเวียดนามในช่วงที่ผ่านมาได้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีโดยเป็นที่รู้จักของชาวโลกมากขึ้น รศ.ดร.เลห่งหลี หัวหน้าสถาบันศึกษาวิจัยวัฒนธรรมเผยว่า “ เมื่อวัฒนธรรมรูปธรรมและนามธรรมได้รับการรับรองเป็นมรดกโลกทำให้ชาวโลกได้รู้จักและศึกษาวัฒนธรรมเวียดนามมากขึ้น ทั้งนี้ทำให้ชาวบ้านได้รู้สึกภาคภูมิใจในคุณค่าวัฒนธรรมของท้องถิ่นตนมากขึ้น เป็นการสร้างความตระหนักถึงการอนุรักษ์และพัฒนาในเวลาที่จะถึง ซึ่งถือเป็นการผสมผสานของวัฒนธรรมเวียดนามเข้ากับโลกในยุคโลกาภิวัตน์ ”
ส่วนรศ.ดร.นาตาเลีย กราแอฟสกายา สถาบันศึกษาวัฒนธรรมตะวันออกมอสโคว์ ประเทศรัสเซีย ที่ได้ศึกษาวัฒนธรรมเวียดนามตั้งแต่ปี ๑๙๘๓ โดยเฉพาะวิชาศิลปะร่วมสมัยได้เผยว่า ความเป็นเอกลักษณ์และความโดดเด่นที่น่าสนใจของศิลปะร่วมสมัยของเวียดนามเป็นแรงบันดาลใจให้ท่านตัดสินใจอยู่ที่เวียดนามเป็นเวลานานเพื่อศึกษาศิลปะแขนงนี้อย่างรายละเอียดมากขึ้น รศ.นาตาเลียยังเผยแพร่ศิลปะร่วมสมัยของเวียดนามสู่สายตาชาวโลกจากงานนิทรรศการส่วนตัวเมื่อปี ๑๙๙๐ รศ.ดรนาตาเลียกล่าวถึงการพัฒนาของศิลปะร่วมสมัยของเวียดนามและวัฒนธรรมเวียดนามว่า “ ดิฉันขอย้ำว่า การผสมผสานเข้ากับโลกเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง แต่สหรับประเด็นวัฒนธรรมนั้น การผสมผสานต้องอนุรักษ์เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมพื้นเมืองอันโดดเด่นของแต่ละประเทศเอาไว้ได้ พวกเราต้องเปิดกว้างประเทศเพื่อรับสิ่งที่ดีเลิศของวัฒนธรรมอื่นๆแต่ก็ต้องรักษาเอกลักษณ์ของชาติตนไว้ได้แม้กระทั่งศิลปะร่วมสมัย ซึ่งแตกต่างกับการผสมผสานเข้ากับเศรษฐกิจโลกที่เราต้องผสมผสานทั้งด้านกว้างและด้านลึก ”
|
ฆ้องเตยเงวียน |
หลายปีที่ผ่านมา วัฒนธรรมเวียดนามได้ผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมโลกอย่างรวดเร็ว ซึ่งเห็นได้ชัดจากกิจกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับต่างประเทศและการประชาสัมพันธ์ให้กับเพื่อนมิตรชาวต่างประเทศ อย่างไรก็ดี การผสมผสานเข้ากับโลกในด้านวัฒนธรรมของเวียดนามนั้นมีประโยชน์แต่ก็มีความท้าทายไม่น้อย ซึ่งความท้าทายที่ถือว่าใหญ่หลวงมากคือ การผสมผสานที่ไม่ถูกกลืนวัฒนธรรม ./.
Le Phuong – VOV5